จักรเก่าญี่ปุ่น

23Feb

POSTED BY

ถ้าใครชื่นชอบจักรเก่าโบราณหากต้องการจักรที่นำมาใช้งานในเรื่องฟังก์ชันที่ดี จักรยังดูทันสมัยนอกจากจักรยุโรปแล้วยังมีจักรญี่ปุ่นที่ดูน่าสะสม ถ้านำไปใช้งาน จักรญี่ปุ่นถือว่าบางอย่างทำงานได้ดีกว่าจักรยุโรปบางตัว โดยเฉพาะความนิ่มนวลในการเดินจักรและการเย็บผ้าบางๆ

ก่อนจะมาเป็นจักรญี่ปุ่น

ประวัติจักรเท่าทีหาข้อมูลมาได้คือเริ่มจากต้นแบบจักรญี่ปุ่น คือจักร Singer model 15 จากยุโรปเริ่มผลิตในปี 1879 จนถึงปี 1950 จึงหยุดการผลิตและมีการออกแบบสร้างรุ่นใหม่ๆ โดยบริษัท Singer และบริษัทอื่นๆในยี่ห้ออื่นๆ สังเกตุได้ว่าหลังจากที่บริษัท Singer model 15 หยุดผลิตบริษัทในยุโรปบริษัทไหนที่สร้าง Clone Model เหมือนจักร Singer Model 15 ก็จะโดนฟ้องลิขสิทธ์ ทำให้บริษัทต่างๆต้องออกแบบจักรเป็นของตัวเองอาจจะมีรูปทรงคล้ายๆแต่ไม่เหมือน ส่วนจักรญี่ปุ่นสามารถ copy แบบมาเป๊ะแต่ไม่ถูกฟ้อง แต่ทุกบริษัทยังสามารถใช้เข็มเป็นแบบ Class 15 ของบริษัท Singer ซึ่งกลายเป็นมาตฐานที่ใช้ต่อมา

ทำไมบริษัทญี่ปุ่นไม่ถูกฟ้อง

ในช่วงท้ายสงครามโลกญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประกอบกับยุโรปมีการพัฒนาจักรรุ่นใหม่ๆ บริษัท Singer ขยายตลาดมาในเอเชียจึงยกต้นแบบจักร Singer Model 15 เพื่อให้ญี่ปุ่นฟื้นฟูเศษกิจขึ้นมา ช่วงล๊อตแรกๆของการผลิตมีการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จากโรงงาน Singer Model 15 ของโรงงาน Singer ในยุโรปที่เลิกผลิตแล้ว นำมาประกอบเพื่อขายในเอเชียทำให้ชิ้นส่วนเหล็กที่นำมาประกอบล๊อตแรกๆแข็งแกร่งมาก จักรที่นำมาจำหน่ายในล๊อตแรกๆยังคงใช้สิทธิบัตรและจัดจำหน่ายในชื่อ Singer เพราะเป็นชื่อที่นิยมคุ้นหู และต่อมาก็บริษัทญี่ปุ่นก็พัฒนาทางด้านวิศวกรรมและเริ่มผลิตและพัฒนาจักรให้ดีกว่าเดิม เช่นเย็บผ้าบางได้ดี เย็บได้นิ่มนวล และสร้างจักรที่สามารถไปแข่งกับจักรยุโรปได้ในชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นเอง

คนญี่ปุ่นคิดอะไรจะคิดรอบคอบเสมอ การพัฒนาจักรญี่ปุ่นจึงออกแบบมาเพื่อชาวเอเชียที่เป็นเมืองร้อน รูปทรงจักรดูสวยงามทันสมัย บางรุ่นก็เป็นลิมิเตดอิดิชั่น ให้เอาไว้สะสม เนื่องจากทำมาเพื่อชาวเอเชียจึงทำให้เป็นที่นิยมในแถบเอเชีย จักรยุโรปเข้ามาตีตลาดไม่ได้ง่ายๆจากการขนส่งและต้นทุนการผลิต ทำให้จักรยุโรปไม่มีมาขายในเอเชียจึงหายากในแถบเอเชีย

ข้อดีของจักรญี่ปุ่น

จักรญี่ปุ่นพัฒนามายุคหลังๆ จึงเอาข้อดีของจักรยุโรปรุ่นเก่าๆมาพัฒนาเพิ่ม การเลือกลวดลายที่ง่าย การเดินจักรให้นิ่มนวล และจุดที่สำคัญคือสามารถปรับระดับฟันจักรได้ด้วยตนเอง ทำให้เย็บผ้าบางได้ดีมากซึ่งเป็นจุดอ่อนของจักรยุโรปที่ไม่สามารถเย็บผ้าบางๆได้ดีเท่าจักรญี่ปุ่น

