Category: ประวัติจักรเก่า

ขายเข็มเย็บหนัง จักรหัวดำ

17Jan

POSTED BY

จักรหัวดำเย็บหนังได้มั้ย เป็นคำถามที่ใครหลายคนสงสัย คำตอบคือเย็บได้ครับ แต่ต้องเป็นจักรหัวดำรุ่นเก่าตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และใช้เข็มเย็บหนังเบอร์ 16 ขึ้นไป ส่วนใหญ่เข็มเย็บผ้าสำหรับจักรหัวดำของแท้คุณภาพดีๆ เบอร์ใหญ่ก็เบอร์ 16 สำหรับเย็บยีนส์และหนัง เข็มที่ใช้กับจักรเย็บผ้ารุ่นเก่า ที่มีขายในร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บมีหลายยี่ห้อ โดยทั่วไปราคาไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเข็มจักรเฉพาะหรือเข็มจักรชนิดที่เรียกว่าเข็มจักรทอง ซึ่งมีหัวเข็มเป็นสีทอง เป็นเข็มที่มีปลายแหลมพิเศษ และมีความแข็งแรงมากกว่าเข็มจักรทั่วไป เวลาใช้งานจึงทนทาน หักยาก ช่างมืออาชีพชอบใช้เข็มจักรทองแม้จะราคาแพงกว่าเข็มจักรธรรมดาประมาณ 5 เท่า

ส่วนใครที่ชื่นชอบการเย็บชิ้นงานหนังด้วยจักรหัวดำรุ่นเก่าเข็มก็เป็นเข็มจักรหัวดำ โดยปกติเข็มที่ใช้กับจักรเย็บผ้าหัวดำจะขึ้นต้นด้วยรหัส HA สังเกตุว่าก้นเข็ม 1 ด้านจะแบน เข็มที่ใช้เย็บหนังก็เป็นเข็มใหญ่เบอร์ 16,18 หรือ 100,110 เป็นเข็มเย็บผ้าขอให้ก้นแบน 1 ด้านก็พอ เนื่องจากเข็มที่ใช้เย็บหนังเบอร์ใหญ่ๆ คุณภาพดีๆ จะหาค่อนข้างยากช่างบางท่านจึงดัดแปลงจักรหัวดำให้สามารถใช้เข็มเย็บผ้าเบอร์ใหญ่ๆสำหรับจักรอุตสาหกรรมได้ แต่ก็แลกด้วยการปรับแต่งจักรจากค่าเดิมที่ออกจากโรงงานให้สามารถใช้เข็มอุตสาหกรรมได้แต่หากต้องการเย็บผ้าบางด้วยจักรบ้านหัวดำก็ต้องตั้งค่าคืนค่าเดิม บางท่านก็อยากใช้จักรค่าเดิมๆจากโรงงานไม่ต้องการปรับแต่งจักรให้เสียค่าเดิม

เย็บหนังด้วยเข็มใหญ่

ในการเจาะชิ้นงานหนาๆอย่างงานหนังถ้าใช้เข็มเล็กเข็มจะอ่อนไม่แข็ง แทงลงบนชิ้นงานไม่ลงหรือแทงลงแต่เข็มจะค่อยๆงอแล้วจะหักภายหลัง ส่วนเข็มใหญ่จะหนาแข็งแรงเจาะลงบนชิ้นงานหนาๆได้สบายแต่ ข้อเสียคือเนื่องจากเข็มไม่หักง่ายเมื่อเข็มงอหรือพัง เวลาเย็บจะไปทิ่มส่วนกลไกจักรด้านล่างทำให้กลไกด้านล่างจักรเป็นรอยเวลาเย็บด้ายจะขาดบ่อย แต่ถ้าเข็มหักก็แค่เปลี่ยนแต่เข็ม

ฝีเข็มเย็บหนัง

เข็มเย็บผ้าสำหรับจักรหัวดำทั่วไปฝีเข้มจะเป็นเส้นตรง โดยปกติเมื่อใช้เข็มจักรเย็บผ้าตามท้องตลาดมาเย็บหนังใช้เข็มเบอร์ 16 หรือ 18 ก็เย็บได้แล้วแต่เข็มสำหรับเย็บผ้าปลายเข็มจะแหลมตรงเหมือนหอกทำให้ฝีเข็มที่เย็บตรง ถ้าหากต้องการให้ฝีเข็มเฉียง ต้องใช้เข็มสำหรับเย็บหนังโดยเฉพาะเข็มแบบนี้ปลายเข็มจะบิดทำให้ด้ายที่มัดเฉียงตามฝีเข็มซึ่งหาในท้องตลาดจะเจอแต่เข็มสำหรับจักรอุตสาหกรรม

ทางร้านจำหน่ายเข็มเย็บหนังบายพายปลายเฉียง

เป็นเข็มยี่ห้อ schmetz เยอรมันแท้ เก่าเก็บ 40 ปี มีจำนวนจำกัด ตัวเข็มทำจากเหล็กกล้าชั้นดี (เนื้อเข็มออกเทารมดำ) เก็บ 40 ปีไม่มีสนิม โดยปกติเข็มบายพาย (ปลายเฉียง) สำหรับเย็บหนังนี้จะมีเฉพาะจักรอุตสาหกรรมคือก้นเข็มกลมทุกด้านแต่เข็มรุ่นนี้ด้านหลังเข็มจะแบน 1 ด้าน เป็นเข็มหายาก

-เข็มยี่ห้อ schmetz เยอรมันแท้ เก่าเก็บ 40 ปี กรุเก่า
-ตัวเข็มใช้เหล็กกล้าเนื้อรมดำ
-สำหรับจักรเย็บผ้ารุ่นเก่า ที่เย็บชิ้นงานหนาๆได้
-ปลายเข็มเฉียง สำหรับเย็บหนังเท่านั้น ฝีเข็มเฉียง
-เบอร์ @110 หรือ เบอร์ 18
-ใช้กับด้านไนล่อนเบอร์ #8 ได้ เข็มแข็งแรงไม่โดนด้ายดึงให้งอ

ราคา คู่ล่ะ 100 บาท ค่าส่ง 30 บาท สนใจขอดูรูปได้ครับ ติดต่อ line:wit-san
หรือซื้อได้ที่ Shopee ครับ —> LINK

เนื้อเข็มสีรมดำเนื่องจากใช้เหล็กกล้าอย่างดีปลายบิดเฉียงเห็นได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับเข็มทอง

เทียบกับเข็มทองปลายเข็มจะต่างกัน
ก้นเข็มจะแบนเรียบเนื้อเข็มออกสีรมดำ

ตัวอย่างการเย็บหนัง

ทางร้านรับออเดอร์มาทำสายคาดคางสำหรับหมวกจักยาน หนังที่ใช้เป็นหนังฟอกฟาดประกบด้วยกาวเหลืองเหนียวๆ เข็มที่ใช้ต้องเป็นเข็มใหญ่เพื่อให้แทงทะลุได้ง่าย และงานที่เย็บจำเป็นต้องเน้นฝีเข็มสวยๆ เฉียงสวยๆ ทางร้านเลยเลือกใช้จักร Pfaff 30 ที่ให้ฝีเข็มสวย ใช้เข็มบายพายปลายเฉียงให้ฝีเข็มเฉียงสวยงามและสามารถเย็บด้ายเส้นใหญ่ได้

จักร PFAFF 50 51 เน้นผ้าบาง

12Jun

POSTED BY

จักรเย็บตรง Pfaff 50

จักร Pfaff 50 ผลิตในช่วงประมาณปี 1955 -1960 อายุมากกว่า 50 กว่าปี รุ่นนี้ทำมาเพื่อตีตลาดเอเชียโดยเฉพาะ และใช้ลายดอกไม้ในบนตัวจักร เหมือนยุคแรกๆที่ผลิตจักรขายฝั่งยุโรปนิยมวาดลวดลายที่จักร จักรที่ขายในเอเชียมักนิยมใช้ลวดลายบนจักรให้สวยงามเหมือนกัน อะไหล่จักรผลิตในประเทศเยอรมัน และนำมาประกอบในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากไม่ได้เน้นตลาดยุโรป จึงจะไม่เห็นจักรรุ่นนี้ขายในยุโรป อะไหล่ที่ใช้ ใช้อะไหล่เหล็กกล้าที่ผลิตจากเยอรมันทุกชิ้น และพัฒนาเพิ่มให้เย็บผ้าบางได้ (บางข้อมูลบอกว่าสร้างเลียนแบบจักรเย็บผ้าบางจากบริษัท Singer ) Pfaff50 ซึ่งเป็นยี่ห้อเยอรมันที่มาตีตลาดจักรเย็บผ้าบางของญี่ปุ่น หลังจากที่ตลาดจักรเย็บผ้าบางเริ่มเป็นที่นิยมในเอเชีย

การมาของจักร Pfaff 50

จักรเย็บผ้า Pfaff รหัส 50 จักรโบราณนี้ ประกอบในประเทศญี่ปุ่นมาตีตลาดญี่ปุ่น หลักจากที่ญี่ปุ่นเริ่มหล่อจักรและผลิตจักรได้เองจากการให้ความช่วยเหลือจากประเทศที่ชนะสงคราม หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก เพื่อให้ประเทศญี่ปุ่นได้ฟื้นฟูประเทศ โดยบริษัท Singer ให้ลิขสิทธิ์ในการผลิตจักร บางข้อมูลบอกว่าอาจเพราะต้องการลดต้นทุนจากการประท้วงขึ้นค่าแรงในยุโรปและต้องการตีตลาดเอเชียอีกด้วย ทำให้ญี่ปุ่นได้เรียนรู้และผลิตจักรเย็บผ้าได้เอง

จักร Pfaff ก็เริ่มรุกตลาดเอเชียโดยการให้โรงงานหล่อบอดีจักรในญี่ปุ่นหล่อตัวบอดี้ เพราะการตั้งโรงหล่อบอดีจักรใช้งบประมาณในการลงทุนสูง และส่วนบอดี้จักรเป็นส่วนที่มีน้ำหนักมาก แต่อะไหล่ทุกชิ้นในกลไกของจักรเย็บผ้า Pfaff50 นี้ผลิตและนำเข้ามาจากประเทศเยอรมันส่งมาประกอบกับบอดีในญี่ปุ่น แต่สังเกตุเห็นได้ว่าบริษัท Singer เข้ามาตีตลาดจักรเย็บผ้าบางก่อน เป็นไปได้ว่ารูปแบบการเย็บผ้าบาง อาจเลียนแบบการเย็บผ้าบางจากบริษัท Singer 

