Archive: October 2020

เข็มจักรเย็บผ้า

22Oct

POSTED BY

เข็มจักรเย็บผ้า

ถ้าพูดถึงจักรบ้าน จักรหัวดำ จักรหิ้วพกพา ปัญหาที่พบได้บ่อยในการใช้จักรมากที่สุดก็คือ ฝีเข็มกระโดด ด้ายขาด หรือเย็บไม่ติด ปัญหานี้เกิดจากการใช้เข็มที่ไม่มีคุณภาพ เข็มที่มีคุณภาพ หายาก และมีราคาแพง ส่วนเข็มที่ขายทั่วไปจะราคาถูก 1ซอง อาจจะใช้ได้ไม่กี่เล่มหรือซื้อมา 1 ซองกลับใช้ไม่ได้เลย

หากสนใจซื้อเข็มเย็บหนังสามารถเข้าไปดูได้ที่ –> Shopee-เข็มเฉียงเย็บหนัง หรือ Shopee-เข็มเย็บงานหนา หรือติดต่อ line:wit-san

เข็มจักรที่ใช้สำหรับจักรเล็ก จักรหูหิ้ว หรือจักรหัวดำเก่า เป็นระบบเข็ม 15×1 ซึ่งเป็นระบบเข็มที่บริษัทSinger คิดค้นขึ้นมา ถูกนำมาใช้กันมาก จนกลายมาเป็นระบบสากล ที่ถูกใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ถ้าพูดถึงจักรเก่าที่เรียกกันว่าจักรหัวดำ ระบบเข็ม 15×1 นี้ เกิดขึ้นมาโดยบริษัทจักรเก่ายี่ห้อ singer ที่สมัยก่อนมีระบบเข็มออกแบบมาใช้เองคือ 15×1 ก้นแบน ใช้สำหรับจักร Singer Model 15 ต่อมาก็กลายเป็นมาตฐานให้จักรหัวดำอื่นๆ จนกลายเป็นระบบสากล และมีเบอร์ต่างๆ ที่วัดจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นมาตฐาน ตั้งแต่ 9,11,14,16,18,19,21 หรือเรียกแบบ(อเมริกา/ยุโรป)คือ 65/9, 80/11, 85/13, 90/14, 100/16, 110/18, 130/21 ยิ่งเบอร์ใหญ่ตัวเข็มจะหนา และมีรูสอดด้าย หรือตาเข็มกว้าง เพื่อให้ใช้กับด้ายที่ใหญ่ขึ้น เข็มในระบบ 15×1 ในระบบสากลก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ชื่อของระบบเข็ม 15×1 ได้แก่ 15×1, 2020, 130 / 705H, HAx1, HA ชื่อเหล่านี้คือชื่อของระบบเข็มชนิดเดียวกันเป็นเข็มก้นแบนหนึ่งด้าน

ระบบเข็ม 206×13 และ 15×1

ในจักรเก่ายังมีเข็มอีกประเภทหนึ่งของ Singer ที่เหมือนกับเข็ม 15×1 ทุกประการแต่ระยะห่างจากตาเข็มจนปลายแหลมเข็มจะสั้น เรียกระบบเข็มนี้ว่า 24×1, 24×3 ออกแบบมาสำหรับจักร Singer เก่ารุ่น 20 24 306 319 320 และ ระบบเข็ม 206×13 สำหรับ Singer รุ่น 206 หมายความว่าใครที่มีจักรเก่า Model 40k,20,24,24k,50D,206 ต้องใช้ระบบเข็ม 24×3 ถ้าเป็น Model 206,306,319,320 ต้องใช้ระบบเข็ม 206×13 จักรเก่าเหล่านี้ต้องใช้เข็มเฉพาะห้ามเอาเข็มระบบ 15×1 มาใช้ เพราะมันจะแทงลงไปทิ่มชิ้นส่วนด้านล่างของกลไกจักรได้

องค์ประกอบของเข็ม

Shank คือ ส่วนก้นเข็ม ที่ไว้สอดเข้าเสาเข็ม ซึ่งระบบเข็ม 15×1 จะมีก้นแบน 1 ด้าน
Shaft คือ ส่วนก้านเข็มที่ถัดมาจากส่วนก้นเข็ม
Groove คือ ร่องเข็มคือรอยเซาะร่องเข็มเซาะยาวไปถึงตาเข็ม
Scarf คือ ส่วนเว้าของก้านเข็มก่อนถึงตาเข็มเพื่อให้เข็มกระสวยด้านล่างสอดเข็มเอาด้ายล่างเข้ามามัดได้ส่วนนี้จะอยู่ด้านเดียวกับด้านแบนที่ก้นเข็ม
Eye คือ รูที่สอดด้ายผ่านเข็ม ถ้าเข็มที่ดีมีมาตฐานรูจะกว้างได้มาตฐานและรูเข็มจะไม่คมบาด้ายทำให้ด้ายขาดบ่อย
Point คือ จุดปลายเข็ม ปลายเข็มนี้ออกแบบมา หลายแบบ ปลายเข็มกลมมนสำหรับเจาะผ้าปลายแหลมพิเศษบางเจาะผ้าหนา ปลายแหลมเหมือนปลายหอกเจาะหนัง ปลายเข็มเฉียงสำหรับฝีเข็มเฉียง หรืออื่นๆ

การเลือกเข็มและด้าย

FULL ARTICLE »