จักรเย็บผ้า PFAFF 30 – PFAFF 50

1Jun

POSTED BY

จักรเย็บผ้าตรง PFAFF

ประวัติจักรเย็บผ้า Pfaff

ผู้สร้างจักร Pfaff คือ Georg Michael Pfaff. G M Pfaff เป็นวิศวกรมีความสามารถซ่อมเครื่องมือกลทุกประเภทจนผันตัวเองมาทำจักรเย็บผ้า แต่ดังเดิมนั้น G M Pfaff นั้นหลงใหลในเครื่องดนตรี เขาผลิตเครื่องดนตรีไปประกวดและชนะการประกวดที่ Mannheim ในปี 1835 ในขณะที่เขาหมกหมุ่นกับการสร้างเครื่องดนตรีเขาได้ซื้อจักรมาเย็บหนังสำหรับทำกระเป๋าเครื่องดนตรีในขณะที่ทำกระเป๋าหนัง เขาศึกษาดูระบบการทำงานของจักรเย็บมาที่ซื้อมาและรู้สึกหลงใหมมันด้วยความที่เขามีความสามารถในการซ่อมเครื่องกล เขาจึงสร้างจักรเย็บผ้าเลียนแบบจักรเย็บผ้ายี่ห้อดังในขณะนั้นได้แก่ยี่ห้อ Howe และ Singer เขาได้สร้างจักรเย็บผ้าขึ้นมาโดยทดลองหล่อเหล็กและพบว่ามันทำงานได้ไม่ต่างจากยี่ห้อดังๆ เขามองการเติบโตของธุรกิจจักรเย็บผ้า เขาได้ศึกษาระบบการผลิตของจักรเย็บผ้ายี่ห้อ Howe และขอใบอนุญาติการผลิตจากบริษัทแห่งหนึ่งในอเมริกาเขาได้ระดมเงินทุนเพื่อสร้างโรงหล่อ..

ในปี 1862 เขาได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ G M Pfaff และทำใบปลิวโฆษณาและขายจักรในโรงงานในเยอรมันนีโดยจักร Pfaff เครื่องแรกกำเนิดในปี 1862 นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ด้วยความเชื่อมั่นในคุณภาพและวัสดุที่ดีจึงกล้ารับประกันตลอดอายุการใช้งาน..ด้วยคุณภาพและการบอกต่อทำให้จักร Pfaff ขึ้นมาอยู่แถวหน้าในวงการ เพียงไม่กี่ปีเขาก็ค่อยๆขยายโรงงานและในปี 1867 มีพนักงานกว่า 20 คน เขาสามารถผลิตจักรเย็บผ้าได้มากกว่า 100 เครื่องต่อปีที่โรงหล่อถนนโมสาร์ท ในปี 1875 พวกเขาผลิตเครื่องจักรเย็บผ้ามากกว่า 1,200 เครื่องต่อปี และในปี 1882 พวกเขาสร้างเครื่องจักรมากกว่า 50,000 เครื่องและในปี 1910 มีเครื่องจักรมากกว่า 1,000,000 เครื่อง.

ในปี 1931 จักรเย็บผ้าของ Pfaff ได้ขยายเข้าสู่ตลาดเย็บผ้าตามบ้านเรือนในประเทศ และในปี 1950 ได้ผลิตจักร Pfaff 30 ซึ่งสร้างชื่อเสียงทำให้เดินหน้าต่อไปเพื่อขายทั่วโลกและจ้างคนนับพันนับไม่ถ้วน ทั้งจัดหาผู้ค้าปลีกและตัวแทนและตั้งโรงานตามประเทศต่างๆ และมีการพัฒนาจักรเย็บผ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องจักรเย็บผ้าที่ดีที่สุดในโลก..

พวกเราส่วนใหญ่รู้จักแต่จักรเย็บผ้ายี่ห้อ SINGER แต่มีเพียงไม่กี่คนที่รู้เรื่องราวชีวิตที่น่าอัศจรรย์ของ Georg Michael การเดินทางไปสู่ความร่ำรวยในยุคของเขา หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 19 นี่คือเรื่องราวของยักษ์ที่ถูกลืม การผลิตจักรที่ดีมีเอกลักษณ์และคุณภาพทั้งชื่อเสียงที่บอกต่อจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และได้สมยานามว่าเป็นราชนีแห่งจักรเย็บผ้า

โปสการ์ดฉลองครบรอบ 50 ปี (1862-1912) การก่อตั้งโรงงานจักรเย็บผ้า PFAFF ที่ Nähmaschinen ในเยอรมนี

50th anniversary of the founding of the sewing factory, treadle sewing machine, dwarves. Art Nouveau litho advertisement postcard s: F. Reils

จักรเย็บผ้า Pfaff รหัส 30 จักรเย็บหนา

จักรเก่านี้อายุมากกว่า 50 ปี รุ่นนี้ผลิตในเยอรมันในปี 1950 รหัส 30 รุ่นแรกพัตนาต่อยอดจากจักร Pfaff11และ Pfaff31 เป็นรุ่นสร้างชื่อในการใช้งานจนปัจจุบันเป็นที่ต้องการของนักสะสมและช่างเย็บผ้ามืออาชีพ สร้างมาใช้ตีตลาดยุโรปแข่งกับยี่ห้ออื่นๆยุคแรกๆ ในอดีต โดยเฉพาะจักรเย็บตรงของเยอรมันหลายยี่ห้อ เย็บได้สุดยอดมากๆ เป็นราชินีของจักรเย็บผ้าเลย ใช้เหล็กชั้นดีจากเยอรมัน ความแข็งแกร่งสุดยอดมากๆ และที่สำคัญเฉพาะจักรยี่ห้อนี้เย็บออกมาฝีเข็มสวยมากๆ จมเป็นจุดไข่ปลา ฝีเข็มตรงสวยไม่เฉียงแม้แต่น้อยเย็บได้ตั้งแต่หนังหนาๆจนถึงผ้าบางๆ จักรเย็บตรงเยอรมนีในสมัยก่อนจะแข่งกันที่ความแข็งแกร่งของวัสดุที่ใช้ทำทำจากเหล็กชั้นดีทุกชิ้นทำให้จักรมีเสียงดัง การเสียดสีของเหล็กทำให้จักรมีเสียงดังนี้ การพัฒนาจักรรุ่นใหม่จึงใช้ระบบสายพาน /เชือก /เฟือง หรือ พาสติก มาช่วยในกลไกจักรบางจุดเพื่อลดจุดที่ทำให้จักรเสียงดังและช่วยให้จักรเดินเงียบรวมถึงลดต้นทุนอีกด้วย

ฝีเข็มสวยดูยังไงทำไมจักร Pfaff จึงเป็นราชินีจักรเย็บผ้าเข็มตรง

จักร Pfaff 30 นอกจากทำจักรให้แข่งแกร่งและเย็บได้นิ่มนวลแล้ว ยังพัฒนากลไกจักรให้ฝีเข็มตรงตลอดการเย็บสมัยนั้นการที่ฝีเข็มสวยคือฝีเข็มตรงเป็นเส้นเดียวกัน (เหมือนเอาด้ายมาขึงเป็นเส้นตรง) ไม่มีฝีเข็มเอียงแม้แต่น้อยฝีเข็มเท่ากันทุกฝีเข็มและจมสวยเป็นจุดไข่ปลา  หากใครมีจักร Pfaff 30 แล้วสงสัยว่าทำไมฝีเข็มไม่ตรงสวย จากที่ได้ลองนำจักร Pfaff 30 มาเย็บพบว่า จักรนี้จะให้ฝีเข็มสวยต้องเย็บงานหนาจึงจะให้ฝีเข็มสวยโดดเด่นออกมา อาจเป็นเพราะจักรถูกออกแบบมาเย็บงานหนาโดยเฉพาะ เมื่อนำจักร Pfaff 30 มาเย็บผ้าบางหรือผ้าปกติ ฝีเข็มที่ออกมาจะไม่สวยเท่างานผ้าหนา เข็มที่เลือกใช้ก็มีผลถ้าใช้เข็มบายพายให้ฝีเข็มเอียงจะเห็นว่าเอียงสวยเท่ากันทุกฝีเข็ม (ถ้าใครมีจักร pfaff 30 ลองนำมาเย็บเปรียบเทียบดูก็ได้ครับ)

