Tag: จักรซิกแซก-singer-287

การใช้งานจักรแซก Singer287 (3)

6May

POSTED BY

จากตอนที่2 ที่กล่าวถึงการใส่เข็มและการร้อยด้ายในการเริ่มต้นเย็บ วันนี้เราจะมาเริ่มต้นเย็บจริงกันนะครับถ้าจะให้ดีให้เห็นการมัดด้ายของจักรด้ายบนและด้ายล่างควรใช้คนล่ะสีจะดีที่สุดครับ ก่อนเย็บควรเช็คพื้นฐานกันก่อนนะครับ ปรับฟันจักรให้ดผล่บนฐานจักร ปรับระยะห่างฝีเข็มไม่ให้เป็นเลข 0 ปรับน้ำหนักตีนผีที่น๊อตด้านบน และหมุนขันท้ายจักรให้แน่นๆครับ
รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่1
รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่2

เริ่มต้นเย็บ

ตำแหน่งปรับฝีเข็มตรง ระยะแซกต่างๆของจักร
ตำแหน่งปรับระยะห่างฝีเข็ม

ขั้นตอนแรกให้ปรับเป็นผีเข็มตรงก่อนนะครับแล้วปรับตำแหน่งเข็มไว้ตรงกลางปรับตอนที่เข็มยังลอยอยู่นะครับ จากนั้นยกตีนผีขึ้นแล้วปัดด้ายล่างไปด้านซ้ายมือของผู้เย็บด้ายบนก็ปัดไปทางขวาจากนั้นนำผ้ามาสอดแล้วดึงด้ายไปทางซ้ายมือเพื่อเราจะเอาตีนผีทับด้ายเอาไว้ครับ ดูรูปประกอบนะครับ

FULL ARTICLE »

การใช้งานจักรแซก Singer287 (2)

28Apr

POSTED BY

การใช้งานจักรซิกแซก Singer287 ตอนที่2นะครับ ตอนนี้ว่าด้วยการใส่เข็มและลองเริ่มต้นเย็บผ้านะครับ ถ้าใครยังไม่ได้อ่านตอนแรกก็สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ —> Singer287(1)

การใส่เข็มจักรซิกแซก singer287

เรื่องสำคัญในการใส่เข็มครับคือเฉพาะรุ่น singer287 อย่าคลายน๊อตล็อกเข็มจุดหลุดนะครับในนั้นมีเหล็กอุ้มเข็มอันเล็กๆลักษณะเป็นเหล็กครึ่งวงกลม ตัวเล็กมากถ้าทำหายจะทำให้เข็มไม่ถูกล็อก ถ้าหายไปล่ะยุ่งเลยไม่รู้ว่าจะทำมาทำไมเหมือนกัน

การใส่เข็มก็เหมือนจักรเก่าหัวดำทั่วไปนะครับ เข็มที่ใช้จะมีก้นแบน1ด้านให้เอาด้านแบนแนบกับเสาเข็ม ถ้าแนบสนิทและถูกต้องการใส่ด้านก็จะใส่ตรงๆจากด้านซ้ายมือไปด้านขวามมือ หรือสังเกตุตรงปลายเข็มจะมีการเว้า ตำแหน่งเว้าก้ควรอยู่ด้านขวามือ

การสอดด้ายเข้าในเข็มจะสอดทางซ้ายมือไปขวามือ
FULL ARTICLE »

การใช้งานจักรแซก Singer287 (1)

