จักรเย็บผ้า SINGER 15BG158

27Jun

POSTED BY

จักรเย็บผ้า SINGER 15BG158

จักรเย็บผ้า Singer 15BG 158 อะไหล่ทุกชิ้นผลิตจากโรงงาน Singer ในเยอรมัน เนื่องโรงงานถลุงเหล็กกล้าชั้นดีอยู่ที่เยอรมัน หากต้องตั้งโรงงานถลุงเหล็หใหม่ต้องใช้งบประมาณสูงประกอบการแข่งขันสูงทั้งจักรในเยอรมันเองและจักรจากญี่ปุ่น ทำให้บริษัท Singer ไม่ลงทุนตั้งโรงงานใหม่ จึงเน้นส่งขายอะไหล่มาประกอบ ส่วนการประกอบนั้นสามารถประกอบได้หลายที่ มีทั้งประกอบที่อังกฤษ และเอเชีย อายุประมาณ 40 กว่าปี มีความทนทานแข็งแกร่งสูงมาก จักรเย็บผ้ารุ่นนี้เย็บได้ทั้งงานหนาและลดฟันจักรสำหรับผ้าบางๆ หรือหากนำมาเย็บหนังแข็งๆก็ได้สบายมาก เพียงแต่เปลี่ยนขนาดของเข็มให้ใหญ่ขึ้นเท่านั้น โดยไม่ต้องปรับแต่งส่วนใดของจักรเลย จักรเย็บผ้ารุ่นนี้ใช้อะไหล่บางตัวจากจักร Singer model15 จักรรุ่นนี้สามารถเย็บถอยหลังได้ หากเป็นจักรแกร่งที่เรารู้จักกันดีอย่าง Singer 15k80 จะไม่สามารถเย็บถอยหลังได้ต้องกลับผ้าแล้วมาเย็บย้ำ เน้นเลยว่าเมื่อต้องเย็บผ้าแล้วกลับผ้าไม่ได้เพราะติดตีนผี หรือเมื่อเย็บชิ้นงานชิ้นงานใหญ่การกลับผ้าก็จะลำบาก ซึ่งSinger รุ่น 15bg158 จะเย็บถอยหลังได้จึงได้เปรียบกว่าจักร Singer รุ่น 15k80

จักรเย็บผ้า Singer 15BG158 มีข้อดีอีกอย่างคือฝีเข็มจักรเย็บผ้ารุ่นนี้จะมีความยาวกว่าจักรเย็บผ้าทั่วไปโดยไม่ต้องปรับแต่ง เพิ่มความสามารถให้เย็บงานได้ไวขึ้นออกแบบมาสำหรับในกรณีเย็บในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความไว ข้อดีนี้หากนำมาประยุกต์เย็บงานหนังเมื่อหน้าตีนผีดูดหนังแล้วจะทำให้ฝีเข็มถี่มากไม่สวย อาจแก้ใขโดยใช้สก็อตเทปหรือกระดาษมารองขณะเย็บ หากมาใช้จักรเย็บผ้ารุ่นนี้ฝีเข็มก็ไม่ถี่มาก

ประวัติจักรเท่าทีหาข้อมูลมาได้คือจักรSinger 15bg158 เป็นจักร Clone มาจากจักร Singer model 15 ที่เริ่มผลิตในปี 1879 จนถึงปี 1950 จึงหยุดการผลิตและมีการออกแบบสร้างรุ่นใหม่ๆ โดยบริษัท Singer และบริษัทอื่นๆในยี่ห้ออื่นๆ โดยที่ยังใช้เข็มเป็นแบบ Class 15 ซึ่งกลายเป็นมาตฐานที่ใช้ต่อมาคือ เข็ม 15×1

ในช่วงท้ายสงครามโลกญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประกอบกับยุโรปมีการพัฒนาจักรรุ่นใหม่ๆ บริษัท Singer จึงยกต้นแบบจักร Singer Model 15 เพื่อให้ญี่ปุ่นฟื้นฟูเศษกิจขึ้นมา และมีการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จากโรงงาน Singer Model 15 ของโรงงาน Singer ในส่วน part Model 15 ในยุโรปที่เลิกผลิตแล้ว นำมาประกอบเพื่อขายในเอเชียทำให้ชิ้นส่วนเหล็กที่นำมาประกอบล๊อตแรกๆแข็งแกร่งมาก จักรที่นำมาจำหน่ายในล๊อตแรกๆยังคงใช้สิทธิบัตรและจัดจำหน่ายในชื่อ Singer เพราะเป็นชื่อที่นิยมคุ้นหู และต่อมาก็บริษัทญี่ปุ่นก็เริ่มผลิตและพัฒนาจักรให้ดีกว่าเพื่อให้เหมาะกับคนเอเชียในชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นเอง และจักร Singer ที่ผลิตในเอเชียก็ได้กระจายไปประกอบในประเทศต่างๆ