จักรที่ฝีเข็มสวยใช้งานเย็บได้ดีสูสีจักร Pfaff 30 อีกตัวหนังคือจักรแกร่งอย่าง singer15k80 สมัยนั้นวัดกันฝีเข็มต่อฝีเข็ม จักรยี่ห้ออื่นพัฒนาจักรให้แกร่งเย็บหนาได้ทุกแบบชนิดเข็มใหญ่หักเสาเข็มไม่เป็นไรแต่จะทำให้จักรฝีเข็มสวยแบบ Pfaff 30 เมื่อใช้เข็มที่ให้ฝีเข็มตรงแบบเดียวกันแล้ว พัฒนาแล้วได้แค่ใกล้เคียง ทำให้จักร Pfaff 30ได้ฉายาราชินีแห่งจักรเย็บผ้าเพราะฝีเข็มสวยที่สุด การจะมัดปมด้ายให้ฝีเข็มตรงนี้ เสาเข็มจักรต้องแข็งแรงมากไม่โยกหรือคดงอ เมื่อต้องตั้งความหนืดด้ายมากๆ (จักรแซกลวดลายทั่วๆไปเสาเข็มจะโยกได้เมื่อเข็มแทงชิ้นงานหนาๆฝีเข็มเย็บตรงจะไม่ตรงตลอดตรงบ้างเอียงบ้าง) บวกกับความลับในกลไกจักรที่สืบทอดมาจาก Pfaff31 และการพัฒนาการส่งความหนืดด้ายอย่างสม่ำเสมอเป็นกลไกทีเด็ด ที่มีผลต่อความสวยงามของฝีเข็มซึ่งจักร Pfaff30 เอาใจใส่ในความตึงของจุดผ่านเส้นด้ายทำให้ฝีเข็มสวยตลอดการเย็บไม่มีปัญหาการคลายเกลียวของด้ายทำให้เย็บได้อย่างต่อเนื่องแม้ใช้ด้ายที่มีการคลายเกลียวง่ายอย่างด้ายโพลีเอสเตอร์ รวมถึงการเย็บต่อเนื่องหรืองานที่เน้นฝีเข็มอย่างงานเสือสูทหรืองาน Quilt ถ้าความหนืดด้ายไม่สม่ำเสมอจะเจอปัญหาด้ายสวยเป็นบางฝีเข็ม

กลไกจักรช่วยให้มัดปมแน่นทุกฝีเข็มไม่มีการเกิดถั่วงอกบนและล่างบางจุดตลอดการเย็บ  มีความนิ่มนวลในการใช้มากทั้งๆที่เป็นกลไกแบบข้อเหวียง คุณภาพเหล่านี้เป็นความลับของจักรเย็บผ้ายี่ห้อ PFAFF30 ปัจจุบันความลับนี้ได้ตายไปพร้อมกับจักรเย็บผ้า PFAFF30 รุ่นเก่าแล้วเพราะจักรรุ่นใหม่ไม่ค่อยแน้นคุณภาพในทุกจุดเหมือนสมัยก่อนแต่จะเน้นเทคโนโลยี รูปทรงจักรที่สวยงาม ลวดลายเย็บที่หลากหลาย ใช้งานหลากหลาย และความรวดเร็วในการเย็บผ้าแทนโดยการใช้มอเตอร์แทนการถีบจักร

จุดเด่นอีกอย่างของจักร Pfaff 30

นอกจากฝีเข็มสวยแล้วการทำงานก็แสนจะนิ่มนวลมากๆ เป็นจักรระบบข้อเหวียงที่เดินจักรได้นุ่มนวลมากๆเหมือนเดินด้วยสายพาน จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อได้ถีบจักรด้วยโต๊ะถีบจักรการออกแรงที่เท้าน้อยมากเมื่อเทียบกับจักรอื่นๆหรือพวกจักรระบบเฟือง จักรระบบเฟืองถ้าเฟืองจักรที่เกลียวบิดเฉียงเพื่อให้จักรขับเคลื่อนได้นิ่มนวลและสำหรับเย็บงานหนา ทำให้การออกแรงถีบในช่วงแรกต้องใช้แรงถีบมาก แต่เมื่อมาใช้งานด้วยมอเตอร์ไม่มีเห็นความแตกต่างจะแตกต่างเรื่องความดังจากกลไกเหล็ก ความรู้สึกแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบถีบจักรด้วยตัวเองจะรู้สึกได้ถึงความนุ่มนวล

หากใครใช้สายพานเท้าถีบจนคล่องแล้วจะสามารถควบคุมการแทงฝีเข็มได้อย่างใจนึกลงช้าที่ล่ะฝีเข็มหรือหยุดในตำแหน่งที่จะหยุดได้ เช่นพวกการเย็บงานหนังเพราะมีแรงแทงเข็มจากเท้าเหยียบ การที่จะให้จักรลงแทงที่ล่ะฝีเข็มส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับงานเย็บหนัง ส่วนงานผ้านิยมเย็บให้เร็วไว้ก่อนเพื่อทำงานได้รวดเร็ว ช่างบางท่านถึงขนาดต้องถอดคาปาซิเตอร์ตรงเท้าเหยียบของมอเตอร์ยี่ห้อดังๆออก เพื่อเพิ่มความเร็วของมอเตอร์เพราะเน้นเร็วและมีแรงบิดในการลงเข็มสำหรับงานหนา ส่วนช่างหนังเมื่อต้องการเย็บลงที่ล่ะฝีเข็มมักนิยมใช้มอเตอร์ตัวใหญ่เป็นมอเตอร์เซอร์โวมากกว่าเพราะมีแรงบิดในการแทงงานหนาๆได้ดีกว่าไม่เจอปัญหาแทงไม่ลงจนมอเตอร์คางหรือไหม้ –> บทความเรื่อง มอเตอร์จักรเย็บผ้าเล็ก

กลับมาที่จักร PFAFF30 จักรนี้ให้ความสำคัญในทุกๆจุด แม้กระทั้งการประกอบชิ้นส่วนกลไกในตัวจักรที่ไม่มีจุดมาร์ค ช่างจักรสามารถยืดหยุนในการปรับแต่งหรือประกอบตัวจักรได้ (เนื่องจากไม่มีจุดมาร์คช่างที่ประกอบต้องมีความเชี่ยวชาญ) การใส่ใจในการสร้างในทุกจุดทำให้เป็นสุดยอดของจักรเย็บผ้าที่ช่างเย็บผ้ามืออาชีพในโลกนี้อยากได้มาไว้ใช้เป็นจักรคู่ใจ เพราะเย็บได้ทั้งหนัง ผ้ายีนส์หนาๆ และผ้าที่มีความบาง (ใช้มือขึงช่วยนิดหน่อย) โดยไม่ต้องปรับแต่งใดๆ

