จักรเย็บผ้าเก่า เอเชีย

1Jun

POSTED BY

ในช่วงท้ายสงครามโลกญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประกอบกับยุโรปมีการพัฒนาจักรรุ่นใหม่ๆ บริษัท Singer จึงยกต้นแบบจักร Singer Model 15 เพื่อให้ญี่ปุ่นฟื้นฟูเศษกิจขึ้นมา ช่วงล๊อตแรกๆของการผลิตมีการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จากโรงงาน Singer Model 15 ของโรงงาน Singer ในยุโรปที่เลิกผลิตแล้ว นำมาประกอบเพื่อขายในเอเชียทำให้ชิ้นส่วนเหล็กที่นำมาประกอบล๊อตแรกๆแข็งแกร่งมาก จักรที่นำมาจำหน่ายในล๊อตแรกๆยังคงใช้สิทธิบัตรและจัดจำหน่ายในชื่อ Singer เพราะเป็นชื่อที่นิยมคุ้นหู และต่อมาก็บริษัทญี่ปุ่นก็พัฒนาทางด้านวิศวกรรมและเริ่มผลิตและพัฒนาจักรให้ดีกว่าเดิม เช่นเย็บผ้าบางได้ดี เย็บได้นิ่มนวล และสร้างจักรที่สามารถไปแข่งกับจักรยุโรปได้ในชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นเอง

บทความจักรเก่าญี่ปุ่น ——–> Click

จักรเย็บผ้า LION ,PHILLIPS

เริ่มด้วยจักรเย็บผ้า LION ,PHILLIPS ฯลฯ ผลิตจากโรงงาน LION ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นจักรเย็บผ้าที่ออกแบบมาเพื่อชาวเอเชียมีความแข็งแกร่งทนทานมากรุ่นหนึ่ง เพราะใช้เกรดเหล็กชั้นดีมาทำอะไหล่และตัวจักรเย็บผ้า สามารถเย็บผ้าที่มีความหนาหรือผ้าที่บางได้ดีเช่นกัน เพราะผลิตในเอเซีย คนเอเซียด้วยกันจึงทราบดีว่า เสื้อผ้าที่่นิยมใช้ในในแถบบ้านเรามีแบบใดบ้างโดยเฉพาะสามารถเย็บผ้าบางมากได้โดยผ้าไม่ย่น และอีกอย่างเทคโนโลยีของญี่ปุ่นในสมัยนั้นออกแบบจักรเย็บได้เงียบเย็บนิ่มมากๆ เมื่อทำจักรออกมาได้ดีแล้วจึงออกจักรมาหลายรุ่นและนำไปขายสู้จักร Europe ในชื่อ VICTORY

จักรเย็บผ้ายี่ห้อ RICCAR

ต่อมาจักรเย็บผ้ายี่ห้อ RICCAR ดั้งเดิมเลย ผลิตใน ญี่ปุ่น อายุประมาณ 40 กว่าปี แต่ที่นำเข้ามาขายในเมืองไทย เป็นจักรเย็บผ้าที่ผลิตจากโรงงานจาโนเม่ใน ใต้หวัน มีทั่ง จักรเย็บผ้าหัวดำธรรมดา และ จักรเย็บผ้าซิกแซก ส่วนที่เป็น จักรเย็บผ้ากระเป๋าหิ้ว ผลิตจากโรงงานไลอ้อนใน ญี่ปุ่น เป็นจักรเย็บผ้าที่ดีมาก เสียด้ายที่มีราคาสูงมากในสมัยนั้น จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในบ้านเรา จักรเย็บผ้า RICCAR ที่ผลิตในใต้หวัน มีความทนทานมาก สามารถเย็บผ้าหนาๆ หรือ หนังสัตว์แท้ๆ ได้สบายมาก ข้อเสียมีเพียงอย่างเดียว คือ เสียงอาจดังเล็กน้อย เพราะทุกชิ้นส่วนของจักรเย็บผ้านี้ทำจากโลหะทั้งหมด เวลาเดินเครื่องจึงมีเสียงดังบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของโลหะกระทบกัน นำเข้ามาจำหน่ายโดย บ.NEW LION อยู่แถวหัวลำโพง ปัจจุบันปิดทำการไปนานแล้ว

