ทำไมต้อง ซื้อจักรเย็บผ้ารุ่นเก่า

14Feb

POSTED BY

จักรหัวดำมือสอง สภาพดีๆยังพอหาได้ทั่วไปในท้องตลาด เพราะมีหลายคนที่สมัยรุ่นยายรุ่นย่าซื้อมาตกทอดถึงปัจุบันแล้วรุ่นลูกหลานไม่ได้ใช้หรือมีบางคนที่ซื้อจักรมาแล้ว “เก็บมากกว่าใช้” มีเยอะครับ! ปัจุบันก็มีขายเต็มในอินเตอร์เน็ต ส่วนมากจะมีขายเฉพาะหัว เพราะจักรต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีจึงจะดีแข็งแกร่งเย็บได้ทุกอย่างเพราะยังคงเป็นเหล็กเก่าชั้นดีจากเยอรมัน และต้องเป็นจักรที่ไม่เคยเย็บเป็นอาชีพมาก่อน เพราะจักรที่ถูกเย็บเป็นอาชีพช่างเย็บผ้าไม่ค่อยจะหยอดน้ำมันจักรเพราะมันจะเลอะเสื้อผ้าทำให้อะไหล่ภายในเหล็กถูกับเหล็กมันจะสึกและหลวม

—————————

หากจะซื้อจักรมาใช้งานหรือสะสม แนะนำบทความ ของสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม ลองเข้าไปอ่านกันนะครับ

—————————

จักรเย็บผ้าที่เหมาะสมสำหรับไว้ใช้งานในบ้าน ควรจะเป็นจักรที่สามารถเย็บงานได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผ้าหนา หรือ ผ้าบาง โดยไม่เลือกงาน มีความทนทานแข็งแกร่ง อะไหล่ราคาไม่แพงและดูแลซ่อมแซมง่าย คือ จักรธรรมดาหัวดำหรือจักรซิกแซกตั้งโต็ะ รุ่นเก่า เท่านั้น เพราะถ้าเป็นรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นจักรประเภทใดหรือราคาสูงเท่าไหร ไม่มีความคงทนเท่าจักรรุ่นเก่า เพราะถ้าบริษัทที่ทำจักร ผลิตจักรออกมาทนทานเหมือนจักรรุ่นเก่า บริษัทนั้นๆ..”เจ๊ง..แน่นอน!” คิดดูซิ..เวลาผ่านไป 20-30 ปี จักรยังสามารถซ่อมใช้กันอยู่เลย แล้วแบบนี้บริษัทจะอยู่ได้อย่างไร..

ส่วนมากที่ได้มาโต็ะจักรจะผุ เพราะอายุมากหรือเจ้าของเดิมเก็บรักษาไม่ดี และในปัจจุบันนิยมนำขาจักร มาดัดแปลงเป็นโต็ะ จึงต้องมาหาโต็ะจักรรุ่นใหม่ใส่ให้แทน แต่บางครั้งก็โชคดีได้มาทั้งชุดเลย ราคาซื้อขายทั่วไป(แล้วแต่ตกลงราคากันตามสภาพและความสมบูรณ์ แต่ไม่แนะนำให้ใช้มอเตอร์ที่ติดมากับจักรในตอนซื้อ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ ประหยัดไฟและปลอดภัยกว่าครับ ส่วนมากมอเตอร์เก่าไฟจะรั่ว เพราะฉนวนไฟฟ้าหมดอายุหรือเสื่อมจักรเก่าธรรมดาหัวดำ ราคาก็สบายกระเป๋า เบื่อก็เก็บไว้ไม่เสียหาย ถ้าเก็บไว้นานเป็นสนิมก็นำมาล้างเครื่องแล้วนำกลับไปใช้งานได้ใหม่ดังเดิม หรือ ถ้าจะใช้เย็บเป็นอาชีพ เช่น เย็บผ้าโหล หรือ รับเย็บงานปะ-แก้ หารายได้เข้าครอบครัวก็ได้ครับ บอกได้คำเดียวว่า”คุ้ม..”

