การใช้งานจักรหัวดำ

10Feb

POSTED BY

ในบทความนี้จะแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานจักรเย็บผ้าเบื้องต้น สำหรับมือใหม่ ตั้งแต่การทำความสะอาด การตั้งค่าจักรเบื้องต้น ไปจนถึงการเย็บพื้นฐานผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดการเย็บชิ้นงานได้ในลำดับต่อไป ในการแนะนำนี้จะใช้จักร Pfaff 50 แต่ผู้เรียนสามารถใช้จักรหัวดำยี่ห้ออื่นได้ซึ่งการใช้งานจะคล้ายๆกันต่างกันแค่การร้อยด้ายใส่เข็ม โดยจักรหัวดำทั่วไปจะร้อยด้ายที่ด้านหน้าตัวจักรส่วนจักร Pfaff 50 นี้จะร้อยด้ายที่ด้านข้าง ฝั่งด้านหน้าผู้ใช้งาน

อ่านบทความจักร Pfaff 30 และ Pfaff 50 ได้ที่ —> LINK
อ่านบทความการเลือกซื้อจักรหัวดำมือสองได้ที่นี่ —> LINK

สิ่งที่ควรทำเมื่อได้จักรหัวดำมาใหม่

เมื่อได้จักรหัวดำมาใหม่ๆ ต้องทำความสะอาดโดยการสามารถทำได้โดย ถอดหน้ากากด้านหน้า ด้านข้าง แล้วหงายหัวจักรขึ้น ใช้แปรงปัดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกออกให้หมด จากนั้นนำน้ำมันจักรมาหยอดทุกจุดของชิ้นส่วนจักรที่เคลื่อนไหวได้ และด้านบนตัวจักรจะมีรูหยอดน้ำมันก็หยอดที่รูด้านบนตัวจักรได้ วิธีการสังเกตุดูว่าชิ้นส่วนไหนควรจะต้องหยอดน้ำมัน ให้หมุนล้อจักรไปมา แล้วสังเกตุดูว่าชิ้นส่วนใดที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ ก็หยอดน้ำมันลงไปในส่วนนั้น หยดจุดละ 1-2 หยดก็พอ เพราะเหล็กไม่มีคุณสมบัติจะ”ซับ”น้ำมันจักรไว้ได้ หยอดมากก็ไหลทิ้งเลอะเทอะเปล่าๆ หยอดเสร็จแล้วก็นำผ้ามาเช็ดให้สะอาด ถ้าบางชิ้นส่วนของจักรเป็นสนิมก็หากระดาษทรายมาขัด แล้วเช็ดให้สะอาดเป็นอันเสร็จ

ติดตั้งมอเตอร์จักรหัวดำ

มอเตอร์จักรเย็บผ้าหัวดำ มีทั้งผลิตในจีนและผลิตในไตหวัน ราคามอเตอร์จักรหัวดำในไต้หวันก็แพงกว่าราคาประมาณ ราคา 650-1000 บ. มอเตอร์จีนอย่างถูกก็มีราคา 350 บ. แต่ไม่แนะนำครับ และถ้ามีมอเตอร์ติดกับจักรมาในตอนซื้อ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ ประหยัดไฟและปลอดภัยกว่าครับ ส่วนมากมอเตอร์เก่าไฟจะรั่ว เพราะฉนวนไฟฟ้าหมดอายุหรือเสื่อม

คลิปการติดตั้งมอเตอร์จักรเย็บผ้าหัวดำ

ใช้ตัวหรี่ไฟเมื่อจักรเย็บเร็วเกินไป

โดยปกติแล้วที่เหยียบมอเตอร์ก็สามารถเหยียบให้ปรับความเร็วความช้าได้ แต่เมื่อเราเผลอเหยียบสุดมอเตอร์จะหมุนเร็วมากจนควบคุมไม่ได้หรือต้องการเหยียบเบาๆแต่ก็ยังเร็วอยู่ดี หากไม่ต้องการให้จักรเย็บเร็วเกินไปสามารถใช้ตัวหรี่ไฟควมคุมความเร็วมอเตอร์ปรับให้ช้าหรือเร็วตามความต้องการได้ เพียงแค่ ระวังการใช้งาน อย่าหรี่ไฟจนมอเตอร์หมุนช้ามากๆ หรือหรี่จนมอเตอร์หยุด ถ้าจะปิดก็ปิดที่สวิทช์ อย่าปิดที่ปุ่มหรี่ครับ