จักรเย็บผ้า ยี่ห้อ เบนซ์ (BENZ),NEW LION, B.M.W., SUPPER STAR, RALAEY อื่นๆ

ถัดมาจักรเย็บผ้า ยี่ห้อ เบนซ์ (BENZ) อายุประมาณ 30 กว่าปี เดิมทีผลิตที่ ญี่ปุ่น โรงงาน ไลออนส์ (LION) หรือที่ช่างเย็บผ้ารุ่นเก่าทั่วไปเรียกกันติดปากว่า “ตราสิงห์โต” แต่ต่อมาย้ายฐานการผลิตมาที่ โรงงาน JANOME ในใต้หวัน ด้วยเหตุค่าแรงของคนงานที่ญี่ปุ่นสูงขี้นมาก ประกอบกับบริษัทจาโนเม่ได้ย้ายจากญี่ปุ่นมาเปิดโรงงานผลิตจักรเย็บผ้าใหม่ที่ใต้หวัน พ่อค้าจักรเย็บผ้าเลยตามมาจ้างโรงงานนี้ตีตรา เพราะราคาต้นทุนต่ำกว่ามาก และก็มีความทนทานเกือบพอๆกัน หากแต่มีความนุ่มนวลต่างกันเท่านั้น เรื่องยี่ห้อจักรเย็บผ้าที่มีอยู่มากมาย ไม่ต่ำกว่าร้อยยี่ห้อ เกิดมาจากพ่อค้าที่จำหน่ายจักรเย็บผ้าตั้งขึ้นมาเองเกือบทั้งนั้น เพราะหากนำยี่ห้อ”จาโนเม่” หรือ”ไลอ้อนส์ “มาขายก็ไม่สามารถลดราคาขายได้เท่ากับตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ ด้วยประสบการณ์ที่มีความชำนาญในการซ่อมจักรเย็บผ้าหรือดูออกว่าจักรเย็บผ้าที่ผลิตจากโรงงานใดมีคุณภาพที่ไว้ใจได้ ก็จะสั่งตีป้ายหรือลายน้ำทองเป็นยี่ห้อของตนเอง โดยจ่ายเพิ่มจากทุนเดิมเล็กน้อย ไม่ต้องลงทุนก่อตั้งโรงงานเอง และบางยี่ห้อก็สามารถขายได้ราคาสูงกว่าและติดตลาดมากกว่า ยี่ห้อของโรงงานที่ผลิตด้วยซ้ำ เช่น BENZ, NEW LION, B.M.W., SUPPER STAR, RALAEY ฯลฯ มากมายจนจำแทบไม่ได้ และบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง SINGER ก็ทำอย่างนี้เช่นกัน เพราะเจ็บปวดกับเหตุการณ์ที่ โดนปรับทั่วโลกเพราะคนงานที่โรงงานของซิงเกอร์เองที่อังกฤษ สไตร์ของขึ้นค่าแรง ทำให้ไม่สามารถส่งของได้ตามกำหนด ตั้งแต่นั้นมา จักรเย็บผ้า ยี่ห้อ SINGER ก็จ้างเขาผลิตไปทั่ว เช่น ญี่ปุ่น,บราซิล และ จีนแดง เท่าที่จำได้ในเอซียครับ

ในส่วนจักรเย็บผ้าเก่าทุกรุ่นหากต้องการอัพเกรดให้เย็บชิ้นงานหนาๆ ขึ้นไปกว่าเดิม ก็เพียง ซื้อ แป้นครอบฟัน 3 ล่อง และ ฟัน 3 ล่อง มาเปลี่ยนใส่แทนของเดิม และหมุน น็อตตั้งน้ำหนักตีนผี ที่อยู่ด้านบนสุด ซ้ายมือเรา ลงไปสัก 2-3 รอบและเปลี่ยนขนาดของเข็มให้ใหญ่ขึ้นเท่านั้น

>>หากมีโอกาสลองหาจักรญี่ปุ่นจักรไต้หวันรุ่นที่กล่าวมาลองใช้ดูนะครับ เย็บนิ่มเงียบกว่าจักรเอเชียที่ประกอบยุคแรกๆ เช่น SINGER 15BG158 อีกครับ<<
รวบรวมข้อมูลจาก internet และ ช่างตี๋ในพันธิป

รวมรูปจักรเย็บผ้าเก่า

source: รูปภาพต่างๆจาก internet 

—————————

ก่อนจะซื้อจักรมาใช้งานหรือสะสม แนะนำบทความ ของสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม ลองเข้าไปอ่านกันนะครับ

—————————

RELATED STORIES:

Comments are closed

Comments are closed.