และโดยเฉพาะเทคโนโลยีให้ความสม่ำเสมอของจุดผ่านเส้นด้ายที่พัฒนาเพิ่มจาก Pfaff 31 เพิ่มจุดผ่านด้ายและย้ายชุดปรับความหนืดด้ายมาด้านหน้าผู้ใช้งาน ทำให้มีความสะดวกในการปรับด้าย (Pfaff 31 ชุดปรับด้ายอยู่ที่หน้าจักรเหมือนจักรยี่ห้อ Singer) จุดผ่านด้ายของจักร Pfaff และย้ายจุดปรับความหนืดด้ายเผื่อให้ผู้ใช้งานปรับได้สะดวกขึ้น ปัจจุบันถูกจักรอุตสาหกรรมนำมาพัฒนาเพิ่มเป็นชุดร้อยด้ายเพื่อช่วยคลายเกลียวด้ายโพลิเอเตอร์ที่มาจากหลอดด้ายในจักรเย็บหนังทำให้ด้ายไม่แตกขณะเย็บ ตัวอย่างเช่นตัวคลายเกลียวในจักร Adler

รูปจักร Adler69 จักรเย็บหนังอุตสาหกรรมที่ช่างหนังมืออาชีพหรือโรงงานกระเป๋านิยมใช้ เนื่องจากคุณภาพที่ดีสามารถเย็บต่อเนื่องได้นานโดยไม่ติดขัดหรือมีปัญหาจุกจิก

หาซื้อจักร Pfaff 30 —-> Click

จักรเย็บผ้าตรงธรรมดา ยี่ห้อ PFAFF 50 เน้นผ้าบาง

จักร Pfaff 50 ผลิตในช่วงประมาณปี 1955 -1960 (West Germany then) อายุมากกว่า 50 กว่าปี รุ่นนี้ทำมาเพื่อตีตลาดเอเชียโดยเฉพาะ และใช้ลายดอกไม้ในบนตัวจักร เหมือนยุคแรกๆที่ผลิตจักรขายฝั่งยุโรปนิยมวาดลวดลายที่จักร จักรที่ขายในเอเชียมักนิยมใช้ลวดลายบนจักรให้สวยงามเหมือนกัน อะไหล่จักรผลิตในประเทศเยอรมัน และนำมาประกอบในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากไม่ได้เน้นตลาดยุโรป จึงจะไม่เห็นจักรรุ่นนี้ขายในยุโรป อะไหล่ที่ใช้ ใช้อะไหล่เหล็กกล้าที่ผลิตจากเยอรมันทุกชิ้น และพัฒนาเพิ่มให้เย็บผ้าบางได้ (บางข้อมูลบอกว่าสร้างเลียนแบบจักรเย็บผ้าบางจากบริษัท Singer ) Pfaff50 ซึ่งเป็นยี่ห้อเยอรมันที่มาตีตลาดจักรเย็บผ้าบางของญี่ปุ่น หลังจากที่ตลาดจักรเย็บผ้าบางเริ่มเป็นที่นิยมในเอเชีย

จักรเย็บผ้า Pfaff รหัส 50 จักรโบราณนี้ ประกอบในประเทศญี่ปุ่นมาตีตลาดญี่ปุ่น หลักจากที่ญี่ปุ่นเริ่มหล่อจักรและผลิตจักรได้เองจากการให้ความช่วยเหลือจากประเทศที่ชนะสงคราม หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก เพื่อให้ประเทศญี่ปุ่นได้ฟื้นฟูประเทศ โดยบริษัท Singer ให้ลิขสิทธิ์ในการผลิตจักร บางข้อมูลบอกว่าอาจเพราะต้องการลดต้นทุนจากการประท้วงขึ้นค่าแรงในยุโรปและต้องการตีตลาดเอเชียอีกด้วย

จักร Pfaff ก็เริ่มรุกตลาดเอเชียโดยการให้หล่อบอดีจักรที่มีน้ำหนักมากจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่น แต่อะไหล่ทุกชิ้นในกลไกของจักรเย็บผ้า Pfaff50 นี้ผลิตและนำเข้ามาจากประเทศเยอรมันส่งมาประกอบกับบอดีในญี่ปุ่น แต่สังเกตุเห็นได้ว่าบริษัท Singer เข้ามาก่อนเป็นไปได้ว่ารูปแบบการเย็บผ้าบาง อาจเลียนแบบการเย็บผ้าบางจากบริษัท Singer 

สังเกตุได้จากชิ้นส่วนอะไหล่ Pfaff50 เมื่อลอกสีชุบเหล็กแล้วจะเห็นเนื้อเหล็กกล้าสีดำในกลไกจักรเหมือนจักร Pfaff30 และ จักรเยอรมัน Singer รุ่น 15k80 ทุกชิ้น! เพียงแต่ไม่มีจุดมาร์คในการประกอบจักรและไม่มีการปั้มสัญลักษณ์ตรายี่ห้อหรือตราบริษัทบนชิ้นส่วนกลไกจักรบางชิ้น

อะไรคือข้อดีของจักรเย็บผ้า Pfaff 50

จักร Pfaff 50 เป็นจักรที่พัฒนาร่วมกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อนำมาขายในเอเชีย ญี่ปุ่นเวลาสร้างอะไรจะคิดละเอียดมาก และได้พัฒนาจักรให้เหมาะสำหรับคนเอเชีย ตลาดเอเชียจึงถูกจักรญี่ปุ่นเข้ามาเป็นเจ้าตลาดเพราะสมัยนั้นทุกบ้านต้องมีจักรเย็บผ้า คนเอเชียก็ไม่นิยมนำจักรยุโรปมาเย็บผ้าบาง ซึ่งเย็บได้ไม่ดีเท่าจักรญี่ปุ่นที่มีความนิ่มนวลในการเย็บและเย็บผ้าบางๆได้ดีมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้เท้าถีบจักรจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน จักรญี่ปุ่นพัฒนาจักรให้เดินได้นิ่มนวลโดยเฉพาะเมื่อใช้เท้าถีบจักร ในขณะที่จักรยุโรปจะเริ่มพัฒนาให้เดินเงียบเพราะเริ่มใช้มอเตอร์เพื่องานที่รวดเร็ว 

จักรเดินได้นิ่มนวล

จักรเดินได้นิ่มนวลกับจักรเดินได้เงียบ ไม่เหมือนกัน

จักรกลไกระบบข้อเหวียงและระบบฟันเฟือง หากเดินด้วยมอเตอร์ที่มีความเร็วสูงจักรจะเสียงดังเพราะมีส่วนที่เหล็กกระทบกันหลายจุด จักรกลไกข้อเหวี่ยงของ Pfaff50 จะเดินได้นิ่มนวลเมื่อใช้สายพานเท้าถีบ แต่เมื่อใช้มอเตอร์ความเร็วสูงจักรจะสั่น ส่วนจักรกลไกเฟืองเกียร์จักรจะเงียบหากมาใช้เท้าถีบจะพบว่าต้องออกแรงมากทำให้จักรกลไกเฟืองเกียร์เดินได้ไม่นิ่มนวลแต่เมื่องนำจักรกลไกเฟืองเกียรมาใช้กับมอเตอร์จักรจะเงียบกว่า ถ้าต้องการจักรเดินเงียบเมื่อใช้มอเตอร์ พวกจักรที่ใช้สายพายหรือเฟืองพาสติก ทำให้จักรเงียบกว่าจักรกลไกอื่นๆ รวมถึงสมัยก่อนในแถบเอเชียนิยมใช้โต๊ะจักรที่มีเท้าถีบจักรทำให้รู้สึกว่าจักรญี่ปุ่นเบา นิ่ม กว่า แต่หากใช้มอเตอร์พวกจักรระบบสายพายหรือเฟืองพาสติกจะทำให้จักรเงียบกว่า

ปรับลดฟันจักร

จักร Pfaff 50 เป็นจักรที่สามารถปรับลดระดับฟันจักรได้เอง หากจะนำจักร Pfaff 30 หรือ Pfaff 31 เข้ามาก็ไม่มีระบบการลดฟันจักรสามระดับสำหรับพวกผ้าบาง ทำให้เวลาเย็บผ้าบางๆเกิดการย่นของผ้าในบางครั้งเพราะฟันจักรสูง (พวกจักรอุตสาหกรรมที่ไม่มีการลดฟันจักรต้องให้ช่างโรงงานตั้งค่าฟันจักรหรือปรับแต่งให้ใช้กับงานนั้นๆโดยเฉพาะ)