Pfaff 50 เป็นจักรที่พัฒนามาเพื่อตีตลาดเอเชียในยุคแรกๆ การเปิดตัวมาจำหน่ายจึงต้องผลิตให้ดีที่สุด อะไหล่ที่ใช้ประกอบจักรใช้เหล็กกล้าอย่างดีเพื่อชื่อเสียง ใช้เหล็กกล้าที่ผลิตในเยอรมัน สังเกตุได้จากชิ้นส่วนอะไหล่ Pfaff50 เมื่อลอกสีชุบเหล็กออกแล้วจะเห็นเนื้อเหล็กกล้าสีรมดำในกลไกจักรเหมือนจักร Pfaff30 และจักรเยอรมัน Singer รุ่น 15k80 ทุกชิ้น! เพียงแต่ไม่มีจุดมาร์คในการประกอบจักรและไม่มีการปั้มสัญลักษณ์ตรายี่ห้อหรือตราบริษัทบนชิ้นส่วนกลไกจักรบางชิ้น

ข้อดีของจักรเย็บผ้า Pfaff 50

จักร Pfaff 50 เป็นจักรที่พัฒนาร่วมกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อนำมาขายในเอเชีย ญี่ปุ่นเวลาสร้างอะไรจะคิดละเอียดมาก และได้พัฒนาจักรให้เหมาะสำหรับคนเอเชีย ตลาดเอเชียจึงถูกจักรญี่ปุ่นเข้ามาเป็นเจ้าตลาดเพราะสมัยนั้นทุกบ้านต้องมีจักรเย็บผ้า คนเอเชียก็ไม่นิยมนำจักรยุโรปมาเย็บผ้าบาง ซึ่งเย็บได้ไม่ดีเท่าจักรญี่ปุ่นที่มีความนิ่มนวลในการเย็บและเย็บผ้าบางๆได้ดีมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้เท้าถีบจักรจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน จักรญี่ปุ่นพัฒนาจักรให้เดินได้นิ่มนวลโดยเฉพาะเมื่อใช้เท้าถีบจักร ในขณะที่จักรยุโรปจะเริ่มพัฒนาให้เดินเงียบ ไม่สั่น เพราะเริ่มใช้มอเตอร์เพื่องานที่รวดเร็ว 

Pfaff 50 เป็นจักรเดินได้นิ่มนวล

จักรเดินได้นิ่มนวลกับจักรเดินได้เงียบ ไม่เหมือนกัน

FULL ARTICLE »

จักรเย็บผ้า เย็บหนังได้ไหม

18May

POSTED BY

การเย็บงานหนังช่างหนังนิยมเย็บด้วยมือเพราะจักรสำหรับเย็บหนังมีราคาแพงมาก และการเย็บด้วยมืองานจะสวยและมีราคาแพงยิ่งถ้าใช้ส้อมเย็บหนังดีๆราคาส้อมก็หลักพัน-หลักหมื่นแล้วบวกกับฝีมือช่างก็ทำให้งานชิ้นนั้นขายราคาที่แพงได้ แต่ข้อเสียคือช้าทำให้ทำงานได้ไม่เยอะมากทำให้บางคนนำจักรบ้านเล็กเก่าๆแกร่งๆมาใช้เย็บงานหนังที่เป็นงานที่ไม่เน้นความสวยงามแบบงานเย็บมือมาเย็บงานหนังก็สามารถนำมาเย็บชั่วคราวได้เหมือนกัน แต่ควรเป็นจักรที่เป็นจักรบ้านรุ่นเก่าอายุ 40ขึ้นไป มีทั้งผลิตจาก เอเชีย ยุโรบจะญี่ปุ่นหรือเยอรมันก็ใช้ได้ทั้งนั้นเลือกได้ตามกำลังทรัพย์เพราะใช้เหล็กแกร่งเหมือนกัน แต่เย็บได้บ้างบางครั้งหากนำมาเย็บงานหนังเป็นงานหลักควรใช้จักรที่เป็นจักรอุตสาหกรรมเย็บหนังโดยเฉพาะจะดีกว่า ไม่เสี่ยงเย็บหนาจนกลไกเลื่อนโดยเฉพาะเสาเข็ม หรือจักรพังเพราะงานหนาเข็มไปทิ่มด้านล่างเพราะจังหวะวงเดือน ถ้าจำเป็นต้องใช้จักรบ้านหัวดำมาเย็บก็อาจจะต้องปรับแต่งจักรเป็น เพราะหากใช้ค่าเดิมๆจากโรงงานก็จะเย็บงานหนังที่หนาได้1-2mm หรือจะเย็บหนังประกบแบบทากาวเหลือง หรือหนังที่หนากว่า 2mm ได้ลำบาก

เมื่อต้องเย็บงานหนา

การปรับแต่งจักรบ้านหัวดำให้เย็บหนาได้ ก็ตั้งแต่ปรับเปลี่ยนฟันลากจักร ใช้ตีนผีลูกกลิ้ง(สั้น/ยาว)เพื่อไม่ให้ฝีเข็มถี่จากความหนืดของหนัง แต่งให้ใช้เข็มจักรอุตสาหกรรมได้เพราะจักรที่ใช้เข็มจักรบ้านก้นแบนหาเข็มใหญ่กว่าเบอร์ 16 ยากมาก ที่ต้องใช้เข็มใหญ่เพราะงานเย็บงานหนังจะใช้ด้ายที่เหนียว และต้องปรับแรงตึงด้ายให้หนืด มัดด้ายแน่นเย็บแล้วเมื่อจับสายงอต้องไม่หย่อนต้องตึงแน่น และยิ่งถ้าใช้เข็มเล็กด้ายตึงด้ายก็จะดึงเข็มให้งอไปทิ่มชิ้นส่วนกลไกด้านล่างให้เสียหายได้ เข็มที่ใช้ควรใช้เบอร์18 ขึ้นไป บางงานต้องใช้เข็มเบอร์ 22-24 ถ้าเย็บงานหนังบ่อยๆจะเห็นได้ว่าเข็มใหญ่ช่วยให้เย็บได้ง่ายและเข็มใหญ่งอได้ยากโอกาสลงไปทิ่มชิ้นส่วนด้านล่างน้อยกว่าเข็มเล็กถ้าเข็มใหญ่จะหักก็มีโอกาสเช่นการเย็บงานหนามากเกินกำลังของจักร และยังมีอีกสิ่งที่สำคัญคือตีนผี

รูปด้านบนเป็นจักรเย็บหนังอุตสาหกรรมตีนตะกุยแบบข้อเหวียง ไม่ได้ใช้เฟืองหรือสายพาน การมัดด้ายจะยืดหยุดกว่าระบบเฟืองขับเคลื่อน อะไหล่แข็งแกร่งมาก ถูกปรับแต่งให้ใช้วงเดือนจักรบ้านและปรับแต่งให้ใช้กับเข็มจักรอุตสาหกรรมก้นกลมเบอร์ใหญ่ได้ ข้อดีคืออะไหล่หาได้ง่ายเหมือนจักรบ้านหัวดำทั่วไป แถมยังใช้กับเข็มจักรก้นกลมได้ทำให้หาเข็มก้นกลมใหญ่เบอร์ 18-23 ได้

ฝีเข็มสวยดูยังไง

ฝีเข็มสวยคือฝีเข็มที่ตรงตามต้องการคือมัดแน่นอยู่ตรงกลางไม่มีถั่วงอกบนและล่างจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเย็บด้ายบนและด้ายล่างคนล่ะสี เวลาเย็บแล้วด้ายมัดแน่นให้สังเกตุคือเมื่อเย็บงานหนาๆแล้วจับชิ้นงานงอก็จะไม่เห็นด้ายหย่อนแบบนี้แสดงว่าด้ายมัดได้แน่น ฝีเข็มจะมีความยาวฝีเข็มเท่ากันสม่ำเสมอถ้าใช้เข็มเอียงฝีเข็มก็จะเอียงเท่ากันทุกฝีเข็ม ถ้าใช้เข็มเย็บตรงเข็มก้จะตรงเท่ากันทุกฝีเข็ม

เมื่อเย็บด้ายคนล่ะสีจะเห็นว่าด้ายจะไม่ขึ้นหรือลงมาปนกันไม่เกิดถั่วงอกบนและล่าง

เรื่องตีนผี

ตีนเหยียบค่าเดิมๆของจักรบ้านตัวเล็กทุกค่ายไม่ว่าจะเป็นไทย ญี่ปุ่น เยอรมัน แรงสปริงกดเหยียบไม่พอที่จะเหยียบงานหนังหนาๆ นึกถึงเข็มที่เจาะหนังลงไปแล้วจังหวะดึงเข็มขึ้นเข็มจะหนืด ฝืดเพราะกาวเหลือง หรือความหนาของหนังหนาๆพวกหนังแท้โครงสร้างหนังจะแน่นไม่เหลวเหมือนหนัง PU เข็มจะผ่านตัวหนังไม่ลื่นเหมือนงานเย็บผ้า ถ้าตีนเหยียบแรงไม่พอจะทำให้ชิ้นงานขยับหรือลอย ทำให้ฝีเข็มขยับ/เบี้ยว ลองนึกถึงเมื่อเราต้องดึงสมอเต้นท์ต้องเหยียบให้แน่นเพื่อให้ใช้มือดึงได้สะดวก ช่างหนังจึงไม่นิยมนำจักรบ้านมามาเย็บงานหนังหนาๆเพราะสาเหตุนี้ด้วย จึงไม่นิยมนำจักรบ้านตัวเล็กเย็บหนังเป็นงานหลักเพราะต้องปรับแต่งจักรเป็น จักรบ้านตัวเล็กเดิมๆไม่ว่าค่ายไหนก็เย็บแก้ขัดได้แต่เย็บจริงจังไม่ได้

ฟันตะกุยจักร

ฟันจักรบ้านจะเป็นแบบฟันตะกุยคือมีตีนผีเหยียบชิ้นงานที่ด้านบนและใช้ฟันด้านล่างลากชิ้นงานข้อเสียคือในการลากชิ้นงานเมื่อตีนผีด้านบนเหยียบชิ้นงานให้แน่นแต่ฟันลากจักรจะลากชิ้นงานทำให้ชิ้นงานด้านล่างเป็นรอยขูดถ้าตีนผีด้านบนไม่ใช้แบบลูกกลิ้งการลากชิ้นงานก้จะหนืดทำให้ฝีเข็มถี่ไม่ตรงกับตัวปรับความถี่ห่างฝีเข็ม จักรที่ใช้เย็บหนังโดยเฉพาะจะมีฟันแบบตีนตะกุยคือผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเรื่องฝีเข็มเพราะชิ้นงาน ตีนผี ฟันตะกุยจะนำพาชิ้นงานไปพร้อมกันทำให้ฝีเข็มสวยคงที่แต่ก็มีข้อเสียคือฟันตะกุยจะทำให้ชิ้นงานด้านล่างเป็นรอยฟันจักรแต่ก็ยังน้อยกว่าจักรบ้านที่ไม่ใช่จักรตีนตะกุย

การพัฒนาจักรเย็บหนังจึงตัดส่วนของฟันลากจักรออกไปเหลือเพียงเหล็กที่ทำหน้าทีเป็นฟันเลื่อนชิ้นงาน(feed Dog) ยื่นออกมาโดยจะหนีบชิ้นงานพร้อมกับตีนผีด้านบนแล้วขยับไปพร้อมกันทำให้ชิ้นงานไม่มีรอยฟันจักร ตามรูปด้านล่าง..