ชุดต่อมอเตอร์และตัวหรี่ไฟ

กรอด้ายเข้ากระสวย

การร้อยด้ายเพื่อกรอด้ายเข้ากระสวย

การเย็บเบื้องต้นนี้เราจะใช้ด้ายสีดำกรอเข้ากระสวยวิธีการร้อยด้ายสำหรับจักร Pfaff 50 ตามรูปเลยครับส่วนจักรหัวดำทั่วไป สามารถเอาไปเกี่ยวร่องที่ขอบบนของหน้ากากจักรแล้วก็มาตามรูปจักร Pfaff50 ได้เลยครับ ก่อนจะเอาด้ายไปพันกระสวยลองกดยางหมุนกระสวยไปติดกับล้อจักรแล้วหมุนกงล้อเข้าหาตัวเพื่อดูการหมุนของกระสวยจักรก่อน จากนั้นก็พันหลายๆรอบด้ายตามทิศทางการหมุนของกระสวยจักรได้เลยครับ แล้วก้เหยียบมอเตอร์จนกระสวยด้ายเต็มครับ

ปรับความตึงด้าย

จุดนี้สำคัญมากเพราะหากปรับไม่ดีก็จะทำให้ด้ายเป็นถั่วงอกบนหรือล่างได้หรือถ้าปรับแน่นเกินไปก็ทำให้ด้ายขาดได้ การปรับจุดนี้ขึ้นอยู่กับจักรที่ใช้งานด้วยถ้าเป็นจักรที่มีจุดเด่นเรื่องเย็บหนาหรือจักรที่มีจุดเด่นเรื่องเย็บบางการปรับก็ต่างกัน

รูปกระสวยด้านขวามือและถ้วยกระสวยด้านซ้ายมือ

การเอาด้ายเข้าถ้วยกระสวยใส่แบบไหนทางไหนก็ได้ แต่แบบที่นิยมคือจับกระสวยด้ายให้ด้ายอยู่ด้านบนแล้วสอดเข้าตามร่องด้ายของถ้วยกระสวยดึงมาจนถึงรูกลางกระสวย

รูปเมื่อเอากระสวยด้ายเข้าถ้วยกระสวย

จากรูปด้านบนเมื่อเอาด้ายเข้าถ้วยกระสวยแล้วถ้าเป็นจักรหัวดำทั่วไปก็ตั้งความหนืดของด้าย ให้มีความหนืดเล็กน้อย คือ ไม่หนืดจนมากไป หรือ หลวมจนเกินไป ตั้งให้หนืดนิดเดียวพอ โดยปรับตั้งที่ น็อตตัวเล็กๆที่ติดอยู่ด้านข้าง ของถ้วยกระสวย แต่จักรยุโรปบางยี่ห้อต้องตั้งให้ความหนืดของด้ายให้มีความหนืดมากหน่อยเพราะชุดปรับด้ายด้านบนไม่สามารถหมุนให้หลวมได้หมายความว่าเมื่อคลายน๊อตจนหมดก็ยังมีความหนืดด้ายเยอะอยู่ อันนี้ขึ้นอยู่กับจักรที่ใช้งานการปรับสามารถยืดหยุดตามแต่ลักษณะงานได้หากว่าแน่นไปก็คลายให้หลวมได้หากหลวมไปก็ปรับให้แน่นได้


 ชุดปรับความหนืดด้ายด้านบนของหัวจักร
เมื่อปรับความหนืดถ้วยกระสวยแล้วก้นำมาใส่ด้านล่างตามรูป

การใส่เข็ม

เข็มจักรหัวดำให้สังเกตุก้นเข็มจะมีด้านแบบ1ด้านเสมอ ให้จับเข็มโดยเอาด้านแบบอยู่ทางขวามือแล้วคลายน๊อตล๊อกเข็มจากนั้นเอาเข็มใส่โดยด้านแบนของเข็มต้องชิดติดเสาเข็มเสมอดันเข็มไปให้สุดแล้วขันน็อตล็อกเข็มให้แน่น

