Tag: มอเตอร์จักรเย็บผ้า

เลือกมอเตอร์จักรเย็บผ้าเล็ก

7Feb

POSTED BY

เคยสงสัยไหมว่ามอเตอร์จักรเย็บผ้าจากยุโรปและมอเตอร์จักรเย็บผ้าจากจีนหรือไต้หวันต่างกันยังไง มอเตอร์จักรเย็บผ้าจากยุโรปรุ่นเก่าๆราคาแพงๆดีจริงหรือมอเตอร์จากไต้หวันคุณภาพเป็นอย่างไร รวมถึงเราจะมาหาวิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานมอเตอร์กันนะครับ

รูปมอเตอร์ไต้หวันยี่ห้อ Olymsia 120w

ว่าด้วยเรื่องคุณภาพ

มอเตอร์จักรเย็บผ้าราคาจะถูกหรือแพงอยู่ที่ กำลังวัตต์ ความเร็วและคุณภาพ นะครับ อันที่แพงหน่อยก็เป็นมอเตอร์นำเข้ามาจากต่างประเทศ ดีหน่อยก็เป็นมอเตอร์จากไต้หวัน อันล่างสุดก็เป็นมอเตอร์จากจีน และราคาก็ขึ้นอยู่กับวัตต์ที่ใช้ด้วยยิ่งวัตต์เยอะก็ยิ่งแพง วัตต์ต่ำๆราคาจะไม่แพง มอเตอร์จักรราคาแพงก็จะใช้แบบไม่มีปัญหาจุกจิ๊ก ส่วนเรื่องตัวมอเตอร์จะเสียหรือพังก็ไม่เสียกันง่ายๆนะครับไม่ว่าจะถูกหรือแพง แต่รุ่นถูกจะมีปัญหาจุ๊กจิกในระหว่างการใช้งานเช่นที่เหยียบค้าง มอเตอร์ไม่หมุน คางที่ความเร็วรอบต่ำ และมีปัญหาเรื่องไฟฟ้ารั่ว เรื่องไฟฟ้ารั่วไม่ว่าจะมีระบบเซฟตี้ดีแค่ไหนก็มีโอกาสเจอด้วยกันได้หมดไม่ว่ามอเตอร์จักรจะถูกหรือแพง หัวข้อถัดไปมาดูคุณภาพและวิธีป้องกันไฟฟ้ารั่วเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกันนะครับ

เริ่มจากปลั๊กเสียบ

มอเตอร์จากยุโรปถ้าปลั๊กเสียบเป็นแบบในรูปเมื่อแกะฝาออกจะพบฟิวส์ในตัวเสียบ ฟิวส์ถือว่าเป็นอุปกรณ์เซฟตี้อย่างหนึ่ง หน้าที่ของฟิวส์คือตัดไฟก่อนที่สายไฟจะร้อนจนไหม้และช่วยป้องกันกระแสเกิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าเยอะเกินที่สายไฟจะรับไหว กระแสในสายสูงสายไฟจะร้อนมาก ร้อนขนาดที่ทำให้ไฟไหม้สายไฟฟ้าได้ แต่ถ้ามีฟิวส์เมื่อเกิดความร้อนขึ้นในสายฟิวส์จะละลายเพื่อตัดวงจรไฟฟ้า

ส่วนมอเตอร์จากจีนหรือไต้หวันหรือปลั๊กเสียบทั่วๆไปอาจจะไม่มีฟิวส์ที่ปลั๊กตัวเสียบเพื่อป้องกัน แต่ก็สามารถใช้เต้าเสียบยี่ห้อดีๆที่มีฟิวส์ในเต้าเสียบนำมาใช้ทดแทนได้ครับ ฟิวส์จะอยู่ที่จุดใดก็ได้นะครับ เพราะต้องมองเป็นวงจรไฟฟ้าที่มีโหลดครับ

เท้าเหยียบมอเตอร์

หน้าที่ของเท้าเหยียบมอเตอร์จักรคือเป็นเหมือนสวิทช์คอยเปิดปิดมอเตอร์แต่เป็นแบบสวิทช์คาร์บอนคือจะมีแท่งคาร์บอนเล็กๆซ้อนๆกันไว้เป็นตัวต้านทานกระแสไฟฟ้า ช่วยลดกระแสไฟที่จะเข้ามอเตอร์ ทำให้มอเตอร์มีสปีดที่ช้าและเร็ว หากไม่มีตัวต้านทานนี้แล้วให้วงจรต่อตรงหรือเมื่อเหยียบสุดวงจรในเท้าเหยียบก็จะต่อตรงกระแสวิ่งเข้ามอเตอร์เต็มๆ เป็นความเร็วสูงสุดของมอเตอร์