 จักรญี่ปุ่นออกแบบมาให้เย็บผ้าบางได้ดีกว่าจักรยุโรป เพราะถูกออกแบบมาเย็บผ้าบางโดยเฉพาะ การเย็บผ้าที่บางๆสำหรับเมืองร้อนอย่างแถบเอเชียจักรจากยุโรบจึงสู้พวกจักรญี่ปุ่นที่พัฒนาเรื่องนี้มาโดยเฉพาะไม่ได้ ทางบริษัท Pfaff จึงรวมมือกับบริษัทในญี่ปุ่นพัฒนาจักรให้สามารถเย็บผ้าบางได้และมีความนิ่มนวลตามฉบับญี่ปุ่นและเป็นยี่ห้อที่บ่งบอกว่าเป็นจักรเยอรมันในชื่อ  Pfaff รหัส 50 ซึ่งถูกสร้างมาให้สามารถเย็บผ้าบางๆได้ดี เย็บบางได้ดีและฝีเข็มสวย เช่น ผ้าชีฟอง (จักรหัวดำเก่ามากกว่า30 หลายยี่ห้อปรับตั้งดีๆก็สามารถเย็บผ้าบางได้แต่ต้องเลือกใช้เข็ม-ด้ายรวมถึงปรับแรงกดตีนผีและน้ำหนักการมัดด้ายให้สมดุลย์ด้วยแต่ฝีเข็มยังสวยไม่สู้จักร Pfaff)

จักร Pfaff50 พัฒนาให้เย็บผ้าบางจึงก็ตัดบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกเช่นตัวผ่านความหนืดด้ายที่อยู่ในจักร Pfaff30 ซึ่งไม่มีความจำเป็นในการเย็บผ้าบางเพราะจุดหนีบด้ายถ้ายิ่งเยอะทำให้ด้ายบนมีความหนืดมากซึ่งเหมาะสำหรับเย็บผ้าหนาๆเท่านั้น และด้ายที่ใช้กับผ้าบางเป็นด้ายเส้นเล็กทำให้ไม่เกิดการคลายเกลียวของด้าย

ถ้าเคยลองใช้จักรจะเห็นได้ว่าจักรออกแบบมาเพื่อเย็บผ้าบางแต่ก็สามารถเย็บผ้าหนาๆได้ดีเช่นกันเนื่องจากเหล็กที่ใช้ทำกลไกภายในตัวจักรเป็นเหล็กกล้าชั้นดี ชิ้นส่วนลากชิ้นงานสามารถรับแรงกดหนักๆและลากผ้าหนาๆได้ดีไม่มีงอหรือหัก โดยเฉพาะเทคโนโลยีในสมัยนั้นในการลดฟันจักรได้ด้วยตัวเองสามระดับของจักร เหมาะสำหรับผ้าหนา ผ้าบาง และการปักผ้า ที่ทำได้ดีกว่าจักร PFAFF30 ซึ่งหลบฟันได้อย่างเดียว 

จักร Pfaff30 ที่มีความโดดเด่นเรื่องฝีเข็ม ฝีเข็มจะชัดสวยเมื่อเย็บงานที่หนาๆ โดยเฉพาะจุดหนีบผ่านด้ายบน จักร Pfaff 30 ให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอของน้ำหนักของด้ายเส้นใหญ่ที่ร้อยมาถึงเข็ม ชุดปรับด้ายด้านบนถูกออกแบบมาให้ปรับความหนืดมากได้ดีมีความสม่ำเสมอของความหนืดดีมากลดการคลายเกลียวของด้ายโพลีเอเตอร์ และช่วยในกรณีเย็บผ้าหนามากๆที่ต้องการปรับกระสวยกรอด้ายด้านล่างให้หนืดมาก นึกภาพว่าถ้าต้องมัดผ้าห่มเมื่อเหยียบผ้าห่มหนาๆไว้แล้วการมัดต้องดึงให้แน่นๆทั้งสองด้าน (บนและล่าง) การเย็บหนาๆหลายๆชั้นก็เช่นกันจุดหนีบด้ายจึงสำคัญช่วยเรื่องการเย็บหนาเพิ่มความหนืด ให้ความสม่ำเสมอและป้องกันด้ายคลายเกลียว โดยจักร Pfaff30 จะมีความยืดหยุดในการปรับชุดปรับด้ายด้านบนให้สมดุลย์กับน้ำหนักกระสวยกรอด้ายด้านล่างได้ดีกว่าจักร Pfaff50 จึงเย็บงานหนาและฝีเข็มยังคงสวย

แต่ตรงข้ามกันหากต้องการปรับกระสวยกรอด้ายด้ายล่างให้มีความหนืดน้อยที่สุดเพื่อเย็บผ้าบางและชุดปรับด้ายด้านบนก็ปรับให้มีความหนืดน้อยที่สุดรวมถึงการลดฟันลงโดยไม่ต้องปรับแต่งกลไกจักร Pfaff 50 ทำได้ดีกว่า

เมื่อเย็บผ้าทั่วไปที่ไม่หนามากจักร Pfaff 50 ให้ฝีเข็มที่ออกมาสวยแล้วนี่ก็เป็นจุดเด่นของจักร Pfaff50 และจักร Pfaff 50 กงล้อจักรเล็กมีความเบากลไกการหมุนล้อจักรลื่นเงียบมากตรงนี้มีส่วนช่วยให้เย็บผ้าบางได้ดีและช่วยให้เย็บได้นิ่มนวลด้วยเหมือนจักรทางฝั่งเอเชียที่มีความนิ่มนวลในการเย็บผ้าบางๆเช่นจักรไลออน แต่การเหวียงน้ำหนักแทงเข็มจักรจะเบาเพราะออกแบบมาให้นิ่มนวลถ้าใช้เท้าถีบจักรจะรู้สึกถึงความเบาทำให้รู้สึกว่าจักรมีความนิ่มนวลกว่าจักรที่ล้อหมุนใหญ่ๆ

ทำให้ฟิลลิ่งความหนืดการลงน้ำหนักเข็มจึงยังแพ้จักรเย็บหนาๆหลายตัวที่ล้อหมุนจักรใหญ่เช่น singer15k80 (ถ้ามีจักร singer 15k80 ที่กลไกยังดีเหมือนออกจากโรงงานใหม่ๆลองหมุนล้อจักรแล้วรอดูตอนจักรหยุดจะเห็นความแตกต่างจากจักรล้อเบาที่จะหยุดทันทีแต่ singer 15k80 จะมีความสมูทกว่า) ตรงนี้เองที่ช่วยให้จักรแทงน้ำหนักเข็มปักลงบนชิ้นงานหนาๆได้ดีหยุดในตำแหน่งที่ควรหยุดเบรกได้ง่ายช่วยในการเย็บงานที่ต้องมีความระมัดระวังในการแทงชิ้นงานเช่นงานหนัง แต่เมื่อนำมาเย็บผ้าจะรู้สึกว่าจักรเดินไม่เบาเมื่อถีบจักรส่วนการใช้มอเตอร์จะเห็นความแตกต่างเมื่อปรับรอบเบา (ใช้ตัวหรี่ไฟช่วยในการปรับรอบเบา)