FULL ARTICLE »

จักรเก่าญี่ปุ่น

23Feb

POSTED BY

ถ้าใครชื่นชอบจักรเก่าโบราณหากต้องการจักรที่นำมาใช้งานในเรื่องฟังก์ชันที่ดี จักรยังดูทันสมัยนอกจากจักรยุโรปแล้วยังมีจักรญี่ปุ่นที่ดูน่าสะสม ถ้านำไปใช้งาน จักรญี่ปุ่นถือว่าบางอย่างทำงานได้ดีกว่าจักรยุโรปบางตัว โดยเฉพาะความนิ่มนวลในการเดินจักรและการเย็บผ้าบางๆ

ก่อนจะมาเป็นจักรญี่ปุ่น

ประวัติจักรเท่าทีหาข้อมูลมาได้คือเริ่มจากต้นแบบจักรญี่ปุ่น คือจักร Singer model 15 จากยุโรปเริ่มผลิตในปี 1879 จนถึงปี 1950 จึงหยุดการผลิตและมีการออกแบบสร้างรุ่นใหม่ๆ โดยบริษัท Singer และบริษัทอื่นๆในยี่ห้ออื่นๆ สังเกตุได้ว่าหลังจากที่บริษัท Singer model 15 หยุดผลิตบริษัทในยุโรปบริษัทไหนที่สร้าง Clone Model เหมือนจักร Singer Model 15 ก็จะโดนฟ้องลิขสิทธ์ ทำให้บริษัทต่างๆต้องออกแบบจักรเป็นของตัวเองอาจจะมีรูปทรงคล้ายๆแต่ไม่เหมือน ส่วนจักรญี่ปุ่นสามารถ copy แบบมาเป๊ะแต่ไม่ถูกฟ้อง แต่ทุกบริษัทยังสามารถใช้เข็มเป็นแบบ Class 15 ของบริษัท Singer ซึ่งกลายเป็นมาตฐานที่ใช้ต่อมา

ทำไมบริษัทญี่ปุ่นไม่ถูกฟ้อง

ในช่วงท้ายสงครามโลกญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประกอบกับยุโรปมีการพัฒนาจักรรุ่นใหม่ๆ บริษัท Singer ขยายตลาดมาในเอเชียจึงยกต้นแบบจักร Singer Model 15 เพื่อให้ญี่ปุ่นฟื้นฟูเศษกิจขึ้นมา ช่วงล๊อตแรกๆของการผลิตมีการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จากโรงงาน Singer Model 15 ของโรงงาน Singer ในยุโรปที่เลิกผลิตแล้ว นำมาประกอบเพื่อขายในเอเชียทำให้ชิ้นส่วนเหล็กที่นำมาประกอบล๊อตแรกๆแข็งแกร่งมาก จักรที่นำมาจำหน่ายในล๊อตแรกๆยังคงใช้สิทธิบัตรและจัดจำหน่ายในชื่อ Singer เพราะเป็นชื่อที่นิยมคุ้นหู และต่อมาก็บริษัทญี่ปุ่นก็พัฒนาทางด้านวิศวกรรมและเริ่มผลิตและพัฒนาจักรให้ดีกว่าเดิม เช่นเย็บผ้าบางได้ดี เย็บได้นิ่มนวล และสร้างจักรที่สามารถไปแข่งกับจักรยุโรปได้ในชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นเอง

คนญี่ปุ่นคิดอะไรจะคิดรอบคอบเสมอ การพัฒนาจักรญี่ปุ่นจึงออกแบบมาเพื่อชาวเอเชียที่เป็นเมืองร้อน รูปทรงจักรดูสวยงามทันสมัย บางรุ่นก็เป็นลิมิเตดอิดิชั่น ให้เอาไว้สะสม เนื่องจากทำมาเพื่อชาวเอเชียจึงทำให้เป็นที่นิยมในแถบเอเชีย จักรยุโรปเข้ามาตีตลาดไม่ได้ง่ายๆจากการขนส่งและต้นทุนการผลิต ทำให้จักรยุโรปไม่มีมาขายในเอเชียจึงหายากในแถบเอเชีย

ข้อดีของจักรญี่ปุ่น

จักรญี่ปุ่นพัฒนามายุคหลังๆ จึงเอาข้อดีของจักรยุโรปรุ่นเก่าๆมาพัฒนาเพิ่ม การเลือกลวดลายที่ง่าย การเดินจักรให้นิ่มนวล และจุดที่สำคัญคือสามารถปรับระดับฟันจักรได้ด้วยตนเอง ทำให้เย็บผ้าบางได้ดีมากซึ่งเป็นจุดอ่อนของจักรยุโรปที่ไม่สามารถเย็บผ้าบางๆได้ดีเท่าจักรญี่ปุ่น

ส่วนจักรยุโรปถูกออกแบบมาให้เย็บผ้าหนาๆเนื่องจากเป็นเมืองหนาว การออกแบบฟันจักรจึงต้องออกแบบให้โผล่ขึ้นมาสูงเพื่อใช้ในการลากชิ้นงานที่หนาๆ เช่นเสื้อที่ทำจากขนสัตว์ งานหนังต่างๆ แต่ก็สามารถเย็บผ้าบางได้แต่ถ้าบางมากๆก็จะย่น แต่หากผู้ใช้จักรยุโรปต้องการเย็บผ้าบางๆก็ตัองไปปรับลดฟันจักรในกลไกจักรเอง

ความแตกต่างระหว่างการใช้งานจักรทั้งสองโซนนี้ (ยุโรป เอเชีย) ต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อจักรญี่ปุ่นพัฒนาจักรได้ดีแล้วก็นำไปตีตลาดยุโรป แต่ก็ขายไม่ได้เพราะจักรยุโรปก็มีจุดเด่นเป็นของตัวเอง จักรยุโรปก็ตีตลาดเอเชียไม่ได้เพราะจักรญี่ปุ่นก็ครองตลาดเอเชียแล้ว

ทำไมจักรยุโรปมีราคาแพง?

จักรยุโรปเมื่อนำมาขายในบ้านเราทำไมมีราคาแพง? หากคิดง่ายๆเลยคือนำของที่มีเยอะจากที่หนึ่งนำมาขายในแหล่งที่ขาดแคลนก็ทำราคาแพงได้

จักรยุโรปหากขายในยุโรปเองถือว่ามีราคาถูกเพราะเป็นแหล่งผลิตคนจึงไม่นิยมเอามาขายโดยเฉพาะในอีเบย์ เพราะหาซื้อได้ทั่วๆไปในยุโรปตามเว็บขายของมือสองต่างๆ หากจะนำมาลงขายในอีเบย์ก็มักจะขายให้กับคนที่อยู่นอกยุโรปเพราะอยู่นอกแหล่งผลิตทำให้ดูว่าหายากและทำราคาแพงได้ เหตุนี้จึงทำให้ราคาจักรส่วนใหญ่ในอีเบย์มีราคาแพง ราคาในอีเบย์จึงนำมาถูกอ้างอิงกรณีหากมีใครนำจักรยุโรปเข้ามาขายคนแรกและไม่มีราคามาอ้างอิง

หากใครรู้แหล่งที่มีจักรบ้านรอโล๊ะทิ้ง แล้วนำมาเล่าเรื่องราวซักหน่อยก็เอามาขายในประเทศที่ดูว่ามันหายากก็สามารถทำราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เมื่อไม่มีราคาอ้างอิงก็อาจทำราคาเท่าจักรที่ขายในอีเบย์ก็ได้เพราะจะได้มีราคาอ้างอิง ยิ่งหากใครสามารถนำเข้ามาขายได้เพียงเจ้าเดียวก็จะสามารถผูกขาดราคาได้ เพราะตั้งขายเท่าไหร่ก็มีคนซื้อเนื่องจากไม่มีคนขายคนอื่นๆ

จักรเก่าที่ไม่มีผลิตอีกแล้วจึงเหมือนเป็นของเก่าที่สร้างเรื่องราวให้ดูเป็นจักรหายากได้ เพราะไม่รู้จะไปหาซื้อจากที่ไหน อาจจะหายากจริงหรืออาจจะหาได้ง่ายก็ได้

จักรเก่าเหล่านี้ในอดีตผลิตออกมานับสิบล้านตัว จึงสังเกตุได้ว่าต่อให้เป็นรุ่นที่บอกว่าหายาก ก็ยังมีเข้ามาขายเรื่อยๆ ในเมื่อยังมีขายเรื่อยๆหากมีคนที่นำมาขายคนแรกๆก็สามารถตั้งขายราคาแพงได้ แต่คนที่ซื้อไปในราคาแพงเวลาเดือดร้อนจะสังเกตว่าไม่สามารถนำมาขายในราคาแพงได้เนื่องจากจะขายเท่ากับ คนที่นำเข้ามาก็ไม่มีคนซื้อต้องขายให้ถูกกว่ามากๆคนซื้อจึงเปรียบเทียบราคาแล้วดูว่าคุ้มค่า แต่คนซื้อมาแล้วอยากขายแพง ก็จะสามารถขายได้ต่อเมื่อคนนำเข้ามาขายตั้งราคาขายแพงขึ้นเพราะไม่มีคู่แข่ง

บทความจักร Pfaff 30 —-> Click

จักรญี่ปุ่นราคาแพงเท่าจักรยุโรปมั้ย?