แต่ที่เท้าเหยียบมอเตอร์จักรเย็บผ้าจากยุโรปตัวเหยียบจะทำด้วยพาสติกอย่างดี พาสติกที่เฟรมเท้าเหยียบถือว่าเป็นอุปกรณ์เซฟตี้อย่างหนึ่ง พาสติกนี่ถือเป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้ารั่ว มันดียังไง ดีตรงที่เมื่อยางที่หุ้มสายไฟเปื่อยหรือแตกหรือฉีกขาดแล้วสายไฟทองแดงเกิดมาแตะที่ตัวเหยียบมอเตอร์จักรเย็บผ้าที่เป็นพาสติกไฟฟ้าก็ไม่ช๊อตเราแต่เมื่อเป็นเท้าเหยียบที่ทำจากเหล็กเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วจะทำให้ไฟช๊อตได้ แต่… ต่อให้ใช้เท้าเหยียบอย่างดีแล้วคุณก็มีโอกาสถูกไฟดูดจากการสัมผัสเหล็กที่ตัวจักร ขั้วปลั๊กไฟเก่า หรือสายไฟที่เสื่อมได้

เมื่อคุณถูกไฟฟ้าซ๊อตอาการคือวูบไปแบบไม่รู้ตัวเหมือนหลับหรือเป็นลมคือไม่ได้สติ หากโชคดีไฟฟ้าซ๊อตแล้วดีดตัวตามสัญชาตญาณออกมาได้เมื่อได้สติแล้วจะรู้สึกเหมือนเพิ่งตื่นนอนใหม่ๆจากนั้นความทรงจำก็จะเริ่มกลับมาแล้วจะนึกได้ว่า อ่อเพิ่งโดนไฟฟ้าดูด

เท้าเหยียบของมอเตอร์จีนหรือไต้หวันส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กก็ถือว่ามีความเสี่ยง แต่มอเตอร์จักรเย็บผ้าแบบไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยง เมื่อคุณเสียบปลั๊กแล้วสายไฟฟ้าที่มียางฉนวนติดพันกับโต๊ะเหล็ก หรือตัวมอเตอร์ที่ติดกับจักรที่เป็นเหล็ก หากจุดดังกล่าวมีไฟรั่วแล้วคุณสัมผัสก็ทำให้เกิดไฟดูดได้ ยิ่งเป็นจักรเย็บผ้าโอกาสสัมผัสเหล็กจากไฟรั่วที่มอเตอร์ที่สัมผัสจักร เท้าเหยียบมอเตอร์ จากโต๊ะขาเหล็กหรือเดินเหยียบสายไฟก็ได้

วิธีแก้คือให้ใช้พรมผ้า พื้นยาง หรือลังกระดาษ รองที่พื้นให้เป็นบริเวณกว้างๆ หรือให้ใส่รองเท้าขณะเย็บผ้าก็ได่ ข้อสำคัญคือห้ามให้มีส่วนใดของร่างกายติดพื้นปูน หรือผนังปูน ในขณะที่เย็บผ้า มันช่วยได้ยังไง? เมื่อไฟฟ้ารั่วที่ขาเหล็ก เท้าเหยียบมอเตอร์ แล้วเรามีพื้นยาง พรมหรือลังกระดาษเราจะรู้สึกแค่เหมือนมีอะไรมาแตะๆทำให้รู้สึกแสบนิดหน่อย เมื่อเรารู้ตัวว่าไฟฟ้ารั่วก็ไปดึงปลั๊กออกแล้วก็เรียกช่างมาซ่อมแต่ถ้าเราไม่มี พรม พื้นยาง ลังกระดาษหรือรองเท้า ก็อาจจะเสียชีวิตได้ จึงควรปูลังกระดาษ ผ้าพรม พื้นยาง รองไว้ หรือใส่รองเท้าขณะเย็บผ้านะครับ เพราะเรามีโอกาสสัมผัสเหล็กที่ตัวจักรได้ทั้งหมด แม้กระทั้งการเปลี่ยนเข็มขณะที่มีไฟฟ้ารั่วก็มีโอกาสถูกไฟฟ้าดูดได้

