Archive: March 2021

ส้อมตอกหนัง

8Mar

POSTED BY

เมื่อช่างหนังจะทำกระเป๋าสักใบให้ออกมาสวยงามเครื่องมือที่ใช้ก็มีเยอะและมักมีราคาแพง ส่วนใหญ่ก็จำเป็นเกือบทุกอย่าง พอนึกว่าจะต้องลงทุนเพื่อจะให้ขายงานหนังได้พอเห็นราคาอุปกรณ์แต่ล่ะอย่างแล้วก็ทำให้ช่างหนังท้อไปเสียก่อน โดยเฉพาะจักรเย็บหนัง หากเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วหรืองานผลิตจำนวนมากๆจักรเย็บหนังก็เป็นสิ่งจำเป็นและหากต้องการใช้จักรเย็บหนังช่างหนังต้องอาจจะต้องมีจักรสองตัวคือจักรพื้นราบทั่วไปและจักรคอม้า

จักรที่สามารถเย็บกระเป๋าทุกชนิดทุกแบบคือจักรที่เป็นคอม้าที่สามารถสอดกระเป๋าเข้าได้ง่ายทำให้เย็บง่ายและรวดเร็วจักรที่กล่าวมามีราคาแพง จักรจีนมือหนึ่งก็เกือบ 30,000 บาทจักรญี่ปุ่นมือหนึ่งก็ 40,000-60,000 ยิ่งจักรคอม้าดีๆทำงานได้ต่อเนื่องอย่างจักรเยอรมัน Adler ราคามือหนึ่งก็หลักแสนบาท มือสองก็ไม่ต่ำกว่า 50,000 กว่าจะคุ้มทุนต้องผลิตกึ่งโรงงานในปริมาณมากๆ ช่างหนังบางท่านหากคิดว่าไม่มีจักรแล้วจะไม่สามารถทำงานได้จึงเลิกทำกันไปก็หลายท่าน บางท่านก็หนีมาทำงานฝีมือเน้นงานที่เป็นแฮนด์เมคโดยการเย็บหนังด้วยมือ

งานกระเป๋าทุกแบบที่เราเห็นในท้องตลาดสามารถเย็บด้วยมือได้ไม่ต้องใช้จักรแพงๆ แค่เลือกขนาดซ้อมที่จะใช้และขนาดด้ายก็ทำงานได้แล้ว โดยเปลี่ยนจากจุดที่จะต้องเย็บด้วยจักร มาเป็นเย็บด้วยมือ

ข้อดีของการเย็บด้วยมือ

การเย็บด้วยมือไม่ต้องกังวลเรื่องการมัดด้ายไม่สวย เพราะควบคุมด้วยมือเราได้ ส่วนการเย็บด้วยจักรนั้นน้ำหนักการมัดด้ายต้องพอดี เพราะถ้าไม่พอดีก็อาจเกิดถั่วงอกบนชิ้นงานได้ ต้องเสียเวลาเลาะแล้วเย็บใหม่ให้ตรงรูเดิม สำหรับการเย็บงานหนังต้องใช้เข็มเล่มใหญ่และด้ายเส้นใหญ่ เข็มเล่มเล็กแทงชิ้นงานไม่เข้าและบางครั้งด้ายจะดึงให้เข็มงอไปทิ่มชิ้นส่วนด้านล่างได้ เข็มเล่มใหญ่ข้อดีคือรูที่เจาะจะสวยข้อเสียก็คือเมื่อแทงชินงานหนังไปนานๆจะทำให้เสาเข็มเลื่อนทำให้ระยะวงเดือนตักด้ายผิดตำแหน่งวงเดือนอาจจะแทงตรงกลางเส้นด้ายเส้นใหญ่ทำให้ด้ายแตก เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อย สรุปว่าเมื่อเย็บด้วยจักรต้องมีความรู้ในการซ่อมจักรในเบื้องต้นเพราะถ้างานรีบแล้วจักรพังก็จบกัน