25Apr

POSTED BY

จักรเย็บผ้า singer รุ่น 287 เป็นจักรเย็บผ้าเก่า จักรโบราณซิกแซกที่ผลิตในญี่ปุ่น อายุมากกว่า 40 ปี เป็นรุ่นที่สวยงาม ใช้งานง่าย ทนทานแข็งแรงมาก ข้อดีของจักรแซกคือเป็นจักรสารพัดประโยชน์คือจะเย็บตรงก็ได้หรือจะเย็บแซกเก็บขอบผ้างาน Quilts ก็ได้หรือเย็บแซกตรงกระดุมก้ได้ใช้งานได้หลากหลาย แต่ข้อเสียก็มีครับเป็นข้อเสียพวกจักรซิกแซกทั่วไปคือเนื่องจากเป็นจักรซิกแซกเสาเข็มจะโยกได้เวลาเย็บงานชิ้นหนาๆให้ตรงมักจะไม่ตรงเป๊ะๆเหมือนพวกจักรเข็มตรงทั่วไปพวกนั้นเสาเข็มแข็งแรงมาก นอกนั้นก็ใช้งานได้ดีเหล็กดีเย็บหนาและบางได้ดี

Singer-287

เข้าไปอ่านบทความ Singer-287 ได้ที่ link—> –Singer-287–

มาดูการใช้งานจักร Singer – 287 กันครับ

เมื่อได้จักรมาใหม่สิ่งแรกที่ควรทำเลยคือหยอดน้ำมันครับ เอนตัวจักรดูที่ไต้ฐานจักรเหล็กตรงไหนเคลื่อนไหวได้ก็หยอดน้ำมันให้ทั่วครับ เอาไขควงเปิดฝาพาสติกด้านบนก็จะเห็นชินส่วนกลไกด้านบนตรงไหนเป็นเหล็กที่เคลื่อนไหวได้ก็หยอดน้ำมันได้เลยครับแล้วก็ปิดฝาดังเดิม สามารถเปิดหน้ากากด้านหน้าออกก็หยอดน้ำมันได้นะครับ พอใช้ไปนานๆก็คอยเช็คว่าน้ำมันที่เคยหยอดไปแห้งหรือยังถ้าแห้งก็หมั่นหยอดนะครับจะได้ใช้จักรได้นานๆ แล้วก็ก่อนจะเย็บแถวๆเข็มหรือที่ผ้าลากผ่านถ้าเลอะน้ำมันก็เอาผ้าหรือทิชชูมาซับน้ำมันได้นะครับจะได้ไม่เลอะผ้าที่จะเย็บครับ

FULL ARTICLE »

จักรซิกแซก-singer-287

5Jun

POSTED BY

จักรเย็บผ้า singer 287
จักรเย็บผ้า singer รุ่น 287 เป็นจักรเย็บผ้าเก่า จักรโบราณซิกแซกที่ผลิตในญี่ปุ่น อายุมากกว่า 40 ปี สามารถเย็บงานหนาและงานบางได้ดีมาก สามารถหาซื้อได้ง่าย แต่สภาพดีๆหาได้ยากเพราะจักรรุ่นนี้คนนิยมนำมาใช้มากกว่านำมาเก็บ หากใครมีจักรแซกตัวอื่นที่เอาไว้สะสมที่ไม่กล้านำมาใช้แบบสมบุกสมบันสามารถนำจักรรุ่นนี้มาเย็บงานถึกๆแทนได้เลย มีความนิ่มนวลในการเดินผ้าได้ดีเยี่ยม ตามแบบฉบับของญี่ปุ่น เป็นจักรเย็บผ้าซิกแซกของ Singer ที่มีระบบการทำงานแบบกระสวยตั้งรุ่นสุดท้าย (พวกจักรกระสวยตั้งข้อดีคือซ่อมง่ายแถมยังสามารถใช้อะไหล่พวกจักรหัวดำมาใส่ทดแทนได้ทำให้หาอะไหล่ง่าย) ก่อนที่ singer จะเปลี่ยนระบบการทำงานในตัวจักรทั้งหมด มาเป็นระบบกระสวยหงายจนถึงรุ่นปัจจุบัน และเป็นจักรเย็บผ้าซิกแซกรุ่นสุดท้าย ก่อนที่ singer จะย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นไปทำในประเทศบลาซิล สมรรถนะในการทำงานได้ทั้งหนัง ผ้าหนาๆและบาง ผู้ใช้สามารถปรับลดฟันจักรได้เอง จักรรุ่นนี้สามารถปรับลดฟันจักรได้ละเอียด ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ชาวเอเชียที่นิยมใช้ผ้าบาง จักรยุโรบส่วนใหญ่ไม่สามารถลดฟันจักรได้ทำให้เย็บผ้าที่บางไม่ดีเท่าจักรที่ผลิตในเอเชีย ทดสอบโดยการปรับแซกให้กว้างที่สุด 5มิล แล้วเย็บผ้าที่บางมากๆจะพบว่าผ้าจะไม่ย่น และมีระบบการทำงานเป็นแบบกระสวยตั้งเหมือนจักรหัวดำทั่วไปทำให้หาอะไหล่ได้ง่าย