จักรเอเชียล๊อตหลังๆส่วนมากเย็บผ้าบางและหนาได้ดีแต่เกรดของเหล็กที่ใช้ทำกลไกของจักรเอเชียสู้เหล็กชั้นดีที่ใช้ทำกลไกของจักรฝั่งยุโรปสมัยก่อนไม่ได้แต่ก็ไม่สำคัญมากเพราะเป็นเหล็กที่ดีเหมือนกัน และจักร Pfaff 50 ไม่เน้นการเย็บผ้าหนาในการจึงไม่เป็นที่นิยมในฝั่งยุโรป ทำให้จักร PFAFF50 เป็นจักรที่ค่อนข้างหาเก็บยากกว่าจักร Pfaff 30 ในปัจจุบันจักรเพราะจะหาจักรรุ่นนี้ได้ทางฝั่งเอเชียเท่านั้น ส่วนจักร Pfaff 30,31 ปัจุบันสามารถนำเข้ามาจากยุโรปได้โดยเฉพาะประเทศผู้คิดค้นอย่างเยอรมันนี ที่มีจักรเก่ารกบ้านที่รอทิ้งจำนวนมาก 

Pfaff 50 เป็นจักรเอเชียมั้ย

Pfaff 50 เป็นจักรที่หล่อบอดีในเอเชียและใช้อะไหล่เหล็กกล้าเยอรมันแท้มาประกอบในญี่ปุ่น จึงถือได้ว่าเป็นจักรที่ประกอบในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ถูกพัฒนาโดยบริษัท Pfaff และประเทศญี่ปุ่น แต่ใช้อะไหล่เหล็กกล้าผลิตจาก Pfaff เยอรมันในกลไกจักรทุกชิ้นและพัฒนาให้เหมาะสำหรับคนเอเชียในแบรนด์เยอรมัน พัฒนามาให้เป็นจักรลูกครึ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น ที่คุณภาพเทียบเท่ากับจักร Pfaff 30 ที่เป็นเยอรมันแท้ ซึ่งเหล็กที่ใช้ทำอะไหล่จากเยอรมันจะดีกว่าเหล็กที่ใช้ทำจักรสัญชาติญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นชำนาญในการประกอบและหล่อบอดี้จักรแล้ว จึงสร้างโรงงานหล่อบอดีจักรและผลิตอะไหล่จากเหล็กในเอเชีย และสามารถหล่อบอดีและผลิตอะไหล่จักรในยี่ห้อต่างๆ ส่งให้ประเทศต่างๆในเอเชียนำไปประกอบเพื่อจำหน่าย เราจึงเห็นจักรยี่ห้อต่างๆออกมามากมายแต่เป็นเหล็กในเอเชีย

ทำไมจักรเอเชียเกรดเหล็กสู้จักรฝั่งยุโรปไม่ได้

เนื่องจากสมัยก่อนเยอรมันขึ้นชื่อในการหาเหล็กกล้าชั้นดีนีรวมถึงเทคโนโลยีโลหะและการหลอมเหล็กเพื่อนำมาผลิตอาวุธต่างๆรวมถึงเรือรบยานรบเมื่อนำมาผลิตเรือรบเหล็กชั้นดีก็เริ่มหายากและมีจำกัดก็เริ่มนำเหล็กกล้าชั้นดีจากอาวุธเรือยานรบที่พังแล้วกลับมาใช้ใหม่ ฝั่งเอเชียเทคโนโลยีโลหะยังสู้ฝั่งยุโรปไม่ได้เหล็กกล้าชั้นดีก็มีจำกัด อะไหล่จักรที่เป็นอะไหล่เหล็กกล้าเยอรมันก็นำมาใช้ผลิตเฉพาะยี่ห้อดังๆเช่น Singer Pfaff ในยุคหลังๆที่เทคโนโลยีจักรเย็บผ้าไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กกล้าเกรดเอมาทำจักรก็สามารถเย็บทั้งหนามากและบางได้ดีแล้ว จึงพัฒนาจักรในเรื่องอื่นแทนเช่น การเย็บผ้าบาง เดินจักรได้นิ่มนวล การทำลวดลายและการเย็บให้รวดเร็วจนพัฒนามาเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม เกรดเหล็กเป็นรองแต่ก็ได้เทคโนโลยีอื่นมาแทน

Note…
ข้อดีของจักร Pfaff 50 อีกอย่างคือเมื่อเย็บผ้าที่บางมากสามารถปรับความถี่เข็มให้แคบมากเพื่อเย็บผ้าบางโดยให้เข็มเล็กลงที่ละเส้นของด้ายที่ถอผ้าได้โดยการเลื่อนฟันจักรไม่ทำให้ผ้าย่น

สรุปคือ Pfaff 50 ออกแบบมาเพื่อชาวเอเชียที่ส่วนมากเป็นเมืองร้อนไม่นิยมใส่เสื้อผ้าหนาๆ เมื่อบริษัท Pfaff ยกเลิกโรงงานบางส่วนจักรเย็บผ้าเย็บตรงขนาดเล็ก เช่น Pfaff30 อะไหล่จักร Pfaff 30 จึงถูกส่งมาประกอบจักร Pfaff 50 ในประเทศญี่ปุ่น จักร Pfaff 50 เป็นที่นิยมมาก จึงมีจักร Pfaff 50 Copy โดยจะจ้างผลิตจากโรงงานในไต้หวันและประกอบในเอเชียเช่น อินเดีย ปากีสถาน ศีลังกา และอื่นๆ จักรล๊อตนี้เรียกว่าเป็นจักร Cloning..

มาดูเกรดเหล็กของจักร Pfaff30 และ Pfaff50 กัน

Pfaff 50 และ Pfaff 30 เป็นจักรที่ใช้อะไหล่ที่เหมือนกันนำเข้าจากเยอรมันทั้งคู่ เรามาหงายจักรดูเนื้อเหล็กกัน เริ่มที่ Pfaff 30 จะเห็นผิวอะไหล่เป็นสีเงินจากการชุบสีแต่เมื่อมองที่เกรียวหรือส่วนที่ไม่ได้ชุบสีเงินจะเห็นเนื้อเหล็กสีดำซึ่งเป็นเหล็กกล้าเยอรมัน

ที่ Pfaff 50 ในรูปด้านล่างจะเห็นว่าที่บอดีจักรจะไม่มีคำว่า Pfaff เพราะตัวบอดีผลิตจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่น ในส่วนอะไหล่นำเข้ามาจากประเทศเยอรมัน จะเห็นได้ว่าใช้เนื้อเหล็กกล้าสีรมดำเหมือนจักร Pfaff 30 แต่เนื่องจากจักรตัวนี้มีสภาพเก่ากว่าทำให้ดูแล้วไม่ใหม่เท่ารูปจักร Pfaff30 แต่ให้สังเกตุดูว่าเนื้อแท้ของจักรเป็นเหล็กกล้ารมดำเหมือนกัน

เนื่องจากจักร Pfaff 50 จักรลูกครึ่งเยอรมัน-ญี่ปุ่น เป็นยี่ห้อที่นิยมมากเพราะเหมาะกับคนเอเชีย เย็บหนาและบางได้ดี ในยุคหลังๆ จักรตัวนี้จึงมีจักรที่เป็น Copy ออกมามากมาย

จักร Pfaff 51

ยังมีจักรยี่ห้อ Pfaff รุ่น 51 เป็นจักรเป็นจักรลูกผสมที่โครงสร้างจักรมาจากจักรยอดนิยมอย่างจักรแกร่ง Pfaff 31 รวมทั้งจักรเย็บผ้าบางอย่าง Pfaff50 ผลิตในญี่ปุ่นใช้ชื่อรหัส 51 เป็นจักรที่เป็นรุ่นที่พัฒนามาหลังจากที่ผลิต Pfaff 50 มาระยะหนึ่งแล้วถือว่าเป็นจักรเอเชีย มีทั้งล๊อตที่เป็น Pfaff แท้ๆใช้กลไกจักรเยอรมันในกลไกหลักเหมือน Pfaff50 และมีทั้งจักรที่เป็นจักร Copy  ผู้ซื้อจึงควรดูอะไหล่กลไกหลักของจักรจึงจะทราบแน่ชัดว่าเป็นจักรแท้หรือจักร Copy