FULL ARTICLE »

ADLER 87 Vintage

19Feb

POSTED BY

สวัสดีครับ ใครที่ชอบจักรเก่าโบราณน่าจะชอบจักรรุ่นนี้นะครับ เรื่องของเรื่องคือได้ไปดูจักรเก่าๆในเว็บไซต์อีเบย์ และสะดุดตากับจักรเก่าชิ้นหนึ่งมีกลไกแปลกมาก และราคาก็ถือว่าแพงเอาเรื่อง จักรตัวนี้ชื่อจักร Adler model 87 วันนี้เลยจะมาทำการหาข้อมูลจักรตัวนี้กันนะครับ

ณ วันนี้จักรตัวนี้ยังขายอยู่นะครับ ราคาตั้งในอีเบย์ขายไว้ที่ $400 หรือประมาณ 12,000 บาท ค่าจัดส่งอยู่ที่ $145.17 หรือประมาณ 4360 บาท รวมๆแล้วยอดในการซื้อจักรตัวนี้รวมส่งอยู่ที่ 16,360 บาท แต่ร้านค้าทำปุ่ม Make Offer เอาไว้จากประสบกราณ์น่าจะต่อได้ 2000-3000 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 1-2สัปดาห์ ใครพอมีกำลังก็เข้าลิ้งค์ไปหาซื้อกันได้นะครับ

https://www.ebay.com/itm/VINTAGE-ADLER-SEWING-MACHINE-with-COVER-CASE/233817949545?hash=item3670a2c569:g:RV0AAOSwACpf1COv#shpCntId

จักรตัวนี้เท่าทีหาข้อมูลมาได้คือ จักร Adler 87 เป็นจักรระบบซิกแซก ผลิตในช่วงปี 1930-1950 ผลิตในประเทศเยอรมัน อายุจักรประมาณ 70- 80 ปี โครงสร้างทำจากเหล็กทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จักรเก่าที่อายุเกิน 40 ปีตัวเหล็กที่นำมาใช้ในกลไกจักรจะเป็นเหล็กชั้นดี ดูลักษณะจักรแล้ว น่าจะเย็บงานหนาๆได้ดี เนื่องจากจักรผลิตมานานมากระบบเข็มที่ใช้คือ 1932 system needles ที่ไม่มีวางขายในท้องตลาดแต่สามารถหาเข็ม DB ทั่วๆไปที่ใช้ในจักรอุตสาหกรรมได้

ลวดลายซิกแซก

เนื่องจากจักรเก่าตัวนี้สามารถเย็บลวดลาย Basic Zig-Zag พื้นฐาน ถ้าใครเย็บคล่องๆในระหว่างเย็บซิกแซกเราสามารถโยกเข็มซ้ายขวาในระหว่างเย็บซิกแซกก็สามารถดัดแปลงสร้างลวดลายใหม่ๆได้ครับ
1.เย็บซิกแซกเล็ก ปรับเข็มซ้ายสุด–ตรงกลาง–ขวามสุด ในระหว่างเย็บ
2.เย็บซิกแซกกลาง ปรับเข็มซ้ายสุด–ตรงกลาง ในระหว่างเย็บ
3.เย็บซิกแซกใหญ่ ปรับเข็มแซก–ตรง
จักรซิกแซกพื้นฐานทั่วไปสามารถปรับเล่นลายซิกแซกตามสามข้อด้านบนได้ครับจะได้รูปด้านล่างครับ

ปรับความหนืดด้าย

มาดูการออกแบบตัวปรับความหนืดด้ายกันนะครับ รุ่นนี้การออกแบบตัวปรับความหนือด้ายผมว่ามันสวยดีหมุนๆแล้วเข็มก็เลื่อนตามรอบที่เราหมุนถ้าเป็นจักรรุ่นเก่าๆที่ไม่มีเลขเราก็จะปรับตามความรู้สึกหรือปรับไปเย็บไปจนกว่าฝีเข็มจะสวยแต่ถ้าตัวปรับความหนืดด้ายแบบนี้เปลี่ยนใช้ด้ายยี้ห้อใหม่ๆไม่ต้องกลัวถั่วงอกเลยครับ ใช้ด้ายแบบไหนปรับแล้วสวยที่เลขอะไร ก็จดตัวเลขไว้ได้เลย

กลไกจักร

FULL ARTICLE »

เลือกมอเตอร์จักรเย็บผ้าเล็ก

7Feb

POSTED BY

เคยสงสัยไหมว่ามอเตอร์จักรเย็บผ้าจากยุโรปและมอเตอร์จักรเย็บผ้าจากจีนหรือไต้หวันต่างกันยังไง มอเตอร์จักรเย็บผ้าจากยุโรปรุ่นเก่าๆราคาแพงๆดีจริงหรือมอเตอร์จากไต้หวันคุณภาพเป็นอย่างไร รวมถึงเราจะมาหาวิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานมอเตอร์กันนะครับ

รูปมอเตอร์ไต้หวันยี่ห้อ Olymsia 120w

ว่าด้วยเรื่องคุณภาพ

มอเตอร์จักรเย็บผ้าราคาจะถูกหรือแพงอยู่ที่ กำลังวัตต์ ความเร็วและคุณภาพ นะครับ อันที่แพงหน่อยก็เป็นมอเตอร์นำเข้ามาจากต่างประเทศ ดีหน่อยก็เป็นมอเตอร์จากไต้หวัน อันล่างสุดก็เป็นมอเตอร์จากจีน และราคาก็ขึ้นอยู่กับวัตต์ที่ใช้ด้วยยิ่งวัตต์เยอะก็ยิ่งแพง วัตต์ต่ำๆราคาจะไม่แพง มอเตอร์จักรราคาแพงก็จะใช้แบบไม่มีปัญหาจุกจิ๊ก ส่วนเรื่องตัวมอเตอร์จะเสียหรือพังก็ไม่เสียกันง่ายๆนะครับไม่ว่าจะถูกหรือแพง แต่รุ่นถูกจะมีปัญหาจุ๊กจิกในระหว่างการใช้งานเช่นที่เหยียบค้าง มอเตอร์ไม่หมุน คางที่ความเร็วรอบต่ำ และมีปัญหาเรื่องไฟฟ้ารั่ว เรื่องไฟฟ้ารั่วไม่ว่าจะมีระบบเซฟตี้ดีแค่ไหนก็มีโอกาสเจอด้วยกันได้หมดไม่ว่ามอเตอร์จักรจะถูกหรือแพง หัวข้อถัดไปมาดูคุณภาพและวิธีป้องกันไฟฟ้ารั่วเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกันนะครับ

เริ่มจากปลั๊กเสียบ

มอเตอร์จากยุโรปถ้าปลั๊กเสียบเป็นแบบในรูปเมื่อแกะฝาออกจะพบฟิวส์ในตัวเสียบ ฟิวส์ถือว่าเป็นอุปกรณ์เซฟตี้อย่างหนึ่ง หน้าที่ของฟิวส์คือตัดไฟก่อนที่สายไฟจะร้อนจนไหม้และช่วยป้องกันกระแสเกิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าเยอะเกินที่สายไฟจะรับไหว กระแสในสายสูงสายไฟจะร้อนมาก ร้อนขนาดที่ทำให้ไฟไหม้สายไฟฟ้าได้ แต่ถ้ามีฟิวส์เมื่อเกิดความร้อนขึ้นในสายฟิวส์จะละลายเพื่อตัดวงจรไฟฟ้า

ส่วนมอเตอร์จากจีนหรือไต้หวันหรือปลั๊กเสียบทั่วๆไปอาจจะไม่มีฟิวส์ที่ปลั๊กตัวเสียบเพื่อป้องกัน แต่ก็สามารถใช้เต้าเสียบยี่ห้อดีๆที่มีฟิวส์ในเต้าเสียบนำมาใช้ทดแทนได้ครับ ฟิวส์จะอยู่ที่จุดใดก็ได้นะครับ เพราะต้องมองเป็นวงจรไฟฟ้าที่มีโหลดครับ

เท้าเหยียบมอเตอร์

หน้าที่ของเท้าเหยียบมอเตอร์จักรคือเป็นเหมือนสวิทช์คอยเปิดปิดมอเตอร์แต่เป็นแบบสวิทช์คาร์บอนคือจะมีแท่งคาร์บอนเล็กๆซ้อนๆกันไว้เป็นตัวต้านทานกระแสไฟฟ้า ช่วยลดกระแสไฟที่จะเข้ามอเตอร์ ทำให้มอเตอร์มีสปีดที่ช้าและเร็ว หากไม่มีตัวต้านทานนี้แล้วให้วงจรต่อตรงหรือเมื่อเหยียบสุดวงจรในเท้าเหยียบก็จะต่อตรงกระแสวิ่งเข้ามอเตอร์เต็มๆ เป็นความเร็วสูงสุดของมอเตอร์

แต่ที่เท้าเหยียบมอเตอร์จักรเย็บผ้าจากยุโรปตัวเหยียบจะทำด้วยพาสติกอย่างดี พาสติกที่เฟรมเท้าเหยียบถือว่าเป็นอุปกรณ์เซฟตี้อย่างหนึ่ง พาสติกนี่ถือเป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้ารั่ว มันดียังไง ดีตรงที่เมื่อยางที่หุ้มสายไฟเปื่อยหรือแตกหรือฉีกขาดแล้วสายไฟทองแดงเกิดมาแตะที่ตัวเหยียบมอเตอร์จักรเย็บผ้าที่เป็นพาสติกไฟฟ้าก็ไม่ช๊อตเราแต่เมื่อเป็นเท้าเหยียบที่ทำจากเหล็กเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วจะทำให้ไฟช๊อตได้ แต่… ต่อให้ใช้เท้าเหยียบอย่างดีแล้วคุณก็มีโอกาสถูกไฟดูดจากการสัมผัสเหล็กที่ตัวจักร ขั้วปลั๊กไฟเก่า หรือสายไฟที่เสื่อมได้

เมื่อคุณถูกไฟฟ้าซ๊อตอาการคือวูบไปแบบไม่รู้ตัวเหมือนหลับหรือเป็นลมคือไม่ได้สติ หากโชคดีไฟฟ้าซ๊อตแล้วดีดตัวตามสัญชาตญาณออกมาได้เมื่อได้สติแล้วจะรู้สึกเหมือนเพิ่งตื่นนอนใหม่ๆจากนั้นความทรงจำก็จะเริ่มกลับมาแล้วจะนึกได้ว่า อ่อเพิ่งโดนไฟฟ้าดูด

เท้าเหยียบของมอเตอร์จีนหรือไต้หวันส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กก็ถือว่ามีความเสี่ยง แต่มอเตอร์จักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยง เมื่อคุณเสียบปลั๊กแล้วสายไฟฟ้าที่มียางฉนวนติดพันกับโต๊ะเหล็ก หรือตัวมอเตอร์ที่ติดกับจักรที่เป็นเหล็ก หากจุดดังกล่าวมีไฟรั่วแล้วคุณสัมผัสก็ทำให้เกิดไฟดูดได้ ยิ่งเป็นจักรเย็บผ้าโอกาสสัมผัสเหล็กจากไฟรั่วที่มอเตอร์ที่สัมผัสจักร เท้าเหยียบมอเตอร์ จากโต๊ะขาเหล็กหรือเดินเหยียบสายไฟก็ได้