การร้อยด้ายให้พร้อมเย็บ

การร้อยด้ายจักรแต่ล่ะตัวก็มีวิธีการร้อยด้ายต่างกันแต่จะไม่หนีกันมากหลักๆคือ
– ด้ายต้องผ่านจานหนีบด้ายเพื่อให้ด้ายหนืด
– ต่อมาด้ายต้องผ่านสปริงกระตุกด้ายก่อนจะไปที่คันกระตุกด้าย
– ต่อมาด้ายต้องผ่านคันกระตุกด้ายและร่องนำทางด้ายก่อนเข้าเข็ม

ฝึกเย็บด้วยกระดาษ

หากเรายังเย็บผ้าไม่เก่งหรือเพิ่งฝึกหัดเย็บ สามารถซ้อมการเย็บซ้อมความเร็วจักรหรือซ้อมเย็บให้ตรงเส้น การซ้อมเย็บให้ตรงเส้น ทั้งเส้นตรงและเส้นโค้ง โดยใช้กระดาาหนังสือพิมพืเก่าหรือกระดาษ A4 ใช้แล้วมาทดลองเย็บได้ครับ
-ฝึกเย็บให้ตรงเส้นตรง
-ฝึกหยุดในตำแหน่งที่ต้องการ
-ฝึกเย็บเส้นโค้ง

การร้อยด้ายเข้าเข็ม

เมื่อมั่นใจในการเย็บแล้ว ต้องการเย็บผ้าจริงๆ ก็เริ่มจากการร้อยด้าย การร้อยด้ายเข้าเข็มต้องมีตัวช่วยเป็นที่ร้อยด้ายไม่ต้องมานั่งเล็ง ลักษณะเป็นโลหะแผ่นบางๆ มีก้านลวดเส้นเล็กๆ งอเป็นวงรี ไว้สนเข็มเกาะเกี่ยวเส้นด้าย วิธีใช่ก็ง่ายแค่สอดปลายที่ร้อยเข้ารูเข็มเอาปลายด้ายมาสอดแล้วดึง

เมื่อร้อยด้ายด้านบนหัวจักรถูกต้องและใส่เข็มให้อยู่ในลักษณะพร้อมใช้งานแล้ว จากนั้นนำผ้ามาทดลองเย็บดู หากฝีเข็มที่เย็บชิ้นงานออกมา “ด้านล่าง” ไม่สวยหรือเป็น ถั่วงอก ก็ให้หมุนหรือปรับ ชุดปรับด้ายด้านบนของหัวจักร “หมุนเข้า หรือ หมุนตามเข็มนาฬิกา” ปรับที่ละน้อยแล้วลองเย็บดู ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าฝีเข็มด้านล่างจะสวย หากชุดปรับด้ายของจักรที่ใช้อยู่ เป็นแบบตัวเลข ก็เพียงปรับตัวเลขให้ “มากขึ้น” หรือถ้าชุดปรับด้ายของจักรที่ใช้อยู่ เป็นเครื่องหมาย บวก หรือ ลบ ก็ให้หมุนหรือปรับเพิ่มไปทาง “เครื่องหมาย บวก” ก็ใช้ได้เช่นกัน

ปรับน้ำหนักตีนผี

ก่อนจะเริ่มเย็บต้องปรับน้ำหนักตีนผีให้เหมาะกับชนิดผ้า ผ้าหนาก็ปรับให้กดผ้าแน่นๆผ้าบางก็ปรับให้กดผ้าเบาๆ หรือสามารถปรับให้น้ำหนักปานกลางได้ การปรับนี้สามารถยืดหยุ่นได้ตามที่พอใจ