ส่วนจักรยุโรปถูกออกแบบมาให้เย็บผ้าหนาๆเนื่องจากเป็นเมืองหนาว การออกแบบฟันจักรจึงต้องออกแบบให้โผล่ขึ้นมาสูงเพื่อใช้ในการลากชิ้นงานที่หนาๆ เช่นเสื้อที่ทำจากขนสัตว์ งานหนังต่างๆ แต่ก็สามารถเย็บผ้าบางได้แต่ถ้าบางมากๆก็จะย่น แต่หากผู้ใช้จักรยุโรปต้องการเย็บผ้าบางๆก็ตัองไปปรับลดฟันจักรในกลไกจักรเอง

ความแตกต่างระหว่างการใช้งานจักรทั้งสองโซนนี้ (ยุโรป เอเชีย) ต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อจักรญี่ปุ่นพัฒนาจักรได้ดีแล้วก็นำไปตีตลาดยุโรป แต่ก็ขายไม่ได้เพราะจักรยุโรปก็มีจุดเด่นเป็นของตัวเอง จักรยุโรปก็ตีตลาดเอเชียไม่ได้เพราะจักรญี่ปุ่นก็ครองตลาดเอเชียแล้ว

ทำไมจักรยุโรปมีราคาแพง?

จักรยุโรปเมื่อนำมาขายในบ้านเราทำไมมีราคาแพง? หากคิดง่ายๆเลยคือนำของที่มีเยอะจากที่หนึ่งนำมาขายในแหล่งที่ขาดแคลนก็ทำราคาแพงได้

จักรยุโรปหากขายในยุโรปเองถือว่ามีราคาถูกเพราะเป็นแหล่งผลิตคนจึงไม่นิยมเอามาขายโดยเฉพาะในอีเบย์ เพราะหาซื้อได้ทั่วๆไปในยุโรปตามเว็บขายของมือสองต่างๆ หากจะนำมาลงขายในอีเบย์ก็มักจะขายให้กับคนที่อยู่นอกยุโรปเพราะอยู่นอกแหล่งผลิตทำให้ดูว่าหายากและทำราคาแพงได้ เหตุนี้จึงทำให้ราคาจักรส่วนใหญ่ในอีเบย์มีราคาแพง ราคาในอีเบย์จึงนำมาถูกอ้างอิงกรณีหากมีใครนำจักรยุโรปเข้ามาขายคนแรกและไม่มีราคามาอ้างอิง

หากใครรู้แหล่งที่มีจักรบ้านรอโล๊ะทิ้ง แล้วนำมาเล่าเรื่องราวซักหน่อยก็เอามาขายในประเทศที่ดูว่ามันหายากก็สามารถทำราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เมื่อไม่มีราคาอ้างอิงก็อาจทำราคาเท่าจักรที่ขายในอีเบย์ก็ได้เพราะจะได้มีราคาอ้างอิง ยิ่งหากใครสามารถนำเข้ามาขายได้เพียงเจ้าเดียวก็จะสามารถผูกขาดราคาได้ เพราะตั้งขายเท่าไหร่ก็มีคนซื้อเนื่องจากไม่มีคนขายคนอื่นๆ

จักรเก่าที่ไม่มีผลิตอีกแล้วจึงเหมือนเป็นของเก่าที่สร้างเรื่องราวให้ดูเป็นจักรหายากได้ เพราะไม่รู้จะไปหาซื้อจากที่ไหน อาจจะหายากจริงหรืออาจจะหาได้ง่ายก็ได้

จักรเก่าเหล่านี้ในอดีตผลิตออกมานับสิบล้านตัว จึงสังเกตุได้ว่าต่อให้เป็นรุ่นที่บอกว่าหายาก ก็ยังมีเข้ามาขายเรื่อยๆ ในเมื่อยังมีขายเรื่อยๆหากมีคนที่นำมาขายคนแรกๆก็สามารถตั้งขายราคาแพงได้ แต่คนที่ซื้อไปในราคาแพงเวลาเดือดร้อนจะสังเกตว่าไม่สามารถนำมาขายในราคาแพงได้เนื่องจากจะขายเท่ากับ คนที่นำเข้ามาก็ไม่มีคนซื้อต้องขายให้ถูกกว่ามากๆคนซื้อจึงเปรียบเทียบราคาแล้วดูว่าคุ้มค่า แต่คนซื้อมาแล้วอยากขายแพง ก็จะสามารถขายได้ต่อเมื่อคนนำเข้ามาขายตั้งราคาขายแพงขึ้นเพราะไม่มีคู่แข่ง

บทความจักร Pfaff 30 —-> Click

จักรญี่ปุ่นราคาแพงเท่าจักรยุโรปมั้ย?