วิธีแก้คือให้ใช้พรมผ้า พื้นยาง หรือลังกระดาษ รองที่พื้นให้เป็นบริเวณกว้างๆ หรือให้ใส่รองเท้าขณะเย็บผ้าก็ได่ ข้อสำคัญคือห้ามให้มีส่วนใดของร่างกายติดพื้นปูน หรือผนังปูน ในขณะที่เย็บผ้า มันช่วยได้ยังไง? เมื่อไฟฟ้ารั่วที่ขาเหล็ก เท้าเหยียบมอเตอร์ แล้วเรามีพื้นยาง พรมหรือลังกระดาษเราจะรู้สึกแค่เหมือนมีอะไรมาแตะๆทำให้รู้สึกแสบนิดหน่อย เมื่อเรารู้ตัวว่าไฟฟ้ารั่วก็ไปดึงปลั๊กออกแล้วก็เรียกช่างมาซ่อมแต่ถ้าเราไม่มี พรม พื้นยาง ลังกระดาษหรือรองเท้า ก็อาจจะเสียชีวิตได้ จึงควรปูลังกระดาษ ผ้าพรม พื้นยาง รองไว้ หรือใส่รองเท้าขณะเย็บผ้านะครับ เพราะเรามีโอกาสสัมผัสเหล็กที่ตัวจักรได้ทั้งหมด แม้กระทั้งการเปลี่ยนเข็มขณะที่มีไฟฟ้ารั่วก็มีโอกาสถูกไฟฟ้าดูดได้

อุปกรณ์เซฟตี้ในมอเตอร์หลักๆน่าจะเป็นกล่องเท้าเหยียบมอเตอร์ที่เป็นแบบพาสติก หรือฉนวนอื่นๆ อุปกรณ์เซฟตี้ก็ประมาณนี้ครับ อาจจะมีฟิวส์ป้องกันสายไหม้ ป้องกันมอเตอร์ไหม้ หรือ อาจจะมีคาปาซิเตอร์ซักตัวสองตัว ที่ช่วยป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่มากเกินเข้าไปที่ inductor หรือขดลวดมอเตอร์ (inductor คือ ตัวเหนี่ยวนำเป็นเส้นลวดตัวนำจำพวกทองแดงขดลวดเป็นวงเรียงกันหลายๆ รอบในมอเตอร์ทั่วๆไป) แต่ปล๊กเสียบสมัยใหม่ที่วางขายทั่วไปก็ป้องกันกระแสเกินและไฟกระชากแล้วครับ

มารู้จักกำลังวัตต์ของมอเตอร์จักรขนาดเล็ก

มอเตอร์กำลังวัตต์สูงก็จะให้ความเร็วรอบสูงแต่บางครั้งมอเตอร์วัตต์สูงอาจจะไม่เฉพาะให้ความเร็วรอบสูงเท่านั้น แต่ตอนมีโหลดหรือตอนต่อเข้าตัวจักรแล้วต้องฉุดกระชากผ้า จะได้ค่าแรงบิดหรือทอร์คที่มากกว่า หมายความว่า ถ้ามอเตอร์บอกว่าสามารถวิ่งได้ 5500 รอบนั่น ไม่ได้บอกว่ามอเตอร์ตัวนั้นมีแรงฉุดสูง แต่หมายถึงวิ่งเปล่าๆไม่ได้ต่อสายพานเข้าตัวจักรได้ 5500 รอบ ภาษาช่างเรียกว่าความเร็วรอบตอนไม่มีโหลด ถ้ามีโหลดรอบก็จะตกลง ส่วนแรงฉุดก็ต้องไปดูกำลังวัตต์อีกที

กำลังวัตต์สำคัญในมอเตอร์มาก ถ้าวัตต์เยอะรอบก็จะสูง และจะช่วยได้ดีตอนมีโหลดหรือต่อเข้าตัวจักรแล้วไปเย็บผ้าหนาๆหรืองานหนัง จังหวะที่ต้องแทงเข็มในชิ้นงานหนา ก็จะทำให้มอเตอร์ต้องใช้กำลังฉุดมาก พวกวัตต์สูงๆจะได้เปรียบจะมีกำลังมากกว่า ต่อให้วิ่งรอบต่ำก็ยังมีกำลังอยู่ ถ้าไม่ต่ำมากๆก็ไม่คาง มีแรงฉุดสูง แต่ถ้ากำลังวัตต์น้อยเมื่อเหยียบรอบต่ำทำให้จักรไม่มีแรงจะคาง มอเตอร์ไม่หมุนแล้วก็จะไหม้ในที่สุด การออกแบบมอเตอร์ที่กำลังวัตต์น้อยๆจะใช้สิ่งที่เรียกว่าคาปาซิเตอร์มาช่วย

เพราะฉะนั้นการเลือกมอเตอร์ก็อยู่ที่การใช้งานถ้างานที่จะเย็บเป็นผ้าทั่วๆไปใช้แรงฉุดกระชากไม่มากเช่นการเย็บผ้าทั่วไปไม่หนามาก ก็สามารถใช้มอเตอร์ความเร็วรอบสูงวัตต์น้อยๆได้ครับ และหากต้องการให้มอเตอร์วัตต์น้อยๆเย็บช้าๆก็อาจต้องมีตัวช่วยอย่าง คาปาซิเตอร์ ซึ่งการออกแบบตำแหน่งที่ติดตั้งคาปาซิเตอร์ในมอเตอร์จักรเย็บผ้า มีทั้งที่เท้าเยียบมอเตอร์ บางรุ่นก็มีสองตัวคือที่เท้าเหยียบและที่ตัวมอเตอร์ แต่จะเห็นบ่อยๆที่เท้าเหยียบมอเตอร์ครับ

Note…กำลังวัตต์เยอะมีกำลังเยอะแถมยังกินไฟเยอะอีกด้วย

คาปาซิเตอร์ในเท้าเหยียบ

FULL ARTICLE »

Singer 631g Slant O Matic

4Dec

POSTED BY

The Singer 631G, “The Best Machine Ever Made by SINGER”

ใครที่ชื่นชอบจักรเย็บผ้าโบราณวันนี้มีจักรที่หายากมานำเสนอ เป็นจักรที่ผลิตในปี 1964-1967 อายุก็ประมาณ 50-60 ปี ที่ว่าหากยากเพราะผลิตออกมาน้อยมากๆ เป็นจักร Singer รุ่น 631G ที่พัฒนาต่อจากรุ่นยอดนิยมอย่าง Singer 431G ซึ่งทั้งสองรุ่นนี้ผลิตในประเทศเยอรมัน กลไกภายในและฐานจักรเป็น Free Arm เหมือนกันทั้งรุ่น 631G และรุ่น 431G เป็นจักรเสาเข็มเฉียง มีระบบซิกแซกลวดลายในตัวจักรและสามารถใส่ลวดลายเพิ่มเติมได้ สงสัยใหม่ว่าทำไมจักร Singer รุ่น 431 631 Free Arm เป็นจักรที่ดีน่าจะขายได้ดีแต่ทำไมผลิตมาน้อย

Singer 431 631 ทำไมผลิตมาน้อย?

รุ่นตะกูล Free Arm ลงท้ายด้วย G เช่น 431G 631G จะหายากเป็นพิเศษที่ว่าหากยากนั้นเพราะผลิตมาน้อยโดย เหตุผลไม่ค่อยแน่ชัดแต่เท่าทีหาข้อมูลมาได้คือ จักรที่ลงท้ายด้วย G หรือจักรจากประเทศเยอรมัน โดยในรุ่นพื้นราบ 411G ถูกนำมาวางขายในจำนวนจำกัดโซนยุโรป เนื่องจากจักร Singer ที่ผลิตในอเมริกาที่ลงท้ายด้วยตัว A ก็ยังมีวางขายอยู่ในขณะนั้น และตัวที่เป็น Free Arm ในตอนนั้นผลิตได้เฉพาะประเทศเยอรมัน คือรุ่น Singer 431G ก็โดนสิทธิบัตรห้ามวางขายในอเมริกา เหตุผลคือตอนนั้นยุโรปมีจักร Singer ที่ผลิตในประเทศและกำลังออกจักรรุ่นใหม่คือ Singer 5xx A Series หากนำรุ่น Free Arm นำมาจำหน่ายก็จะทำให้จักร Singer รุ่น 5xx A make in America ขายไม่ออกทำให้จักรที่ลงท้ายด้วย G วางขายได้เฉาะในประเทศเยอรมันจึงถูกผลิตออกมาน้อย และรุ่นออกใหม่อย่าง 6xxG ที่ลงท้ายด้วยตัว G ก็วางขายได้แค่ในอเมริกาเหนือเท่านั้น ทำให้ Singer รุ่น 631G ถูกผลิตออกมาน้อยมากๆ ที่หลุดมาขายในยุโรปได้ก็ต้องมีเอกชนนำเข้ามาให้ และภายหลัง Singer ถูกจักรเย็บผ้าญี่ปุ่นบางรุ่นที่สร้างให้มีราคาถูกมาแข่งเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้าทำให้บริษัท Singer ต้องลดต้นทุนโดยการนำพาสติกมาผสมในกลไกจักรในรุ่นถัดไป

ถ้าเรียกฉายาจักร Singer 201-2 ระบบเฟืองเกียร์เหล็กเดินจักรได้นิ่มนวล ว่า Rolls Royce of Singer แล้วล่ะก็ จักร Singer 631g รุ่นนี้ที่เป็นระบบเฟืองเกียร์เหล็กและใช้มอเตอร์ขับกลไกจักรโดยตรงเหมือนกับจักร Singer 201-2 ก็นับเป็น Rolls Royce of Singer รุ่นถัดมา ที่ถูกพัฒนาต่อยอดอีกตัวหนึ่ง การพัฒนาเริ่มต้นจาก Singer 201 พัฒนาใหม่ให้เป็น –> Singer 3xxA—>,4xxG –> จนมาเป็น Singer 631g ที่ผลิตมาน้อย พร้อมเสริมเขียวเล็บ เพิ่มฟังก์ชั่นลูกเล่นต่างๆ และยังเป็นแบบ Free Arm อีกด้วย

Singer 301 the first slant shank

เรามารูัจักจักรเสาเข็มเฉียงรุ่นแรกกันก่อน คือจักร Singer 301 เป็นจักรในกลุ่มเสาเข็มเฉียงที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เพื่อปฏิวัติวงการจักรเย็บผ้า เปลี่ยนแนวคิดในการออกแบบจักรเย็บผ้า จากการออกแบบจักรเย็บผ้ารุ่นเก่าทรงเดิมๆที่มีมานาน ให้เป็นจักรเย็บผ้าแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร ที่เด่นๆเลยคือพัฒนาให้มีเสาเข็มเฉียง จักรแบบเสาเข็มเฉียงตัวแรกของโลกคือ Singer 301 ที่ผลิตออกมาแล้วได้รับคำชมมากมาย แถมยังเป็นจักรที่ขายดีแซงหน้าจักรยอดนิยมอย่าง Singer 201/201K และ Singer 221 and 221K Featherweights

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ About Singer 301 –> http://www.singer301.com/about/default.html

ตะกูลจักรเย็บผ้าที่เป็น Slant-Needle ได้แก่รุ่น first slant shank ; 301, 301A, Slant-O-Matic; 404, 401, 401A, 403, 411G, 414, 421G, 423, 431G,432,611G,631G Rocketeers; 500, 500A, 503, Touch & Sew; 600, 600E, 603, 604, 609, 620, 625, 626, 628, 629, 630, 635, 636, 638, 640, 645, 646, 648, 649, 714, 734, 750, 756, 758, 770, 774, 775, 776, Futura; 900, 920, 925, 1000, 1030, 1036, 1100, 1200, 1411, 1425, Athena; 2000, 2000A, Touch-Tronic; 2001, 2005, 2010, 30920, 4552, 4562, 4572, 4610, 4622, 5910, 6233, 6234, 6235, 6267, 6268, 6740, 6800, 6900, 7028, 8019, 9005, 9008, 9010, 9012, 9015, 9018, 9020, 9022, 9027, 9030, 9032, 9044, 9123, 9133, 9135, 9137, 9143, 9210, 9217, 9224, 9240, 9400, 9408, 9410, 9416, 9417, 9420, 9423, 9430, 9432, 9440, 9444, 9900.