ปรับฟันจักร

อันนี้เป็นข้อดีของจักรเย็บผ้าหัวดำ จักรบางรุ่นสามารถปรับความสูงของฟันจักรให้เหมาะกับการใช้งานได้เช่น ผ้าบางมักจะใช้ฟันจักรไม่สูงมาก ผ้าหนาๆต้องใช้ฟันจักสูงๆ ถ้าผ้าหนามากก็ปรับแต่งฟันหรือเปลี่ยนฟันจักรให้เหมาะกับการเย็บผ้าหนาๆได้อีก จักร Pfaff 50 สามารถปรับฟันจักรได้ 3 ระดับ ซ้ายสุดหลบฟัน สำหรับงานปักผ้า ตำแหน่งกลางโผล่ฟันจักรมานิดเดียวและเมื่อปรับไปขวาสุดก็เป็นการโผล่ฟันจักรให้สูง

รูปการปรับฟันจักรของจักร Pfaff 50

ดึงด้ายล่างขึ้นมา

เมื่อเราเปลี่ยนกระสวยกรอด้ายหรือเมื่อด้ายที่กระสวยกรอด้ายไม่โผล่ขึ้นมาต้องเอาเข็มไปดึงด้ายด้านล่างขึ้นมา วิธีทำคือ ใช้มือซ้ายจับด้ายไว้ มือขวาหมุนกงล้อจักรเข้าหาตัวเพื่อให้เข็มลงไปด้านล่างหมุนไปเรื่อยๆจนเข็มโผล่ขึ้นมาก็จะได้ด้ายด้านล่างโผล่ขึ้นมาด้วย

การเย็บผ้าเบื้องต้น

วิธีการเย็บผ้าคือ
– ยกตีนผีขึ้น ในจังหวะเข็มขึ้นหมุนล้อจักรเข้าหาตัวเพื่อปักเข็มลงบนผ้า
– เอาด้ายที่เหลือจากเข็มปัดไปด้านข้าง แล้วเอาตีนผีลงทับด้ายไว้
-ลองหมุนล้อจักรเข้าหาตัวเพื่อให้เข็มปักบนผ้าซัก3-4ฝีเข็มจากนั้นก็เหยียบให้มอเตอร์หมุนเพื่อเย็บผ้า
-เอาผ้ามาดูว่าการมัดด้ายแน่นไหมเป็นถั่วงอกไหม

หากฝีเข็มที่เย็บชิ้นงานออกมา “ด้านล่าง” ไม่สวยหรือเป็น ถั่วงอก ก็ให้หมุนหรือปรับ ชุดปรับด้ายด้านบนของหัวจักร “หมุนเข้า หรือ หมุนตามเข็มนาฬิกา” ปรับที่ละน้อยแล้วลองเย็บดู ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าฝีเข็มด้านล่างจะสวย หากชุดปรับด้ายของจักรที่ใช้อยู่ เป็นแบบตัวเลข ก็เพียงปรับตัวเลขให้ “มากขึ้น” หรือถ้าชุดปรับด้ายของจักรที่ใช้อยู่ เป็นเครื่องหมาย บวก หรือ ลบ ก็ให้หมุนหรือปรับเพิ่มไปทาง “เครื่องหมาย บวก” ก็ใช้ได้เช่นกัน

หากฝีเข็มที่เย็บชิ้นงานออกมา “ด้านบน” ไม่สวยหรือเป็น ถั่วงอก ก็ให้หมุนหรือปรับ ชุดปรับด้ายด้านบนของหัวจักร “คลายออก หรือ หมุนท้วนเข็มนาฬิกา” ปรับที่ละน้อยแล้วลองเย็บดู ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าฝีเข็มด้านบนจะสวย หากชุดปรับด้ายของจักรที่ใช้อยู่ เป็นแบบตัวเลข ก็เพียงปรับตัวเลขให้ “น้อยลง” หรือถ้าชุดปรับของจักรที่ใช้อยู่ เป็นเครื่องหมาย บวก หรือ ลบ ก็ให้หมุนหรือปรับลดไปทาง “เครื่องหมาย ลบ” ก็ใช้ได้เช่นกัน

หากปรับแต่ด้านบนอย่างเดียวยังไม่เป็นที่น่าพอใจก็ปรับด้านล่างที่ถ้วยกระสวยได้ครับ อาจต้องใช้ประสบกราณ์ในการปรับแน่นไปด้ายก็ขาดหลวมไปก็เป็นถั่วงอก ลองปรับๆดูครับ

RELATED STORIES:

Comments are closed

Comments are closed.