ข้อเสียของการเย็บด้วยมือ

เย็บด้วยมือจะมีข้อเสียคือใช้เวลานาน และทำให้งานช้า ตัวอย่างเช่นถ้าเย็บด้วยจักรใช้เวลา 20 นาที หากใช้มือเย็บก็อาจกินเวลาถึง 2 ชั่วโมง งานเย็บมือจึงมานิยมใช้เป็นงาน handmade ใช้วัตถุดิบดีๆบวกกับฝีมือของช่างหนังก็เรียกราคาที่สูงได้

ฝีเข็มของงานเย็บมือ

งานที่เย็บด้วยจักรเย็บหนังนั้นเข็มจักรมีทั้งแบบฝีเข็มตรงและฝีเข็มเฉียง หากเปรียบกับการเย็บมือส้อมที่ใช้ก็ให้ฝีเข็มตรงและเฉียงได้ ส้อมที่นิยมใช้ในการเย็บมือ ได้แก่ ส้อมแบน ส้อมไดม่อน และส้อมเฉียง ส้อมแบนมักนิยมเย็บแบบงานสานกระเป๋าและใช้ด้ายแบน ส้อมไดม่อนมักนิยมใช้งานหนังหนาๆเพราะแข็งแรงมากไม่หักงายๆ ส่วนส้อมเฉียงมักนิยมใช้งานกระเป๋าสตางค์ใบเล็กหรือสายนาฬิกาที่หนังไม่หนามาก ส้อมเฉียงนี้ฝีเข็มจะเลียนแบบจักรที่ให้ฝีเข็มเฉียง

มือใหม่หากตัองการเย็บมือก็ไม่จำเป็นต้องซื้อส้อมราคาแพงๆ เพราะส้อมเย็บหนังมีหลายขนาด หลายไซต์ หลายระยะ รวมถึงความห่างระหว่างฟัน ส้อมเย็บหนังมักจะมีราคาแพง ที่จำเป็นต้องใช้ก็ต้องมีฟันซี่น้อยๆ ส้อมฟันซี่น้อยๆก็ใช้ในการเข้ามุมหรือโค้ง ฟันซี่เยอะก็ใช้เย็บตรงยาวๆ หากจะซื้อมาลองทุกแบบก็อาจจะใช้เงินมากโดยใช่เหตุ

ราคาส้อมเย็บหนังจะขึ้นอยู่กับซี่ฟัน ส้อมงานจีนที่ขายทั่วไปราคานับเป็นซี่ๆล่ะ 50-60 บาท ส่วนส้อมดีๆ เหล็กดีๆชุดหนึ่งก็หลายพันบาท ใช้ส้อมถูกๆก็ให้งานออกมาสวยได้ เพียงแต่ส้อมถูกๆซี่ฟันก็จะหักง่ายหน่อย ต่างกันทั้งความแข็งแรง องศาระยะห่างที่เท่ากัน และฝีเข็มที่เจาะแล้วไม่บานขยายให้รูเจาะใหญ่ ถ้างานไม่เน้นละเอียดมากก็ใช้แทนการเย็บด้วยจักรได้เลยไม่ต้องหาซื้อจักรในราคาแพง

ส้อมที่เหมาะสม

FULL ARTICLE »

สอนทำ สายกระเป๋าผ้า

1Mar

POSTED BY

สายกระเป๋าผ้าคอตตอล สายกระเป๋าผ้าสปัน มักจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกหนึ่ง ที่นำมาใช้กับกระเป๋าผ้าผ้าแคนวาส หรือ กระเป๋าหนัง ผู้ใช้ส่วนใหญ่นิยมใช้สายกระเป๋าผ้าคอตตอลที่มีความเป็นธรรมชาติเพราะผลิตจากเส้นด้ายคอตตอน ซึ่งทำมาจากใยฝ้ายธรรมชาติ 100% มีความนุ่ม ตัวสายคอตตอนในส่วนคุณภาพของสายคอตตอลมีหลายเกรด หลายความหนา ขึ้นอยู่กับการวัตถุประสงค์การนำไปใช้งาน หากนำไปทำเป็นสายสะพายกระเป๋าแบบสะพายข้างหรือ Cross body มักจะให้มีความหนาไว้ก่อนเพราะให้ใช้ได้ทนทาน และรองรับน้ำหนักกระเป๋าได้มาก