ถ้าใช้หลักการเดียวกันคือ ที่ยุโรปไม่มีจักรญี่ปุ่นขายทำให้จักรญี่ปุ่นหายากและมีราคาแพง หากใครอยากนำจักรเอเชียไปขายยุโรปในราคาแพงก็ต้องสร้างเรื่องเล่าซักหน่อยก็จะสามารถขายจักรญี่ปุ่นให้ราคาแพงได้ และหากนำรุ่นที่ไม่มีขายในยุโรปหาซื้อไม่ได้ก็ยิ่งทำให้ราคาแพงขึ้นไปอีก

จักรญี่ปุ่นถือว่ามีราคาถูกในบ้านเราเพราะอยู่ในแถบเอเชียเหมือนกัน แต่ขายในบ้านเราได้ราคาไม่แพงมากนักเพราะหาซื้อได้ง่าย ทั้งที่จักรมีคุณภาพเทียบเท่าจักรยุโรปเย็บหนา บาง หรือหนังสัตว์ได้ แถมยังมีข้อดีกว่าในเรื่องการเดินจักรที่นุ่มนวลและเย็บผ้าบางได้ดี

จักรญี่ปุ่นทำมาหลายรุ่น แต่ก็มีบางรุ่นที่ยังไม่มีขายในบ้านเรา ถ้าใครอยากนำเข้าจักรญี่ปุ่นมาขายในบ้านเราก็ทำตลาดอุปสงค์อุปทาน ทำเรื่องเล่าประวัติจักรดีๆ ซักหน่อย ด้วยรูปทรงจักรที่สวยงามน่าจะขายได้ในราคาแพงเหมือนกัน แต่ถ้าใครอยากซื้อจักรญี่ปุ่นก็ยังสามารถหาซื้อได้ที่เว็บไซต์อีเบย์นะครับ

ค้นหาจักรญี่ปุ่นกัน

ใครชอบจักรญี่ปุ่น ทั้งหาซื้อใช้เองหรือหาสะสม โดยเฉพาะรุ่นที่ไม่มีขายในบ้านเรา ก็สามารถค้นหาในอีเบย์นะครับ ใช้ Keyword คำว่า japan sewing machine ก็จะเจอจักรราคาถูกและแพงปะปนกันไป หากสนใจการชำระเงินก็ชำระผ่าน paypal หรือกรอกบัตรเครดิตแล้วก็นั่งรอสินค้าที่บ้านได้เลยครับ ระยะเวลาจัดส่งก็ 1-2 สัปดาห์

เราอาจได้ยินชื่อเสียงของจักรจากยุโรปยี่ห้อดังๆ แต่เราอาจมองข้ามจักรที่พัฒนาเพื่อคนเอเชีย ที่เย็บผ้าที่บางมากๆ และยังเย็บผ้าที่หนามากๆได้ดี อย่างจักรญี่ปุ่นที่มีลูกเล่นและฟังก์ชั่นไม่ได้ต่างไปจากจักรยุโรปแถมยังมีรูปทรงที่สวยงาม บางตัวก็ Design มาเพื่อให้สะสมเป็นรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น หากใครชื่นชอบที่จะสะสมจักรจากประเทศในแถบยุโรปแล้วอย่าลืมหันมามองจักรที่ผลิตและออกแบบมาเพื่อชาวเอเชียอย่างจักรจากประเทศญี่ปุ่นไว้สะสมกันด้วยนะครับ เพราะเป็นจักรที่หายากยิ่งกว่าเพราะผลิตและจำหน่ายในเอเชียเท่านั้นหาซื้อไม่ได้ในประเทศแถบยุโรป ยิ่งถ้าเป็นรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่นก็ยิ่งจะหายากมากๆในอนาคตเพราะผลิตมาน้อยในอดีตและเลิกผลิตแล้วในปัจจุบัน

สนใจบทความจักรเก่า Adler 87 เข้าไปอ่านได้ครับ —> Click

RELATED STORIES:

Comments are closed

Comments are closed.