บทสรุป Pfaff 50

จักรเย็บผ้า Pfaff 50 เป็นจักรยี่ห้อเยอรมันซึ่งเอาชื่อ Pfaff ในยุโรปมาพัฒนาร่วมกับประเทศญี่ปุ่นออกแบบให้สามารถเย็บผ้าที่มีขนาดบางมากๆ สำหรับชาวเอเชีย ซึ่งเป็นเมืองร้อน Pfaff 50 สามารถเย็บผ้าบางได้ดีโดยไม่ต้องดึงผ้าหรือใช้มือขึงผ้าช่วย ปรับลดฟันได้ง่ายทำให้ฟันจักรไม่โผล่ออกมาเยอะมาลากผ้าทำให้ผ้าย่น เหล็กที่ใช้ๆกลไกหลักๆเป็นเหล็กกล้าอย่างดีตามฉบับจักรยุโรปทำให้เย็บงานหนาๆได้ดีมาก อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีในสมัยนั้นให้ผู้ใช้งานลดฟันจักรได้เองสามระดับสำหรับผ้าหนา ผ้าบางและสำหรับปักผ้า โดยไม่ต้องปรับแต่งในส่วนกลไกจักรเพื่อลดฟัน จักร pfaff50 จึงเย็บบางๆได้ดีกว่าจักรเย็บผ้า Pfaff รุ่น 30 จักร Pfaff ทั้งสองตัว รุ่น 50 30 เป็นจักรที่เป็นระบบข้อเหวียงในการส่งกำลังเมื่อเย็บด้วยสายพานเท้าถีบจะเย็บได้นิ่มนวลกว่าจักรที่ใช้ระบบเฟืองในการขับเคลื่อน เย็บได้นิ่มนวลเหมือนระบบที่ใช้สายพานในการส่งกำลังแทบจะไม่ได้ยินเสียงเวลาเดินจักรของจักรระบบข้อเหวียง และยังเย็บงานหนาๆได้ดีกว่าระบบเกลียวเฟือง เพราะจักรระบบเฟืองต้องใช้แรงขบเฟืองมากในการเย็บงานหนา ทำให้จักรรุ่นต่อมาจึงหนีมาใช้ระบบสายพานเชือกแทน แต่ก็มีข้อด้อยในการใช้มอเตอร์ที่ความเร็วรอบสูงๆจักรจะสั่น

จักร Pfaff 50 ยังมีความลับในกลไกจักรตัวจักรที่ทำให้ฝีเข็มสวยจนได้ขึ้นชื่อว่าราชินีจักร โดยจักร PFAFF 50 พัฒนามาเพื่อเย็บผ้าบางและยังคงให้ฝีเข็มสวยไม่แพ้จักร Pfaff 30 ที่ฝีเข็มจะสวยเมื่อเย็บงานหนาๆ 

Pfaff50 จะไม่มีชุดผ่านความหนืดด้ายชุดบนเหมือน Pfaff30 (จักรยุคแรกอย่าง Pfaff31 ก็ไม่มีชุดผ่านความหนืดด้ายเช่นกัน) จักรถูกพัฒนามาเพื่อชาวเอเชียที่นิยมใช้ผ้าบางๆ  จึงควรหาจักร Pfaff 50 มาใช้งานเพราะเป็นจักรลูกครึ่งเยอรมัน-ญี่ปุ่น ยี่ห้อ Pfaff ที่สามารถเย็บผ้าบางได้ดี หากท่านใดมีโอกาสก็ควรเก็บไว้ หาเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ดูว่าสมัยก่อนทำจักรคุณภาพสูงฝีเข็มสวยแบบที่วัดกันฝีเข็มต่อฝีเข็มเป็นอย่างไร โดยไม่สนว่าจะใช้ดีจนโรงงานจักรเจ๊งเพราะไม่มีคนซื้อใหม่เพียงแค่ซ่อมก็นำมาใช้และส่งมอบให้คนรุ่นหลังใช้ต่อได้อีกเป็นร้อยปี

ราคาจักร Pfaff 50 เมื่อขายในอีเบย์

จักร Pfaff 50 เมื่อเสนอขายที่ eBay ก็จะมีราคาสูงทั้งที่ขายในบ้านเราราคาไม่แพงมากเท่าไหร่เนื่องจากเป็นจักรหายากในยุโรป เช่นเดียวกันจักร Pfaff 30 ก็เป็นของหาง่ายในยุโรปเมื่อขายในยุโรปราคาจะถูกแต่มาถ้านำจักร Pfaff 30 มาขายในบ้านเราก็จะมีราคาแพง

ข้อควรระวังในการซื้อจักร Pfaff

เนื่องจากจักรยี่ห้อ Pfaff เป็นที่นิยมในชื่อเสียงและคุณภาพจึงมีโรงงานจักรในไต้หวันทำจักรเลียนแบบ (เลียนแบบหลายยี่ห้อ)โดยใช้เหล็กในเอเชียในการหล่อขึ้นรูปกลไกจักรโดยเฉพาะ ได้ copy จักร Pfaff ที่นำมาจำหน่ายในเอเชีย เช่นรหัส 50 51ในการเลือกจักรจึงควรดูก่อนตัดสินใจซื้อ ถ้าโชคดีจะได้จักร Pfaff แท้ประกอบในอินเดีย หรือ ญี่ปุ่น ที่ยังใช้เหล็กกลไกหลักจากเยอรมันยังมีคุณภาพและมาตรฐานของ Pfaff ถ้าโชคไม่มีก็ได้จักร cloning ที่ผลิตในไต้หวัน จักร Pfaff ที่ดีจะต้องสามารถเย็บได้ทั้งงานหนา งานบาง และงานหนัง

เทคนิคการเย็บผ้าและหนัง

จากที่ผมเย็บงานหนังและงานผ้ามา พบว่าบางครั้งเคยเย็บดีๆฝีเข็มจมสวย แค่เปลี่ยนด้ายด้านล่างหรือด้ายบนใหม่ ฝีเข็มที่เย็บก็เปลี่ยน เย็บแล้วเป็นถั่วงอกบนบ้างล่างบ้าง ทั้งที่ปรับน้ำหนักด้ายตำแหน่งเดิม ต้องมาคอยปรับทุกครั้งที่ใช้ด้ายเส้นใหม่ยี่ห้อใหม่ไม่ว่าจะเปลี่ยนด้านบนหรือด้านล่าง บางครั้งต้องเอายี่ห้อนี้ด้านบนและด้านล่างเท่านั้นถึงจะเย็บได้สวยเหมือนเดิม จนพบว่าด้ายแต่ล่ะยี่ห้อมีความตึงด้ายต่างกันแม้จะมีขนาดเดียวกันแต่คนล่ะสี จึงควรทดลองเย็บหลังจากเปลี่ยนด้ายทุกครั้งก่อนการเย็บจริงเพราะถ้านำมาเย็บงานหนังแล้วเข็มเจาะที่หนังแล้วแก้ใขไม่ได้ครับ ถ้านำมาเย็บงานผ้าเย็บหนาหรือบางหากต้องการความรวดเร็วก็อาจจะหากระสวยกรอด้ายด้านล่างมาปรับไว้3แบบคือ1.ปรับให้น้ำหนักเบา(งานเนาผ้า)2.ปรับให้น้ำหนักกลาง(ใช้เย็บได้หลากหลาย)และ3.ปรับน้ำหนักเยอะๆ(สำหรับงานเฉพาะด้าน) อันไหนใช้บ่อยก็เก็บไว้ที่ๆหาง่ายนะครับ