ความกว้างของสายกระเป๋าคอตตอล

ขนาดความกว้างของสายสะพายกระเป๋าคอตตอนมีหลายขนาด แต่ที่นิยมนำมาทำเป็นสายกระเป๋าคือ 1″ และ 1.5″ หรือประมาณ 2.5cm – 3.8cm แล้วก็ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ใช้งานบางคนก็ชอบสายเส็นเล็กๆบางคนก็ชอบสายเส้นใหญ่ๆ

หากท่านใดมีจักรเย็บผ้าแล้วอยากจะมาลองทำสายสะพายกระเป๋าผ้าแคนวาสก็มาลองทำตามบทความนี้ได้เลยครับ

อุปกรณ์ที่ใช้

อย่างแรกเลยเราต้องมีจักรเย็บผ้าที่สามารถเย็บผ้าหนาๆได้ จะเป็นจักรเย็บตรงหรือจักรซิกแซกก็ได้ครับ จักรที่ผมจะนำมาเย็บผ้านี้ได้แก่ จักรเก่าหัวดำ Singer 15bg158 จักรรุ่นนี้เป็นจักรที่ประกอบในบลาซิลและอังกฤษ และมีบางล๊อตประกอบในเอเชีย ซึ่งเหล็กที่ใช้เป็นเกรดเหล็กที่ดีทั้งคู่จากโรงงาน Singer โดยพิมพ์สัญลักษณชื่อย่อบริษัท Singer ในอะไหล่ทุกชิ้น เพียงแต่ประกอบคนล่ะที่ ตัวที่ผมใช้นี้ประกอบที่โรงงานในบลาซิล เป็นจักรแกร่งที่เย็บหนาและบางได้ดี –> จักร singer 15bg158

ต่อมาสายผ้าที่ใช้ผมใช้ผ้าคอตตอน สปัน ที่มีความหนา 2.2 มิลที่ต้องหนาเพราะจะได้รองรับน้ำหนักได้ดีและเมื่อสัมผัสก็ให้ความรู้สึกดีกว่าผ้าคอตตอนที่บางใครสนใจเข้าไปหาซื้อได้นะครับที่ —-> click สายผ้าคอตตอนสปัน

อะไหล่ที่ใช้ควรเป็นอะไหล่ที่มีความกว้างเท่ากับสายหากใช้สายเส้นเล็กก้หาอะไหล่ตัวเล็กหากใช้สายเส้นใหญ่ก้หาอะไหล่ตัวใหญ่ ความกว้างอะไหล่ให้วัดจากด้านในที่สายจะสอดเข้าไปนะครับ ถ้าหาซื้อไม่ได้ฝากซื้อได้นะครับ line: wit-san

เข็มที่ใช้ควรจะเป็นเข็มใหญ่ถ้าเป็นจักรหัวดำรุ่นเก่าสามารถใช้เข็มรหัส DB ของจักรอุตสาหกรรมก็ได้นะครับ จักรที่ผมใช้คือ Singer 15bg158 สามารถใส่เข็มจักรอุตสาหกรรมเบอร์ใหญ่ๆอย่างเบอร์ 21ได้ เนื่องจากเป็นงานเย็บผ้าแคนวาสหนาเข็มที่ใช้ควรจะเป็นเข็มเบอร์ใหญ่ๆตั้งแต่เบอร์ 16 ขึ้นไปและเข็มเบอร์ 16-22 ที่เป็นเข็มก้นแบนด้านเดียวหาค่อนข้างยาก แต่เราก็สามารถใช้เข็มจักรอุตสาหกรรมแทนได้ครับ —-> click :ซื้อเข็ม DB ญี่ปุ่นเบอร์ 21

ด้ายที่ใช้สามารถใช้ด้ายเส้นใหญ่หรือเส้นเล็กก็ได้ขึ้นอยู่กับเข็มที่ใช้ เข็มใหญ่ก็ด้ายใหญ่เข็มเล็กก็ด้ายเส้นเล็ก ควรเป็นด้ายที่เหนียวๆอย่างด้านโพลิเอเตอร์ก็จะดีกว่าครับเพราะขาดยากครับ หากใครเย็บมือเพื่อความสวยงามก็สามารถใช้ด้ายเย็บมือได้นะครับ

เริ่มทำกันเลย

FULL ARTICLE »