บทความจักรเก่าญี่ปุ่น ——->  Click

ชิ้นส่วนอะไหล่ภายในทำจากเหล็กหากหมั่นหยอดน้ำมันไม่ให้เหล็กสีกันเหล็กแทบจะไม่สึกสามารถใช้ได้ดียันรุ่นลูกรุ่นหลาน จะมีเพียงส่วนกรอบเฟรมที่เป็นพาสติกเพื่อให้มีน้ำหนักเบาและช่วยให้มีความสวยงามเนื้อพาสติกที่นำมาใช้ก็ใช้เนื้อพาสติกแข็งแรงไม่กรอบหรือแตกหักได้ง่าย

เนื่องจากเป็นจักรนิยมในบ้านเรา ทำให้มีอะไหล่จากจักรเก่าๆให้เปลี่ยนเยอะ ปัญหาที่จะพบก็คือหากเย็บหนาไปนานๆน๊อตอาจจะหลวมกลไกจะขยับจากตำแหน่งเดิมได้ (เป็นกับจักรกลไกเหล็กทุกรุ่น) ต้องหมั่นขันน๊อตให้แน่น แต่หากกลไกเลื่อนก็ยังสามารถหาช่างปรับแต่งเครื่อง หรือล้างเครื่องได้

ข้อควรระวัง! อย่าปลดตัวจับเข็ม(อุ้มเข็ม) ออกมาโดยไม่ระวังเด็ดขาดนะครับ เพราะที่ปลายเสาเข็มของจักรเย็บผ้ารุ่นนี้ มีเหล็กครึ่งวงกลม ตัวเล็กมาก เล็กประมาณหัวไม้ขีดไฟ เรียกว่า”ลูกน้ำ” เจ้าลูกน้ำตัวนี้มีน่าที่ล็อคก้นเข็ม หากหายไปจะไม่สามารถล็อคเข็มให้เข้าทีได้

การเย็บรังดุมด้วยจักรเย็บผ้าซิกแซก singer 287 มีดังนี้

1.ปรับตั้งรูปแบบแซกที่ด้านบนหัวจักรมี 5 ระดับเลือกระดับที่ 3 จากซ้ายมือ และปรับระยะห่างซิกแซกด้านข้างจักรให้ถี่หรือประมาณ 0.5 MIN
2.ปักเข็มลงบนชิ้นงานเอาตีนผีลงในลักษณะพร้อมเย็บ
3.เย็บแซกให้ความยาวเลยเม็ดกระดุมประมาณ 0.5 มิล เมื่อหยุดให้เข็มปักชิ้นงานด้านขวามือ
4.กลับด้านผ้าแล้วเย็บซิกแซกมาให้ความยาวเท่ากับซิกแซกอีกด้าน
5.ปรับตั้งรูปแบบแซกเป็นระดับที่ 4 และปรับระยะห่างซิกแซกให้เป็น 0 มิล
6.เย็บปิดหัวและท้าย จากนั้นนำคัตเตอร์มากรีด เป็นอันเสร็จสิ้น

รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่1
รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่2
รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่3

Download Manual Singer 287

—————————

ก่อนจะซื้อจักรมาใช้งานหรือสะสม แนะนำบทความ ของสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม ลองเข้าไปอ่านกันนะครับ

—————————