บทความจักรญี่ปุ่น —–> Click

จักร Singer 15BG158 อะไหล่เป็นอะไหล่จาก Model Singer 15 k เหล็กกล้าเกรดดี พัฒนาออกแบบให้สามารถปรับลดระดับฟันจักรสูง ต่ำได้ละเอียด เป็นเอกลักษณ์ของจักรที่จำหน่ายในเอเชีย ทำให้สามารถเย็บผ้าได้หลากหลาย ตั้งแต่ผ้าบางมากๆ จนถึงผ้าหนามากๆได้ดี เนื่องจากเป็นจักรที่นิยมในบ้านเราทำให้มีจักรรุ่นนี้ถูกใช้งานอยู่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ข้อดีก็คือสามารถหาอะไหล่เปลี่ยนหรือมีช่างที่รับซ่อมอยู่ในปัจจุบัน

จักรเย็บผ้า Singer 15BG158 มีทั้งรุ่นประกอบที่ประเทศอังกฤษและประกอบในเอเชีย ส่วนอะไหล่ใช้เหล็กกล้าจากโรงงาน Singer เยอรมันแข็งแกร่งมากๆ ที่ด้านล่าง จะพิมพ์คำว่า”SIMANCO” ซึ่งเป็นตัวย่อของบริษัท Singer Company ทุกชิ้น

ในรุ่น BG ยังมีจักรอีกรุ่นคือ SINGER รุ่น 15BG 168 จากโรงงาน Singer เป็นจักรเย็บผ้าหัวดำธรรมดา ประกอบชิ้นส่วนจากโรงงาน Singer ในเอเชียนำอะไหล่เหล็กกล้าเยอรมันในตัวกลไกหลัก ผสมเหล็กที่หล่อในญี่ปุ่น ทำให้อะไหล่ชิ้นส่วนเหล็กยังเป็นรองรุ่น 15bg158 จักร Singer 15bg168 อายุประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว เป็นจักรที่มีความทนทานพอสมควรเย็บหนาและบางได้ดี แต่ความแข็งแกร็งยังเป็นรองรุ่นที่พี่ของมันคือ รุ่น Singer 15BG 158

ในช่วงปี 1970 หลังจากที่ญี่ปุ่นพัฒนาจักรได้เองแล้ว ก็มีการตั้งโรงงานประกอบจักรในเอเชียทั้งจักรหัวดำและจักรซิกแซก เพื่อจัดจำหน่ายในแถบเอเชีย นอกจากนั้นยังมีโรงงานประกอบที่สามารถหล่อหัวจักรหัวดำได้ ได้รับจ้างผลิตจักรหัวดำในชื่อและยี่ห้อต่างๆอีกมากมายมีทั้งใช้เหล็กกล้าในอะไหล่จักรเพื่อชื่อเสียงและคุณภาพที่ดี รวมถึงยังมีโรงงานที่หล่อจักรเลียนแบบยี่ห้อขายดีโดยลดเกรดเหล็กในการหล่อชิ้นส่วนกลไกจักรในบางยี่ห้อ ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานจักรจากใต้หวันและจีนในช่วงนั้น ทำให้มีจักร Singer ที่เป็นของเลียนแบบที่มีคุณภาพต่ำจำหน่ายปะปนจักร Singer ใครจะซื้อจักรหัวดำรุ่นเก่าก็ควรดูให้ดีก่อนนะครับ

ใช้จักร Singer 15bg158 เย็บสายสะพายกระเป๋าผ้าคอตตอน —> Click

ตัวอย่างงานที่เย็บด้วยจักร Singer 15bg158

มาดูความแข็งแกร่งของจักรตัวนี้กันครับ จักรที่นำมาเย็บงานหนังฟอกฟาดคือ singer 15bg158 เย็บหนังฟอกฟาดส่วนคอหนังซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุดมีความหนา 1.5-2 มิลประกบด้วยกาวเหลืองยิ่งเหนียวแน่นขึ้นไปอีกมาประกบกัน ความหนารวมๆแล้วประมาณ 4 มิล+กาวเหลืองทาประกบกาวเหลืองเมื่อแห้งแล้วเป็นกาวที่เหนียวเข็มทื่อๆนี่แทงไม่ลงกันเลย แต่จักร Singer 15bg158 เย็บได้สบายมาก

