ADLER 87 Vintage

19Feb

POSTED BY

สวัสดีครับ ใครที่ชอบจักรเก่าโบราณน่าจะชอบจักรรุ่นนี้นะครับ เรื่องของเรื่องคือได้ไปดูจักรเก่าๆในเว็บไซต์อีเบย์ และสะดุดตากับจักรเก่าชิ้นหนึ่งมีกลไกแปลกมาก และราคาก็ถือว่าแพงเอาเรื่อง จักรตัวนี้ชื่อจักร Adler model 87 วันนี้เลยจะมาทำการหาข้อมูลจักรตัวนี้กันนะครับ

ณ วันนี้จักรตัวนี้ยังขายอยู่นะครับ ราคาตั้งในอีเบย์ขายไว้ที่ $400 หรือประมาณ 12,000 บาท ค่าจัดส่งอยู่ที่ $145.17 หรือประมาณ 4360 บาท รวมๆแล้วยอดในการซื้อจักรตัวนี้รวมส่งอยู่ที่ 16,360 บาท แต่ร้านค้าทำปุ่ม Make Offer เอาไว้จากประสบกราณ์น่าจะต่อได้ 2000-3000 บาท ระยะเวลาจัดส่ง 1-2สัปดาห์ ใครพอมีกำลังก็เข้าลิ้งค์ไปหาซื้อกันได้นะครับ

https://www.ebay.com/itm/VINTAGE-ADLER-SEWING-MACHINE-with-COVER-CASE/233817949545?hash=item3670a2c569:g:RV0AAOSwACpf1COv#shpCntId

จักรตัวนี้เท่าทีหาข้อมูลมาได้คือ จักร Adler 87 เป็นจักรระบบซิกแซก ผลิตในช่วงปี 1930-1950 ผลิตในประเทศเยอรมัน อายุจักรประมาณ 70- 80 ปี โครงสร้างทำจากเหล็กทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จักรเก่าที่อายุเกิน 40 ปีตัวเหล็กที่นำมาใช้ในกลไกจักรจะเป็นเหล็กชั้นดี ดูลักษณะจักรแล้ว น่าจะเย็บงานหนาๆได้ดี เนื่องจากจักรผลิตมานานมากระบบเข็มที่ใช้คือ 1932 system needles ที่ไม่มีวางขายในท้องตลาดแต่สามารถหาเข็ม DB ทั่วๆไปที่ใช้ในจักรอุตสาหกรรมได้

ลวดลายซิกแซก

เนื่องจากจักรเก่าตัวนี้สามารถเย็บลวดลาย Basic Zig-Zag พื้นฐาน ถ้าใครเย็บคล่องๆในระหว่างเย็บซิกแซกเราสามารถโยกเข็มซ้ายขวาในระหว่างเย็บซิกแซกก็สามารถดัดแปลงสร้างลวดลายใหม่ๆได้ครับ
1.เย็บซิกแซกเล็ก ปรับเข็มซ้ายสุด–ตรงกลาง–ขวามสุด ในระหว่างเย็บ
2.เย็บซิกแซกกลาง ปรับเข็มซ้ายสุด–ตรงกลาง ในระหว่างเย็บ
3.เย็บซิกแซกใหญ่ ปรับเข็มแซก–ตรง
จักรซิกแซกพื้นฐานทั่วไปสามารถปรับเล่นลายซิกแซกตามสามข้อด้านบนได้ครับจะได้รูปด้านล่างครับ

ปรับความหนืดด้าย

มาดูการออกแบบตัวปรับความหนืดด้ายกันนะครับ รุ่นนี้การออกแบบตัวปรับความหนือด้ายผมว่ามันสวยดีหมุนๆแล้วเข็มก็เลื่อนตามรอบที่เราหมุนถ้าเป็นจักรรุ่นเก่าๆที่ไม่มีเลขเราก็จะปรับตามความรู้สึกหรือปรับไปเย็บไปจนกว่าฝีเข็มจะสวยแต่ถ้าตัวปรับความหนืดด้ายแบบนี้เปลี่ยนใช้ด้ายยี้ห้อใหม่ๆไม่ต้องกลัวถั่วงอกเลยครับ ใช้ด้ายแบบไหนปรับแล้วสวยที่เลขอะไร ก็จดตัวเลขไว้ได้เลย

กลไกจักร

กลไกจักรถือว่าออกแบบมาไม่เหมือนใคร ตัวปรับระยะห่างของซิกแซกและตัวปรับตำแหน่งปักเข็ม (ซ้าย กลาง ขวา) อยู่ที่ส่วนล่างทั้งหมด ที่ออกแบบมาแบบนี้เพราะกลไกซิกแซกจะอยู่ที่ด้านล่างทั้งหมด ไม่ได้อยู่ที่ด้านบนเหมือนจักรเก่าทั่วๆไป ทำให้ส่วนบนของหัวจักรดูเรียวๆเหมือนจักรเข็มตรงทั่วๆไป ถ้ามองผ่านๆนี่จักรจะดูเหมือนจักรเย็บตรงทั่วไปเพราะจักรซิกแซกส่วนใหญ่ตัวกลไกซิกแซกจะต้องติดตั้งที่ส่วนหัว

การปรับระยะฝีเข็ม

ตัวปรับความยาวฝีเข็มเป็นตัวโยกแบบยื่นออกมาหรือที่ชอบเรียกกันว่าตัวปรับคันโยกงวงช้างก็ปรับเดินหน้าถอยหลังได้สะดวกแถมยังหมุนเพื่อล็อกระยะฝีเข็มป้องกันการเลื่อนในขณะเย็บ

bobin case

การที่จะซื้อจักรเก่าๆแบบนี้ต้องสอบถามรายละเอียดให้ดีๆนะครับว่ามีอะไรแถมมาบ้างอุปกรณ์ที่สำคัญอย่าง ตัวกระสวยหรือ bobbin ก็สำคัญไม่แพ้กันเนื่องจากเป็นจักรค่อนข้างหายากและไม่ได้ใช้กันเกลื่อนเหมือนจักร Singer อุปกรณ์ก็หาใช้แทนกันยาก ถ้าตัว Bobbin หาไม่ได้หรือไม่มีแถมมาก็ต้อง หาแบบที่สร้างจากเครื่องปริ้นพาสติก 3D มาใช้แทน

ตีนผีซิกแซก

จักรรุ่นนี้ก็มีตีนผีที่หลากหลายเป็นตีนผีสั้นน่าจะหาใช้แทนกันได้ทั่วๆไป บางรุ่นถ้าตีนผีหายากถ้าเราไม่ได้เย็บผ้าเป็นมืออาชีพการมีตีนผีชิ้นเดียวก็ถือว่าเย็บได้แล้ว ถ้าเราเย็บผ้าเป็นอาชีพการมีตีนผีที่หลากหลายก็ย่อมดีกว่าตีนผีที่ติดมากับจักรชิ้นเดียว แต่ถ้าหากเรามีตีนผีเยอะแต่ไม่ได้ใช้ก็ถือว่าเอาไว้สะสมกันนะครับ

วีดีโอจักร Adler 87

pictures source: vintagesewingmachinesblog.wordpress.com

หากใครชื่นชอบบทความจักรเก่า แนะนำบทความจักรเก่าเยอรมัน Singer 631g —-> Click

Comments are closed

Comments are closed.