แต่จักรเสาเข็มเฉียงที่เป็นตัวท๊อบๆในยุคนั้น (1957-1965) เช่น Singer 301a the first slant shank , 411 & 431 403A 611G 631G Slant-O-Matics, 500a Rocketeers หรือ Singer 600,600e และ 670g Touch and Sew ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นจักร Singer แบบเสาเข็มเฉียง ถ้าลงท้ายรุ่นด้วยตัว A จะเป็นจักรที่ผลิตที่ประเทศอเมริกา ถ้าลงท้ายรุ่นด้วยตัว G จะเป็นที่ผลิตในประเทศเยอรมัน ใช้กลไกภายในเป็นเหล็กทั้งตัว

ก่อนจะมาเจอจักรรุ่นนี้ก็เริ่มจากศึกษาข้อมูลจักรที่ http://www.singer301.com/ เนื่องจากชอบจักร Singer เป็นพิเศษเพราะเป็นจักรยอดนิยมในสมัยนั้น ผลิตมาจำนวนมากมีอะไหล่มากมายที่ทดแทนกันได้ ทำให้ยังหาอะไหล่เปลี่ยนได้ตลอด ตรงนี้สำคัญถ้าจักรที่ไม่ได้มีไว้โชว์ควรมีอะไหล่ไว้ซ่อมได้เมื่อจักรพัง มีรุ่นใกล้เคียงกันที่ใช้อะไหล่เดียวกันได้ โดยสามารถหาซื้อได้ทั่วไปไม่ผูกขายอยู่ไม่กี่เจ้า

จักร Singer มักจะออกแบบฟังก์ชั่นจักรใหม่ๆแบบจัดเต็ม ให้ค่ายอื่นได้ทำตามหรือมักจะเป็นจักรต้นแบบ จึงหาข้อมูลจักร Singer ที่มีฟังก์ชั่นที่ดี แข็งแกร่ง หรือถูกออกแบบมาให้ไม่มีวันพังหากดูแลรักษาดีๆ จะต้องไม่สำรองอะไหล่เก็บไว้ ถ้าเป็นจักรที่ใช้อะไหล่ที่มีสายพาน สายเชือก เฟืองพาสติก หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อาจต้องหาอะไหล่สำรองมาเก็บไว้รอเปลี่ยน เพราะอะไหล่ไม่มีผลิตอีกแล้ว อาจต้องซื้ออะไหล่แพงกว่าตัวจักรหรือต้องซื้อไว้สำรองเผื่อใช้ในอนาคต

เมื่อได้ศึกษาข้อมูลจักร Singer หลายรุ่น แต่ถูกใจรูปทรงของจักร Singer 631g ฐานแบบ Free arm ในตะกูลเสาเข็มเฉียง Series Slant-O-Matic รูปทรงแบบ Touch and Sew ที่เป็นระบบเฟืองเกียร์เหล็กพร้อมฟังก์ชั่นที่จัดเต็มรุ่นสุดท้าย ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นระบบเฟืองพาสติกหรือลดฟังก์ชั่นในรุ่นถัดไป แต่ปัญหาคือหาซื้อไม่ได้ จึงไปหาซื้อ Singer 611G ก่อนเพราะยังมีขาย แต่ก็ยังคงรอคอยตามหา Singer 631G อยู่เพราะต้องการจักรเสาเข็มเฉียง ฐานจักรที่เป็นแบบ Free arm และไม่ใช้กลไกเชือก หรือสายพานหรือ เฟืองพาสติก ในกลไกจักร

จักร Singer 631g Slant O Matic

โดยส่วนใหญ่จักรในตะกูล Slant O Matic ตัวปรับเลือกลายจะเป็นวงกลมตัว O เช่นรุ่น Singer 4xx ถ้าเป็นตะกูล Singer 5xx Rocketeers ตัวปรับลายจักรจะมีรูปทรงคล้ายๆกับยานอวกาศในการ์ตูนสมัยก่อน ส่วนตะกูล Touch and Sew ตรงที่ปรับลายจักรก็จะมีปุ่มให้กดเลื่อน จึงสังเกตุได้ว่าจักร Singer 631g เป็นจักรในตะกูล Slant O Matic แต่มีรูปทรงแบบ Touch and Sew จักร Singer 631g พัฒนามาจากจักร Singer 431G เป็นจักรระบบกลไกซิกแซก และเป็นเฟืองเกียร์เหล็ก ที่มีฐานจักรเป็นแบบ Free Arm ไม่มีสายพานเชือก ซึ่งจักรซิกแซก ฐาน Free Arm ที่เป็นระบบแบบนี้มีอยู่ไม่กี่ตัวในโลก ส่วนใหญ่จะใช้กลไกผสมระหว่างสายพานเชือกและเฟืองเกียร์เหล็ก (metal gear) หรือเป็นกลไกแบบข้อเหวี่ยงเหมือนในจักรหัวดำพื้นบ้าน กลไกข้อเหวียงเมื่อเดินจักรเร็วทำให้จักรสั่นและมีเสียงดังไม่นิ่มนวลเหมือนพวกเฟืองเกียร์หรือสายพาน

คุณสมบัติที่พิเศษของจักร Singer 631g

จักรรุ่นนี้เป็นรุ่น Slant O Matic ที่พัฒนามาให้เป็นแบบ Touch and Sew คือแค่กดปุ่มเลือกลวดลายแล้วก็เย็บ เป็นความคิดที่ทันสมัยของนักออกแบบยุคนั้น 50-60 ปีที่แล้ว ผู้ออกแบบอาจมองว่าในอนาคตการใช้งานจักรเย็บผ้าเพียงแค่กดปุ่มเลือกเท่านั้นไม่ต้องไปทำอะไรที่ซับซ้อน ซึ่งจักรคอมสมัยใหม่ก็มีปุ่มให้กดเลือกเช่นกัน

คุณสมบัติเด่นๆที่ดูทันสมัยในยุคนั้น (ช่วงปี 1960s) ที่สืบถอดมาจาก Singer 301 แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นได้แก่ *เสาเข็มแบบเฉียง* *เย็บได้ทั้งแบบ ตรง ซิกแซกและ แบบลูกโซ่* *ใส่เข็มได้สองเข็มขนาดที่แตกต่างกัน* *แผ่นรองจักรหลากหลายถอดเปลี่ยนได้ง่าย* *น้ำหนักตีนผีที่ปรับตามตัวเลขได้ง่าย* *ที่วางด้ายแนวนอนล็อกไม่ให้ดิ้นหลุดได้ง่าย* *ควบคุมความยาวฝีเข็มได้ง่าย* *มอเตอร์ที่ขับเคลื่อนกลไกโดยตรงไม่มีสายพาน* *หลอดไฟที่ถอดเปลี่ยนได้ง่าย* *กลไกของจักรถูกซ่อนภายในบอดี* *ตีนผีที่หลากหลาย* *ตารางโชว์ลวดลายซิกแซก* * Specials Disk ลวดลายเพิ่ม* *กระสวยนอนเปิดดูด้ายได้ง่าย* และอื่นๆ ดูเหมือนคนออกแบบคิดระบบอะไรดีๆได้ก็จัดใส่ให้เต็มๆแบบไม่มีกั๊กไว้ใส่รุ่นถัดไป

สามารถเย็บ Chain Stitch ได้

จักร Singer 631g นี้สามารถเย็บลูกโซ่ Chain Stitch ได้ การเย็บเย็บแบบลูกโซ่นี้เป็นลักษณะการเย็บที่ไม่แข็งแรง กล่าวคือมีโอกาสที่จะหลุดได้ง่ายกว่าแบบอื่นหากขาดที่จุดใดจุดหนึ่งการเย็บแบบนี้จะได้ความเป็น Original ของการเย็บแบบโบราณ ในการเย็บแบบปกติหากต้องการเย็บชั่วคราวเมื่อเย็บแล้วเมื่อต้องการเลาะด้ายออกจะเลาะยาก โดยเฉพาะเมื่อเย็บถี่มาก ส่วนการเย็บแบบลูกโซ่จะคล้ายๆกับเย็บถุงกระสอบเมื่อตัดด้ายแล้วสามารถดึงรวดเดียวให้ด้ายหลุดทั้งหมดได้ ข้อดีที่เมื่อเย็บแบบนี้อีกอย่างก็คือ สามารถนำมาเนาผ้าเพื่อล็อกไม่ให้ผ้าดิ้นโดยเลือกฝีเข็มยาวๆแล้วเย็บลูกโซ่ จากนั้นก็เย็บฝีเข็มปกติ แล้วเลาะลูกโซ่ที่เนาไว้ออกได้ง่าย

การเย็บที่เหมาะสำหรับเย็บแบบลูกโซ่อีกอย่างหนึ่งคือ การเย็บที่มีโอกาสเปลี่ยนหรือเลาะออกในอนาคต ตัวอย่างเช่น การเย็บซิปซ่อนที่ต้องเลาะออกทุกครั้ง หรือในงานเช่าชุดไทยที่ส่วนแขน ส่วนด้านข้างช่วงตัว กว้างไป ก็ใช้การเย็บแบบลูกโซ่เย็บชั่วคราวให้แคบเข้ามาได้ เมื่อใช้เสร็จแล้วก็เลาะออกได้ง่าย หรือจะใช้เย็บขอบเอวและขากางเกง เย็บชุดชั้นในสตรีและชายของผ้าไตรคอตหรือผ้าลูกโซ่ เมื่อเปลี่ยนยางยืดก็เลาะออกโดยง่าย การเย็บด้วยวิธีเย็บแบบลูกโซ่ในจักร Singer 631g คือไม่จำเป็นต้องใส่ด้ายที่ถ้วยกระสวยด้านล่างทำให้ไม่ต้องกรอด้ายช่วยให้การประหยัดเวลาอีกด้วย