จักรหัวดำเย็บหนัง –> Singer 15bg158

การหาจักรมาใช้งาน

ในส่วนจักรที่ดีต้องเป็นจักรที่เย็บผ้าได้ทุกแบบและยังสามารถเย็บต่อเนื่องได้ตลอดเวลาไม่มีงอแง เช่นในการเย็บงาน quilt ผ้าห่ม งานลักษณะนี้จักรควรให้ความสม่ำเสมอในการเย็บด้ายไม่ขาดขณะเย็บหรือจักรไม่มีปัญหาติดขัดใดๆ เย็บไปนิดเดียว ด้ายขาด เข็มหัก เย็บไม่ติดจะทำให้ผู้ใช้หงุดหงิด นอกจากนี้หากไม่ใช่จักรที่ซื้อไว้สะสม ควรหาจักรที่ยังมีอะไหล่ที่สามารถเปลี่ยนได้ในปัจจุบันในราคาไม่แพงมากและควรเป็นจักรที่ยังมีช่างสามารถซ่อมให้ใช้งานได้ตลอด เพราะจักรเก่าเมื่อใช้บ่อยๆ ทั้งจักรซิกแซกและจักรเย็บตรง กลไกจักรจะขยับตำแหน่งหรือน็อตหลวมคลายตัว จึงต้องหาช่างที่รู้กลไกช่วยปรับตั้งกลไกจักรให้เหมือนเดิม หรือหมั่นขันน๊อตหากใช้งานหนัก จักรที่ดีควรให้ความราบรื่นในการเย็บ ซ่อมได้เองในเบื้องต้นไม่ซับซ้อนมาก ในส่วนงานที่ต้องการเน้นฝีเข็มสวยเช่นงานเสื้อสูท งาน quilt หรืองานหนังเช่นงานเย็บสายนาฬิกา จึงควรมีจักร Pfaff ไว้เป็นจักรคู่ใจครับ

ควรใช้จักรยุโรปหรือจักรเอเชียดี

หากท่านใดสนใจซื้อจักรแล้วมีงบประมาณจำกัด ถ้าถามว่าควรจะซื้อจักรอะไรดีกว่ากัน ก็ต้องถามให้ถูกคนหากถามพ่อค้าจักรก็จะได้จักรที่พ่อค้าจักรอยากขาย หากถามคนใช้งานก็ต้องไปดูวัตถุประสงค์ว่าซื้อมาทำอะไร 

หากซื้อมาสะสมก็เอาจักรที่ชอบเพราะจักรแบบนี้เน้นสะสมไม่ได้เน้นใช้งาน ถ้าไม่ชอบก็เก็บเงินไว้ทำอย่างอื่นดีกว่า หากใช้เย็บผ้าทั่วๆไปก็หาจักรที่เย็บได้หลากหลายชนิดผ้า เช่น ผ้าหนา ผ้าบาง หนังในบางครั้ง ก็ต้องใช้จักรที่เย็บหนาและบางได้ดี หากต้องการเย็บงานหนังก็ต้องใช้จักรเย็บหนังที่เป็นจักรอุตสาหกรรม เพราะจักรบ้านไม่ว่าจักรยุโรปหรือจักรเอเชีย ไม่เหมาะนำมาเย็บงานหนังจริงจังได้ เย็บได้แค่ชั่วคราวหรือบางครั้งบางคราวได้ แต่เย็บจริงจังไม่ได้เพราะจำกัดที่เข็ม งานหนังต้องใช้เข็มเล่มใหญ่ เข็มเล็กแทงชิ้นงานไม่ลง แถมเข็มจะหักได้ง่าย และด้ายต้องใช้ด้ายเส้นใหญ่ เหนียว ขาดยาก ถ้าเจอกับเข็มเล็กด้ายก็จะทำให้เข็มงอและหัก เข็มเล่มใหญ่ส่วนใหญ่มีแต่เข็ม DB ที่เป็นเข็มจักรอุตสาหกรรมซึ่งนำมาใช้กับจักรหัวดำบ้านได้บางรุ่น รุ่นอื่นๆที่ใช้เข็มก้นแบนต้องแปลงตัววงเดือนจักรไม่งั้นจะตักด้ายไม่ได้ มีปัญหาด้ายกระโดดทำให้งานหนังเสีย ตีนผีก็สำคัญแรงกดเบาก็เย็บด้ายไม่ติดกดหนักไปฝีเข็มก็ถี่ เจองานหนามากๆ แรงกดก็ไม่พอ สรุปคือจะเย็บหนังด้วยจักรก็ต้องมีพื้นฐานในการปรับแต่งจักรด้วย เย็บไม่ติดด้ายกระโดดงานก็ต้องส่ง หงุดหงิดไปเปล่าๆ สู้ไปเย็บมือยังดีกว่า
—————————

 แนะนำบทความ ของสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม ลองเข้าไปอ่านกันนะครับ

—————————

Manual

https://dolfmeister.com/files/sewing_machines/pfaff_30-31.pdf

การหาซื้อจักรเก่า

โลกทุกวันที่เปิดกว้างเราสามารถติดต่อซื้อจักรจากผู้ขายได้โดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางแหล่งที่นิยมก็เช่นเว็ปไซต์ Ebay Etsy Amazon Facebook และอื่นๆ ตัวอย่างในรูปด้านล่างที่เว็บไซต์ Etsy จักร Pfaff 30 ขายในราคา 8430 บาท ค่าจัดส่ง 4680.85 บาท ใช้เวลาจัดส่งประมาณ 1-2 สัปดาห์ผ่านผู้ให้บริการจัดส่งเช่น DHL USPS FedEx หรืออื่นๆ ในเว็บไซต์อีเบย์ ถ้าไม่มีราคาแต่มีคำว่า bit เราสามารถประมูลแข่งกับคนอื่นๆได้ ไม่แน่คุณอาจจะได้ของดีในราคาที่ถูกมากๆ

ที่มา เว็บEtsy
ที่มาเว็บ Ebay

ถ้าค่าส่งแพงเราสามารถใช้บริการ Shipping กับบริษัทรับนำเข้าได้ ได้โดยพิมพ์ที่ Google ว่า “รับนำเข้าสินค้าอีเบย์” หรือ “รับนําเข้าสินค้าจากเยอรมัน” หรือ “รับนําเข้าสินค้าจากอเมริกา” จากนั้นส่งลิงค์ที่เราสนใจให้ Shipping เป็นคนนำเข้ามาให้ค่าขนส่งจะถูกกว่าแต่รอสินค้านานอาจเป็นเดือน และสามารถจ่ายค่าประกันสินค้าเพิ่มได้เพื่อป้องกันของเสียหาย

ในประเทศไทยเราจะหาจักรเอเชียได้ง่าย ที่ยุโรป จักรยุโรปก็จะหาง่ายและมีราคาถูกกว่าจักรเอเชีย ตัวอย่างเช่น Pfaff 30 ซึ่งหาง่ายในยุโรปก็จะมีราคาถูกกว่า Pfaff50 ที่หายากในยุโรป จักรเอเชียที่หายากในยุโรปสภาพดีๆมักจะมีราคาแพง จักรยุโรปก็หายากในเอเชียจึงมีราคาแพงส่วนที่แพงก็อยู่ที่ค่าขนส่งด้วย ราคาขายก็อยู่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงกันถ้าแพงเราก็หาผู้ซื้อเจ้าอื่น หรือรอราคาประมูล หรือส่งข้อความไปต่อราคาได้ ชอบจักรแบบไหนรูปทรงแบบไหนฟังก์ชั้นการใช้งานแบบไหน ก็ลองหากันดูนะครับ มีจักรรูปทรงสวยๆฟังก์ชั้นการใช้งานดีๆ รอให้ค้นหาอีกมากมาย