ถ้าเป็นจักรจีนที่ส่วนลากฟันไม่แข็งแรงเจอแรงกดของตีนผีที่แต่งให้เหยียบแน่นเป็นพิเศษยุบหรือหักไปแล้วครับ ยิ่งส่วนเสาเข็มออกแบบมาเพื่องานเย็บตรงไม่มีโยกหรือเอียงเวลาแทงเข็มลงบนชิ้นงาน เสาเข็มนี้แข็งแรงมากเหมือนเอาคีมบีบเข็มแล้วแทงลงบนหนังยังไงยังงั้น

มาดูตัวอย่างงานเย็บด้วยผ้าสายสปัน ผ้าคอตตอนสายสปันนี้ ส่วนปลายสายที่มีหนังประกบสองด้าน ตัวสายมีความหนา2.2มิล ประกบด้วยหนังฟอกฟาดหนา 2 มิล 2 ด้านความหนารวมๆ6มิลบวกด้วยกาวเหลืองทาประกบ ก็เย็บได้ง่ายๆ ยิ่งส่วนหัวเข็มขัดของสายใช้ผ้าสปันคอตตอนพับหนา 3 ทบ ความหนา 5 – 6 มิล จักร singer 15bg158 ก็เอาอยู่ ทำให้การเย็บขอบกางเกงยีนส์ที่ว่าแข็งๆดูธรรมดาไปเลย ถ้าจักรไม่แกร่งจริงๆเอาไม่อยู่ครับ

ใครกำลังมองหาจักรเย็บหนังราคาไม่แพงแนะนำตัวนี้เลยครับ ถ้าใครมีจักร Pfaff หรือจักรแกร่งที่เอาไว้สะสมหากต้องมาเย็บงานแบบนี้ถ้าไม่กลัวเสียดายจักรก้หาตัวนี้มาใช้งานได้ครับเป็นจักรที่ใช้งานหรือสะสมก็ดีครับ

Tip..

วิธีหยอดน้ำมันจักรเย็บผ้า (ใช้ได้กับจักรเย็บผ้าทุกรุ่น) ให้ปลดสายพายจักรเย็บผ้าออกถ้ามี แล้วหงายหัวจักรเย็บผ้าไปข้างหน้า อย่าลืมเอามือจับไว้ด้วยนะครับ เพราะบางที่โต็ะจักรเย็บผ้าอาจจะผุ ถ้าไม่จับไว้เดียวจะหล่น ปัดฝุ่นทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นใช้มืออีกข้างหมุนล้อจักรไปมา เพื่อสังเกตุดูว่าชิ้นส่วนของจักรเย็บผ้าด้านล่างตัวใดบ้าง ที่เคลื่อนไหวได้ ก็ให้หยดน้ำมันจักรลงไปในส่วนนั้นเลย เมื่อหยอดด้านล่างเสร็จแล้ว ต่อมาก็ว่างจักรเย็บผ้าลงให้อยู่ในสภาพพร้อมเย็บงานเหมือนเดิม เปิดฝาปิดด้านหลังออก ทำความสะอาดแล้วหมุนล้อจักรเย็บผ้าไปมาเหมือนเดิม สังเกตุดูภายในตัวจักรเย็บผ้าว่ามีส่วนไหนที่เคลื่อนไหว ก็หยอดน้ำมันเข้าไปเช่นเดิม และหยอดเข้าไปตามรูที่บนตัวจักรเย็บผ้าด้วย เทคนิคการหยอดตามรูบนตัวจักรเย็บผ้า ให้ใช้เข็มแทงลงไปให้สุดแล้วค้างไว้ จากนั้นหยอดน้ำมันจักรที่ตัวเข็มที่เราปักไว้ น้ำมันก็จะไหลตามเข็มลงเข้าไในรูโดยง่าย มาถึงขั้นตอนสุดท้าย คือเปิดหน้ากากจักรที่อยู่ส่วนหน้า สังเกตุจะมีน็อคจับอยู่ตัวเดียว ให้คลายน็อตตัวนี้ออกเล็กน้อยก็พอ จากนั้นยกหน้ากากขึ้นเล็กน้อยก็สามารถจะดึงหรือถอดหน้ากากจักรเย็บผ้าออกมาโดยง่าย ทำเช่นเดิม คือ ทำความสะอาดและหยอดน้ำม้นในส่วนที่เคลื่อนไหวได้ นำหน้ากากใส่เข้า เป็นอันเรียบร้อยครับ
ข้อมูลจากช่างตี๋พันธิป

ก่อนจะซื้อจักรมาใช้งานหรือสะสม แนะนำบทความ ของสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม ลองเข้าไปอ่านกันนะครับ

—————————

Comments are closed

Comments are closed.