ฐานจักร Free arm

Singer 631g ฐานจักรปรับเป็น Free Arm ได้เหมาะสำหรับเย็บวัสดุทรงกระบอก ปกติการเย็บขากางเกง เปลี่ยนยางยืดเอว เย็บแขนเสื้อ หรือการเย็บกระเป๋าที่ต้องสวมเข้าไปได้ถ้าใช้จักรพื้นราบต้องแผ่ชิ้นงานทำให้เย็บไม่สะดวกถ้าถ้าสวมเข้าไปลึกๆอาจต้องเลาะทั้งหมดแล้วเย็บ โดยเฉพาะการเย็บกระเป๋าหนังซึ่งแผ่เย็บกับจักรพื้นราบไม่สะดวกโอกาสเย็บพลาดสูงจึงต้องใช้จักรที่ฐานจักรเป็นแบบ Free Arm

ฐานจักรแบบ Free Arm จะใช้ประโยชน์ได้เยอะกว่าฐานจักรแบบเรียบ โดยเฉพาะรุ่น 631g นี้ฐานจักร Free Arm ไม่มีฐานกั้นที่ด้านล่างเมื่อยื่นออกนอกโต๊ะโดยการนำโต๊ะมาต่อให้เหลือช่องว่างที่ฐาน Free Arm ทำให้สามารถสอดชิ้นงานทรงกระบอกที่หนาๆได้

รูปทรงจักรที่สวยงาม

รูปทรงจักรเย็บผ้าเปรียบเสมือนเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งของนักออกแบบในสมัยนั้น ที่ต้องระดมความคิดว่าจะทำยังไงให้การออกแบบรูปทรงจักรเย็บผ้าดูสวยงาม ทันสมัย ให้ผู้ใช้ ใช้งานได้ง่าย ซึ่งจักรเก่าแต่ล่ะรุ่นแต่ล่ะยี่ห้อการออกแบบก็แตกต่างกันไป

จักรเย็บผ้ารุ่น Singer 631g ตัวเครื่องเป็นสีขาว ขึ้นโครง body ด้วยอลูมิเนียม การออกแบบทำได้สวยงาม มีน้ำหนักเบากว่าจักรที่เป็นเหล็กหล่อทั้งตัว กลไกทุกอย่างรวมถึงมอเตอร์ถูกซ่อนไว้ในตัวจักร ผู้ใช้งานจะเห็นแค่ตัวจักร ไม่เห็นมอเตอร์ สายพาน หรือไฟส่องชิ้นงานออกมานอกตัวจักร ส่วนเว้าส่วนโค้งเหมาะสม มองสวยในทุกมุม ใช้งานได้สะดวก ปุ่มปรับต่างๆอยู่ตรงหน้าของผู้ใช้งาน ใช้เสาเข็มแบบเฉียงเพื่อให้ชิ้นงานอยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุดยื่นออกมานอกเครื่องให้ได้มากที่สุดทำให้มองเห็นชิ้นงานได้ชัดเจน จะมีข้อเสียแต่กระเป๋าที่แถมมาเป็นกระเป๋าแบบครอบ มีตัวเกี่ยวพาสติกไว้เกี่ยวกับฐานจักรทั้งสองด้าน เมื่อยกแล้วก็รู้สึกไม่มั่นคงดูเหมือนจักรจะหล่นได้ง่าย อุ้มตัวจักรยังรู้สึกปลอดภัยกว่า

ปุ่มกดเลือกลายเย็บที่อยู่ด้านหน้ามีสองปุ่ม เทคนิคในการกดปุ่มคือจะต้องกดปุ่มใหญ่ที่หน้ากากด้านหน้าแช่ไว้ก่อนแล้วค่อยมากดเลือกปุ่มสองปุ่ม จะทำให้กดได้ง่าย จุดนี้ทำมาเพื่อป้องกันการกดปุ่มด้านหน้าสองปุ่มแบบไม่ตั้งใจในระหว่างเย็บ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่มีจักรรุ่นนี้มักจะไม่รู้ จะพยายามกดปุ่มสองปุ่มเพื่อเลือกลายทันที ทำให้ตัวปุ่มสีขาวที่ทำด้วยพาสติกเสียหายได้ง่าย

จักรระบบกระสวยหงาย

เคยสังเกตุไหมว่าทำไมจักรรุ่นเก่าๆในระบบกระสวยหงายจึงมีเฉพาะในยี่ห้อ SINGER เป็นเพราะจักร SINGER เป็นผู้คิดค้นขึ้นมาแล้วจดลิขสิทธิ์ไว้ทำให้ไม่มีจักรยี่ห้อไหนสามารถทำจักรระบบกระสวยหงายขึ้นมาได้ทำให้จักรกระสวยหงายมีเฉพาะในยี่ห้อ SINGER แต่อาจจะเห็นจักรกระสวยหงายในบางยี่ห้อที่ลิขสิทธิ์ครอบครุมไม่ถึงซึ่งมีน้อยมากๆ ระบบกระสวยหงายออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้วางแผนการเย็บได้ง่าย เปิดมองด้ายด้านล่างได้สะดวก

ระบบกระสวยหงายบางคนก็ชอบ บางคนก็ไม่ชอบ แต่ที่ได้ลองใช้ทั้งสองระบบคือกระสวยตั้งและกระสวยหงายเมื่อใช้ลูกกระสวยที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกัน จมสวยแน่นทั้งคู่ ถ้าเป็นจักรที่เป็นกลไกเหล็กเย็บหนาได้ทั้งสองระบบก็เย็บหนาได้ดีทั้งคู่ Singer 631g เป็นจักรซิกแซกระบบกระสวยหงาย ความยาวตะเข็บ 4 มิล ปรับแซกได้กว้างสุดที่ 5 มิล ซึ่งเป็นฝีเข็มซิกแซกที่มีความกว้างเป็นมาตฐานทั่วไป

จักรรุ่น 631g ของ Singer เป็นระบบกระสวยหงายที่พัฒนามาได้ดีกว่าจักรกระสวยหงายรุ่นแรกอย่างจักร Singer 201 และเป็นต้นแบบที่ใช้มาได้ดีจนถึงจักรรุ่นใหม่ๆในปัจจุบันทำให้อะไหล่สามารถยังหาได้ในปัจจุบัน ที่พัฒนามาเป็นกระสวยหงายเพราะทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่าย ถอดถ้วยกระสวย ปรับความหนืดด้ายด้านล่างได้ง่าย ใส่ด้ายที่กระสวยด้านล่างได้สะดวก เมื่อใช้ถ้วยเหล็กที่มีรูให้มองเห็นด้าย หรือถ้วยกระสวยพาสติกแบบใส ทำให้ในระหว่างการเย็บสามารถเปิดดูด้ายที่กระสวยด้านล่างได้ว่าด้ายหมดหรือยัง ไม่ต้องคอยล้วงมือไปถอดออกมาดู หรือหงายจักรยกขึ้นมาถอดดู เหมือนจักรกระสวยตั้ง ซึ่งช่วยในการวางแผนการเย็บได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องเย็บต่อเนื่อง ส่วนคุณสมบัติอื่นๆของจักรรุ่น Singer 631g นี้เหมือนกันกับ Singer 611g สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ —-> SINGER 611g

ใส้กระสวยจักร

ตัวใส้กระสวย (Bobbin) ที่ใช้ของจักร SINGER 631g และ Singer 66, 99, 185, 201, 400s, 500s เป็นแบบ Class 66 มีทั้งแบบพาสติกและแบบเหล็ก

ใส้กระสวยแปดรูรูปแรกสำหรับ Singer Featherweights, 301 และใส้กระสวยยอดนิยมคือ Class 15 ที่สามารถใส่จักร Singer Model 15 และจักรญี่ปุ่นได้เกือบทุกตัว

เย็บหนาด้วยฝีเข็มตรง

ในวีดีโอด้านล่าง เป็นการเทสเย็บยีนส์พับ 8 ทบ ด้วยฝีเข็มตรง ปกติจักรเย็บผ้าที่สามารถเย็บซิกแซกได้ ที่เสาเข็มของจักรแซกทุกรุ่นจะโยกได้ไม่แข็งแรงเท่าจักรที่เย็บตรงได้อย่างเดียว เมื่อนำจักรซิกแซกมาเย็บงานหนาๆฝีเข็มที่ได้จะไม่ตรงเป๊ะ แต่จะตรงบ้าง และบางฝีเข็มก็จะเอียงบ้างเป็นปกติของจักรซิกแซก แต่ใช้ไม่ได้กับ Singer 631G เพราะตัวนี้เป็นจักรซิกแซกแต่เสาเข็มแข็งแรงมากเย็บงานหนาด้วยฝีเข็มตรงเทียบกับจักร Pfaff30 ฝีเข็มค่อนข้างตรงสวยใกล้เคียงจักรเย็บตรงเช่นจักร pfaff 30 ที่เป็นจักรเย็บตรงอย่างเดียวและเสาเข็มไม่โยก

FULL ARTICLE »

ของสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม

30Jul

POSTED BY

บทความสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม เป็นบทความที่ถือว่าเป็นประสบกราณ์มาเล่าสู่กันฟังครับ จุดเริ่มคือสมัยก่อนผมก็ท่องเว็บไปเรื่อยๆหาเข้ากล่มนู้น นี่ นั่น จนไปเจอกลุ่มเกี่ยวกับจักร ได้อ่านข้อมูลจักรโบราณจักรเยอรมันกลไกจักรดีๆ หาอ่านข้อมูลจักรหายากแพงๆ แล้วจึงหาซื้อมาเก็บไว้ รู้ประวัติสเปกต่างๆยิ่งเก่าหรือกลไกซับซ้อน ยิ่งดี โดยเฉพาะจักรเยอรมันยิ่งชอบ จนมาเจอวิกฤตทางการเงินจนต้องเอาจักรเก่าสะสมออกมาขายจักรโบราณเก่าเก็บที่ซื้อมาแพงๆนั้นก็แปลงเป็นเงินได้ช้า จักรโบราณจักรสะสมที่เราคิดว่าหายากต้องได้มาครอบครองพอเดือดร้อนจริงๆเอามาขายต่อแปลงเป็นเงินแทบไม่ได้ ไม่มีใครซื้อ เราคิดไปเองว่าหายาก คิดไปเองว่าหากเอามาขายต่อน่าจะได้ราคาดี คิดผิด