บางครั้งจักรที่ถูกใจเราไม่จำเป็นต้องเป็นจักรที่หายากเสมอไป

เปรียบเทียบจักร Pfaff รุ่น 30 และ 131

จักร Pfaff เย็บตรง :จักร PFAFF รุ่น 30 และรุ่น 131 ล้วนเป็นจักรดีในตำนานทั้งคู่ ทั้งคู่เป็นจักรเย็บตรงได้เท่านั้นเหมือนกัน ต่างกันเพียงระบบกลไกในการทำงาน รุ่น 30 เป็นจักรระบบข้อเหวี่ยงยุคต้นๆ การทำงานของระบบข้อเหวี่ยงจะมีช่องว่างในการแบล็คกลับของข้อเหวี่ยง ทำให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะในช่วงนี้ แต่เมื่อต้องการผลิตหรือเย็บงานให้มากขึ้น มอเตอร์ไฟฟ้าจึงเข้ามามีบทบาทแทนกำลังคนที่ต้องใช้เท้าถีบให้จักรทำงาน การมาของมอเตอร์ไฟฟ้าทำให้นักคิดต้องผลิตระบบการทำงานที่ไม่มีช่องว่างมาทดแทนระบบข้อเหวี่ยง ซึ่งก็คือระบบฟันเฟืองที่หมุนรอบอย่างต่อเนื่องเท่าใดก็ไม่เกิดเสียงดังในการทำงาน การใช้งานจักรจึงเงียบเสมือนขับรถยุโรบจึงเป็นที่มาของ PFAFF รุ่น 131 และก็ตามมาติดๆคือ SINGER รุ่น 201k แต่หากนำจักรระบบฟันเฟืองมาเย็บด้วยเท้าถีบจักรพบว่าจะใช้แรงมากขึ้นเพราะต้องใช้แรงให้ฟันเฟืองขบกัน ทำให้จักรบ้านรุ่นต่อมาจึงนำระบบสายพานเชือกมาใช้ และก็พัฒนาเรื่อยๆจนเป็นเป็นจักรกึ่งอุตสาหกรรมและก็มาเป็นจักรอุตหกรรมจนถึงยุคปัจจุบัน

ข้อดีข้อระบบข้อเหวี่ยง คือช่วงที่ดึงมัดปมด้ายเสร็จ จะมีช่วงว่างในการแบล็คกลับของข้อเหวี่ยง ทำให้ในแต่ละฝีเข็มเป็นจุดไข่ปลาซึ่งดูไม่แน่นดึงแต่ปมมัดภายในแน่นมาก ทำให้เย็บผ้าบางๆไม่ย่นและยังยืดหยุ่นตัวได้ในทุกฝีเข็ม ส่วนระบบฟันเฟือง จะทำงานต่อเนื่องโดยไม่มีช่องว่างด้วยรอบความของมอเตอร์ ฝีเข็มจึงตึงแน่นต่อเนื่องในทุกฝีเข็มจนไม่เหลือความยืดหยุ่น ตะเข็บจึงแตกขาดได้ง่าย

Tips..

ว่าด้วยเรื่องเข็มจักรเย็บผ้า

เข็มจักร Pfaff 30 : คนสมัยก่อนคิดจะผลิตอะไรสักชิ้น จะคิดรอบด้านเสมอ เข็มจักรก็เช่นกัน การออกแบบให้ก้นเข็มมีเหลี่ยมหรือแบนข้างหนึ่ง ก็ทำไว้เพื่อยึดจับและใส่ให้ถูกต้องได้ง่าย พอหลังสงครามโลกบ้านเมืองเจริญด้านวัตถุมากขึ้น ก็มีการประดิษฐ์จักรกึ่งอุสาหกรรมและจักรอุตสาหกรรมมารองรับการผลิตที่มากขึ้น เข็มจักรอุตสาหกรรมจึงผลิตมาแบบเรียบง่าย คือจะมีก้นที่กลมซึ่งง่ายต่อการผลิตและมีขนาดให้เลือกใช้มากขึ้น เพียงผู้ใช้ต้องใส่ให้ถูกด้านเองเท่านั้น ในส่วนขนาดของเข็ม จะขนาดเล็กหรือใหญ่เท่าใด แต่ขนาดของก้นเข็มจะเท่ากันทั้งหมด ส่วนขนาดที่ระบุมาที่ข้างซอง คือขนาดความใหญ่ของก้านเข็มและเบอร์


จักรหัวดำรุ่นเก่า เช่น PFAFF 30 SINGER 15bg158 หรือ SINGER 15k80 ก็สามารถใช้เข็มก้นกลมของจักรอุตสาหกรรมเย็บตรงได้ แต่ให้ใส่เบอร์หรือก้านเข็มเล็กๆ และผู้ใช้ต่องใส่ให้ถูกด้าน เพราะขนาดของเข็มและก้านเข็มยาวกว่ากันไม่ถึงมิลิเมตร หากเป็นเข็มเบอร์ใหญ่ก้านเข็มใหญ่ระยะเข็มกับวงเดือนจะห่างมากก็อาจทำให้เย็บไม่ติดได้ จึงควรใช้เข็มให้ตรงรุ่นจะเป็นการดีกว่า ส่วนจักรตัวท็อปหรือรุ่นใหม่ๆ ถ้าไม่มีเข็มก้นแบน ก็สามารถใช้เข็มก้นกลมมาสำรองใช้งานไปก่อนได้ ยกเว้นการเย็บผ้ายืดเท่านั้นที่ต้องใช้ชนิดของเข็มให้ตรงกับจักร


ปล.ปัจจุบันมีการผลิตเข็มจักรอุตสาหกรรมออกมา 2 แบบ คือ ก้นใหญ่และก้นเล็ก แนะนำถ้าเป็นจักรอุตสาหกรรมรุ่นหรือจักรกระเป๋าหิ้วรุ่นเก่า ต้องเลือกก้นเข็มที่มีขนาดเล็กเท่านั้นจึงจะใส่ได้ แต่ถ้าเคยเปลี่ยนเสาเข็มมาแล้ว ก็ใส่ก้นใหญ่ไปเลยครับ

ปิดท้าย..

สุดท้ายนี้ จักรเย็บผ้าเก่าทุกยี่ห้อไม่ว่าจะเป็นรุ่นใดยี่ห้อใดการสร้างบอดีรูปทรงจักรเย็บผ้าจะเกิดจากการหลอมเหล็กสร้างบอดี้เนื่องจากสมัยนั้นเหล็กชั้นดี (เหล็กเยอรมันชั้นดี เก็บ 20ปีเป็นสนิม แช่น้ำมันแล้วขัดก็กลับมาใช้งานได้ปกติ )ยังมีราคาถูกลองมานึกถึงในปัจจุบันการจะสร้างโรงงานเพื่อหลอมเหล็กชั้นดีสร้างบอดีจักรเย็บผ้าที่มีโครงสร้างแข็งแรงต้องใช้เงินทุนมหาศาลเพียงใดเพราะฉะนั้นหากใครมีจักรเย็บผ้าเก่าจึงควรเก็บรักษาไว้ เพราะอาจไม่มีโรงงานไหนในอนาคตที่สามารถทำจักรเย็บผ้าออกมาได้ดีแข็งแกร่งขนาดที่ใช้มา 50-100 ปีก็ยังซ่อมใช้ได้อยู่จนโรงงานจักรเย็บผ้าเจ็งเพราะไม่มีคนซื้อใหม่เหมือนจักรเย็บผ้ารุ่นเก่าๆได้อีกแล้ว

cr.รวบรวมจากข้อมูลต่างประเทศ จากการใช้งานจริง การแปลเอกสารคู่มือ และสรุปจากช่างตี๋ที่โพสลงบนอินเตอร์เน็ต

RELATED STORIES:

Comments are closed

Comments are closed.