สภาพจักรช้ำหรือไม่ช้ำ ให้สังเกตุดูบริเวณขอบจักรด้านหน้า ตำแหน่งที่ผ้าลากผ่านเข้าเข็มเพื่อที่จะเย็บ สีจักรถลอกจนเห็นเนื้อเหล็ก ทำให้เข้าใจว่าจักรคันนี้ผ่านงานเย็บอาชีพมามากพอสมควร ทำให้ฝีเข็มบางช่วงอาจจะ”เย็บข้าม”ไปบาง หรือ อาจจะเย็บผ้ายืดไม่ติดตลอดแนวที่เย็บ แต่ถ้าเย็บงานที่ไม่เน้นมาก เช่น งานปะ-แก้ สบายมากครับ! ไม่ว่าจะเป็น ผ้ายีนส์แข็งๆ หรือกระเป๋าหนังวัว ฯลฯ ถ้าจักรช้ำแล้วการที่จะทำให้เสียงการทำงานของจักรเบาลงจนเงียบ เป็นไปได้ยากครับ เพราะช่างเย็บผ้าเป็นอาชีพ เขาจะไม่ชอบหยอดน้ำมันจักร เพราะน้ำมันจะไปเลอะผ้าที่เย็บ จะหยอดก็ตอนจักรเริ่มมีปัญหา หรือ เสียครับ

จักรที่ผ่านการใช้งานมาหนัก สีจักรถลอกจนเห็นเนื้อเหล็ก

จักรเก่าตกทอดที่ดีด้านในจักรต้องเป็นสนิมจับและอะไหล่ยังเป็นของเดิมทุกชิ้นดูได้จากเนื้อเหล็กจะต้องเป็นเนื้อเดียวกันเพราะอะไหล่จักรถูกผลิตในที่เดียวกันแต่อาจจะประกอบคนล่ะที่ชุดกลไกเนื้อเหล็กของจักรต้องเหมือนกันไม่แตกต่างกัน บางยี่ห้ออาจพ่นเคลือบสนิมไว้2ชั้นต้องลองขูดให้เห็นเนื้อจริงของเหล็ก

เนื้อเหล็กเยอรมัน hight speed ให้ดูตัวอย่างชุดกลไกของจักร singer 15k80 เนื้อเหล็กจะออกดำๆ อะไหล่ทุกชิ้นผลิตจากเยอรมัน สังเกตุดูชิ้นส่วนอะไหล่ที่ด้านล่าง จะพิมพ์คำว่า”SIMANCO”เป็นภาษาเยอรมันทุกชิ้น

ในชุดกลไกเดียวกัน เนื้อเหล็กต้องไม่แตกต่างกัน
ถ้าเนื้อเหล็กสีต่างกันอาจเกิดจากการพ่นสี ลองขูดหรือมองหาสีเนื้อเหล็กจริงๆ

จักรเก่าบางรุ่นคือเก่ามากๆก็ไม่น่าใช้เพราะอะไหล่อาจหาหรือผลิตไม่ได้แล้วคือถ้าอะไหล่พังก็ซ่อมไม่ได้แล้ว แต่ถ้าเป็นจักรหัวดำเย็บตรงทุกรุ่น อะหลั่ย จักรหัวดำธรรมดำถูกและหาง่ายกว่าครับ แม้นจะเป็นรุ่นเก่าเพียงใดหรือยี่ห้อใด หากมีรูปทรงเหมือนกัน สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ ผิดกับจักรซิกแซกอะหลั่ยแต่ละรุ่นหรือต่างยี่ห้อกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งหมดและอะหลั่ยบางรุ่นราคาสูงหายากกว่าจักรหัวดำธรรมดาครับ

จักร Pfaff 130 สายพานจักรแบบเชือกเป็นของหายาก ต้องนำเข้ามา อะไหล่กลไกบางชิ้นไม่มีขาย

จักรเก่าตกทอดมาจริงๆ หากสนิมจับสามารถหยอดน้ำมันให้ทั่วทุกจุด และในส่วนที่เป็นข้อเหวี่ยงต่างๆ หยอดทิ้งไว้สัก 2-3 วัน แล้วค่อยขัดเช็ดให้สะอาด จากนั้นหยอดน้ำมันทุกจุดอีกที เดินจักรหรือทำให้ล้อจักรหมุนต่อเนื่องเป็นระยะๆสักพักหนึ่ง เช็ดให้สะอาดอีกที เป็นอันพร้อมใช้งานครับ

การซื้อจักรเก่าต้องหาซื้อจากร้านที่ไว้ใจได้ว่าจะไม่เปลี่ยนหรือยำอะไหล่ของเก่า และควรดูบริการหลังการขายเพราะหากติดปัญหาต่างๆต้องสามารถนำกลับมาให้ดูแลได้ ไม่ใช่ขายแล้วขายเลยหากมีปัญหาก้ไม่สามารถหาช่างซ่อมได้


รวบรวมบทความจากช่างตี๋

Comments are closed

Comments are closed.