อุปกรณ์เซฟตี้ในมอเตอร์หลักๆน่าจะเป็นกล่องเท้าเหยียบมอเตอร์ที่เป็นแบบพาสติก หรือฉนวนอื่นๆ อุปกรณ์เซฟตี้ก็ประมาณนี้ครับ อาจจะมีฟิวส์ป้องกันสายไหม้ ป้องกันมอเตอร์ไหม้ หรือ อาจจะมีคาปาซิเตอร์ซักตัวสองตัว ที่ช่วยป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่มากเกินเข้าไปที่ inductor หรือขดลวดมอเตอร์ (inductor คือ ตัวเหนี่ยวนำเป็นเส้นลวดตัวนำจำพวกทองแดงขดลวดเป็นวงเรียงกันหลายๆ รอบในมอเตอร์ทั่วๆไป) แต่ปล๊กเสียบสมัยใหม่ที่วางขายทั่วไปก็ป้องกันกระแสเกินและไฟกระชากแล้วครับ

มารู้จักกำลังวัตต์ของมอเตอร์จักรขนาดเล็ก

มอเตอร์กำลังวัตต์สูงก็จะให้ความเร็วรอบสูงแต่บางครั้งมอเตอร์วัตต์สูงอาจจะไม่เฉพาะให้ความเร็วรอบสูงเท่านั้น แต่ตอนมีโหลดหรือตอนต่อเข้าตัวจักรแล้วต้องฉุดกระชากผ้า จะได้ค่าแรงบิดหรือทอร์คที่มากกว่า หมายความว่า ถ้ามอเตอร์บอกว่าสามารถวิ่งได้ 5500 รอบนั่น ไม่ได้บอกว่ามอเตอร์ตัวนั้นมีแรงฉุดสูง แต่หมายถึงวิ่งเปล่าๆไม่ได้ต่อสายพานเข้าตัวจักรได้ 5500 รอบ ภาษาช่างเรียกว่าความเร็วรอบตอนไม่มีโหลด ถ้ามีโหลดรอบก็จะตกลง ส่วนแรงฉุดก็ต้องไปดูกำลังวัตต์อีกที

กำลังวัตต์สำคัญในมอเตอร์มาก ถ้าวัตต์เยอะรอบก็จะสูง และจะช่วยได้ดีตอนมีโหลดหรือต่อเข้าตัวจักรแล้วไปเย็บผ้าหนาๆหรืองานหนัง จังหวะที่ต้องแทงเข็มในชิ้นงานหนา ก็จะทำให้มอเตอร์ต้องใช้กำลังฉุดมาก พวกวัตต์สูงๆจะได้เปรียบจะมีกำลังมากกว่า ต่อให้วิ่งรอบต่ำก็ยังมีกำลังอยู่ ถ้าไม่ต่ำมากๆก็ไม่คาง มีแรงฉุดสูง แต่ถ้ากำลังวัตต์น้อยเมื่อเหยียบรอบต่ำทำให้จักรไม่มีแรงจะคาง มอเตอร์ไม่หมุนแล้วก็จะไหม้ในที่สุด การออกแบบมอเตอร์ที่กำลังวัตต์น้อยๆจะใช้สิ่งที่เรียกว่าคาปาซิเตอร์มาช่วย

เพราะฉะนั้นการเลือกมอเตอร์ก็อยู่ที่การใช้งานถ้างานที่จะเย็บเป็นผ้าทั่วๆไปใช้แรงฉุดกระชากไม่มากเช่นการเย็บผ้าทั่วไปไม่หนามาก ก็สามารถใช้มอเตอร์ความเร็วรอบสูงวัตต์น้อยๆได้ครับ และหากต้องการให้มอเตอร์วัตต์น้อยๆเย็บช้าๆก็อาจต้องมีตัวช่วยอย่าง คาปาซิเตอร์ ซึ่งการออกแบบตำแหน่งที่ติดตั้งคาปาซิเตอร์ในมอเตอร์จักรเย็บผ้า มีทั้งที่เท้าเยียบมอเตอร์ บางรุ่นก็มีสองตัวคือที่เท้าเหยียบและที่ตัวมอเตอร์ แต่จะเห็นบ่อยๆที่เท้าเหยียบมอเตอร์ครับ

Note…กำลังวัตต์เยอะมีกำลังเยอะแถมยังกินไฟเยอะอีกด้วย

คาปาซิเตอร์ในเท้าเหยียบ

FULL ARTICLE »