ชีวิตเราก็เหมือนกราฟมีขึ้นๆลงๆ

เงินอยู่กับเราได้นานแค่ไหนกัน.. ใครจะไปรู้ว่าช่วงที่ดีก็ดีจนน่าอิจฉา ช่วงที่แย่ก็แย่จนสงสารตัวเอง ช่วงที่มีเงินก็ชอบหาของสะสมในสิ่งที่ชอบ สิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ ไม่ได้ซื้อสิ่งที่จำเป็นซื้อแต่สิ่งที่อยากได้ พอสนใจจักรเก่าโบราณก็เริ่มหาข้อมูลจักรเก่าไปๆมาๆยิ่งรู้ข้อมูลจักรเยอะก็ยิ่งเสียเงินเยอะ ยิ่งรู้เยอะก็ยิ่งอยากได้ไปหมด พยายามหาตัวหายากๆมาสะสม (คิดว่าหายากแล้วแต่สักพักก็มีตัวแบบเรามาขายอยู่เรื่อยๆ) รุ่นนี้ก็ดีรุ่นนั้นก็ดี คิดว่าจะเอามาทำงานแต่แล้วก็ไม่รู้เอามาทำอะไรมารู้ตัวอีกทีก็มีจักรเต็มบ้านพร้อมกับเงินที่จมไปกับจักรสะสม

รูปภาพจาก https://www.maruey.com/article/contentinbook/448

แต่เมื่อชีวิตมาเจอวิกฤตเอาจักรสะสมเหล่านั้นมาแปลงเป็นเงินก็ไม่ได้เงินทันที ต้องยอมขายขาดทุน จึงค้นพบสัจธรรมเกี่ยวกับการขายว่าสิ่งที่จะเอามาขายได้คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อ ผู้ซื้อจึงซื้อ เริ่มคิดได้ว่าเห้ย..เราจะตามหาสะสมจักรเก่าโบราณไปทำไม จักรที่สะสมไม่ได้ทำให้เงินงอกเงยเลย สู้เอาไปซื้อจักรเก่าธรรมดาทนๆแต่เอามาช่วยงานทำงานให้เราหาเงินให้เราดีกว่ามั้ย หรือเอาเงินที่จะซื้อของสะสมทั้งหลายไปซื้อทองคำ กองทุน ดีกว่ามั้ย จากนั้นจึงเริ่มปล่อยขายจักรสะสม ซึ่งใช้เวลานานและต้องยอมขายขาดทุน

หากคิดจะซื้อจักรเก่าโบราณสักตัว

หากจะนำจักรมาใช้ซักตัวหนึ่งดูว่าใช้งานแบบไหนใช้งานเล็กๆน้อยๆหรือนำมาช่วยทำมาหากิน จักรเก่าๆข้อดีคือถูกทนใช้เย็บทั่วไปภายในบ้านได้ง่าย มีลวดลายเท่าที่ต้องใช้ก็พอ ใช้ซ่อมเล็กๆน้อยๆด้วยตัวเองในบ้านง่ายๆไม่ต้องออกไปหาช่างเย็บผ้า หากเสียก็ซ่อมในราคาไม่แพงใช้จนรุ่นลูกรุ่นหลานได้แต่ลูกหลานจะใช้หรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง หากต้องมีจักรเก่าใช้ในบ้านซักตัวจึงควรหาจักรที่เราชอบจริงๆเอามาใช้งานได้จริงๆมีช่างคอยซ่อมให้ตลอด เพราะถ้าใช้ไปไม่ราบเรียบมีปัญหาจุกจิกตลอดจะพลอยทำให้รำคาญไม่อยากเย็บผ้า ยิ่งมีบริการหลังการขายยิ่งดี หรือยามเดือนร้อนนำมาขายต่อได้ง่ายไม่เจ็บตัวมาก

ถ้าหากอยากสะสมจักรเก่าจริงๆชอบจริงๆอยากได้มาครอบครองมากๆ มีเงินเหลือไม่รู้เอาเงินไปใช้อะไร ก็เลือกที่ชอบตัดใจไม่ได้จริงๆซัก1-2ตัวก็พอแล้ว หากจะใช้จักรมาช่วยขายของต้องเน้นจักรทนๆจะเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือจักรอุตสาหกรรมที่ทำงานซ้ำๆได้ เอามาใช้แล้วพังหรือเก่าหรือลอก สึกหลอ ก็ไม่เสียดายมาก มีเทคโนโลยีใหม่ๆ กลไกจักรใช้เหล็กแข็งแรงๆ เย็บงานหนาๆ สามารถเอามาใช้งานได้ดีไม่เสียจุกจิก กลไกไม่ซับซ้อนซ่อมเองได้ง่าย หรือถ้าพังก็มีช่างซ่อมให้ จะดีกว่า

ว่าด้วยเรื่องจักรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

เทคโนโลยีของจักรพัฒนามาถึงจุดที่สามารถลดเวลาการทำงานได้แล้วจากสมัยก่อนที่แม่บ้านทำงานบ้านเย็บผ้าใส่เองจนมาถึงยุคที่ภรรยาก็ต้องออกไปทำงานและมีสิ่งอื่นให้ทำมากมายการพัฒนาจักรก็เน้นความสะดวกรวดเร็วและเทคโนโลยีในการเย็บเข้ามาแทนการเย็บแบบเดิมๆที่ใช้เวลาและฝีมือมาก จักรอุตสาหกรรมกึ่งอัตโนมัติบางตัวมีเทคโนโลยีที่ช่วยผ่อนแรงเรา และ software การทำลวดลาย เช่นระบบควินท์ผ้าห่มผ้าอัตโนมัติหรือการปักชื่อนักเรียนทีล่ะหลายๆตัว ปักลายการ์ตูนโดยการโปรแกรมลวดลายในคอมพิวเตอร์ ปั้มบนหมวก บนชิ้นงานต่างๆ ได้สวยและรวดเร็วรับงานได้หลายๆเจ้า หรือจักรที่มีเทคโนโลยีในการจดจำรูปแบบการเย็บเย็บซ้ำๆในตำแหน่งเดิมๆ เป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อมาช่วยแทนแรงงานคนซึ่งมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ แต่ต้องไปคำนวนว่าต้องขายเท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุนที่ลงทุนไปอีกทีนะครับ

FULL ARTICLE »

การใช้งานจักรแซก Singer287 (1)

25Apr

POSTED BY

จักรเย็บผ้า singer รุ่น 287 เป็นจักรเย็บผ้าเก่า จักรโบราณซิกแซกที่ผลิตในญี่ปุ่น อายุมากกว่า 40 ปี เป็นรุ่นที่สวยงาม ใช้งานง่าย ทนทานแข็งแรงมาก ข้อดีของจักรแซกคือเป็นจักรสารพัดประโยชน์คือจะเย็บตรงก็ได้หรือจะเย็บแซกเก็บขอบผ้างาน Quilts ก็ได้หรือเย็บแซกตรงกระดุมก้ได้ใช้งานได้หลากหลาย แต่ข้อเสียก็มีครับเป็นข้อเสียพวกจักรซิกแซกทั่วไปคือเนื่องจากเป็นจักรซิกแซกเสาเข็มจะโยกได้เวลาเย็บงานชิ้นหนาๆให้ตรงมักจะไม่ตรงเป๊ะๆเหมือนพวกจักรเข็มตรงทั่วไปพวกนั้นเสาเข็มแข็งแรงมาก นอกนั้นก็ใช้งานได้ดีเหล็กดีเย็บหนาและบางได้ดี

Singer-287

เข้าไปอ่านบทความ Singer-287 ได้ที่ link—> –Singer-287–

มาดูการใช้งานจักร Singer – 287 กันครับ

เมื่อได้จักรมาใหม่สิ่งแรกที่ควรทำเลยคือหยอดน้ำมันครับ เอนตัวจักรดูที่ไต้ฐานจักรเหล็กตรงไหนเคลื่อนไหวได้ก็หยอดน้ำมันให้ทั่วครับ เอาไขควงเปิดฝาพาสติกด้านบนก็จะเห็นชินส่วนกลไกด้านบนตรงไหนเป็นเหล็กที่เคลื่อนไหวได้ก็หยอดน้ำมันได้เลยครับแล้วก็ปิดฝาดังเดิม สามารถเปิดหน้ากากด้านหน้าออกก็หยอดน้ำมันได้นะครับ พอใช้ไปนานๆก็คอยเช็คว่าน้ำมันที่เคยหยอดไปแห้งหรือยังถ้าแห้งก็หมั่นหยอดนะครับจะได้ใช้จักรได้นานๆ แล้วก็ก่อนจะเย็บแถวๆเข็มหรือที่ผ้าลากผ่านถ้าเลอะน้ำมันก็เอาผ้าหรือทิชชูมาซับน้ำมันได้นะครับจะได้ไม่เลอะผ้าที่จะเย็บครับ

FULL ARTICLE »

การใช้งานจักรหัวดำ

10Feb

POSTED BY

ในบทความนี้จะแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานจักรเย็บผ้าเบื้องต้น สำหรับมือใหม่ ตั้งแต่การทำความสะอาด การตั้งค่าจักรเบื้องต้น ไปจนถึงการเย็บพื้นฐานผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดการเย็บชิ้นงานได้ในลำดับต่อไป ในการแนะนำนี้จะใช้จักร Pfaff 50 แต่ผู้เรียนสามารถใช้จักรหัวดำยี่ห้ออื่นได้ซึ่งการใช้งานจะคล้ายๆกันต่างกันแค่การร้อยด้ายใส่เข็ม โดยจักรหัวดำทั่วไปจะร้อยด้ายที่ด้านหน้าตัวจักรส่วนจักร Pfaff 50 นี้จะร้อยด้ายที่ด้านข้าง ฝั่งด้านหน้าผู้ใช้งาน

อ่านบทความจักร Pfaff 30 และ Pfaff 50 ได้ที่ —> LINK
อ่านบทความการเลือกซื้อจักรหัวดำมือสองได้ที่นี่ —> LINK

สิ่งที่ควรทำเมื่อได้จักรหัวดำมาใหม่

เมื่อได้จักรหัวดำมาใหม่ๆ ต้องทำความสะอาดโดยการสามารถทำได้โดย ถอดหน้ากากด้านหน้า ด้านข้าง แล้วหงายหัวจักรขึ้น ใช้แปรงปัดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกออกให้หมด จากนั้นนำน้ำมันจักรมาหยอดทุกจุดของชิ้นส่วนจักรที่เคลื่อนไหวได้ และด้านบนตัวจักรจะมีรูหยอดน้ำมันก็หยอดที่รูด้านบนตัวจักรได้ วิธีการสังเกตุดูว่าชิ้นส่วนไหนควรจะต้องหยอดน้ำมัน ให้หมุนล้อจักรไปมา แล้วสังเกตุดูว่าชิ้นส่วนใดที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ ก็หยอดน้ำมันลงไปในส่วนนั้น หยดจุดละ 1-2 หยดก็พอ เพราะเหล็กไม่มีคุณสมบัติจะ”ซับ”น้ำมันจักรไว้ได้ หยอดมากก็ไหลทิ้งเลอะเทอะเปล่าๆ หยอดเสร็จแล้วก็นำผ้ามาเช็ดให้สะอาด ถ้าบางชิ้นส่วนของจักรเป็นสนิมก็หากระดาษทรายมาขัด แล้วเช็ดให้สะอาดเป็นอันเสร็จ

FULL ARTICLE »