งานควิลท์เบื้องต้น

30Jan

POSTED BY

งานควิลท์คือ

คำว่า ควิลท์ (quilt) หมายถึงการเย็บผ้าห่ม เป็นผ้าห่มที่เย็บรวม 3 เลเยอร์หรือ 3 ชั้นเข้าด้วยกัน 3 ชั้นนี่ลองนึกถึงขนมปังแซนวิช โดยด้านบนจะเป็นส่วนทีตกแต่งให้สวยงาม เช่นใส่ทอปปิ้งหรืออื่นๆให้สวยงามแล้วก็มีชั้นในและชั้นล่าง ถ้ามองเป็นงานผ้างานควิลท์ (quilt) ก็เหมือนแซนวิชผ้า ด้านบนก็มักจะเป็นส่วนที่ตกแต่งให้สวยงามมาประกบด้วยชิ้นหลังและมีใยนิ่มๆอยู่ตรงกลางแล้วนำมาเย็บลวดลายเข้าด้วยกัน หากใครต้องการเรียนรู้การเย็บผ้าห่มและตกแต่งผ้าห่มให้สวยงามตามที่คุณต้องการงานควิลท์ (quilt) เป็นงานที่น่าลองหัดทำครับ

เลือกผ้าที่จะทำงานควิลท์ (quilt) แบบไหนดี

เริ่มแรกลองมองผ้าที่จะนำมาทำ งานควิลท์ (quilt) เป็นผ้าห่ม ผ้าที่นำมาทำเป็นผ้าห่มมีหลากหลายแบบเช่น ผ้าฝ้าย, ผ้าฝ้ายโพลี, ผ้ายีนส์, ผ้าฝ้ายผสม wax หรือ ขี้ผึ้ง, หรือพวกหนังนิ่มๆก็ได้ครับ เมื่อได้เนื้อผ้ามาแล้วก็ดูว่าผ้าหนาพอมั้ย ต้องการแผ่นใยสังเคราห์เพื่อให้ชิ้นงานนิ่มๆไหม มีแผนที่จะทำผ้าห่มแบบไหน ผ้าบางๆชั้นเดียวหรือผ้าห่มหนาหลายชั้น รวมถึงน้ำหนังของชิ้นงานด้วย เมื่อคิดวางแผนผ้าห่มที่จะทำแล้ว ลองนำมาประกอบดูคร่าวๆ ผ้าชิ้นบนและผ้าชิ้นล่าง ลองนำผ้าชิ้นบนมาวางบนผ้าชิ้นล่างเลือกผ้าชิ้นล่างแบบไหนเข้ากับผ้าชิ้นบน

ใยสังเคราะสำหรับ งานควิลท์ (quilt) จำเป็นมั้ย

อันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบแต่ล่ะคนครับ ส่วนใหญ่หากผ้าชิ้นบนและชิ้นล่างประกอบกันแล้วบางเกินไปก็อาจจะต้องเสริมใยสังเคราะที่ตรงกลางหรือหากต้องการใช้ด้ายนูนเป็นรอยเย็บก็อาจใช้ใยสังเคราห์ด้วย ผ้าชิ้นบนและชิ้นล่างเมื่อรวมกับใยสังเคราห์แล้ว ชอบบางหรือหนาดี ก็หาใยสังเคราห์แบบที่ต้องการ ไม่มีสูตรตายตัว ดูว่าแบบไหนประกอบกันแล้วเป็นไปแบบที่เราต้องการ

เรียนรู้ศัพย์เกี่ยวกับ งานควิลท์ (quilt) กันหน่อย

ผ้าชั้นบนหรือ Quilt Top เป็นผ้าโชว์ หรือผ้าที่เราตกแต่ลวดลาย ด้วยเทคนิคต่างๆเช่นการปะผ้า การต่อผ้า
ผ้าชั้นกลางหรือ Batting คือสวนที่เป็นใยสังเคราห์อัดเรียบ เป็นได้ทั้ง ใยโพลีเอสเตอร์ หรือ ใยสังเคราะห์ , ใยธรรมชาติ ใยนี้จะอยู่ตรงกลางระหว่างผ้าชั้นที่ 1 กับ ชั้น 3 ใส่เพื่อให้ความอบอุ่น นุ่ม น่าใช้
ผ้าชั้นล่างหรือ Backing ผ้าใช้รองใย ผ้าซับใน ปกติจะใช้เป็นผ้าพื้นๆ จะเป็นผ้าตกแต่งลวดลายเหมือนผ้าชั้นบนสุดหรือไม่ได้ต่อผ้าก็ได้

วัตถุดิบและอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับ งานควิลท์ (quilt)

วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่จะงานควิลท์ (quilt) ประกอบด้วย ผ้าชิ้นหน้า ด้าย ใยสังเคราะห์ ผ้าชิ้นหลัง (มีหรือไม่ก็ได้) ผ้าที่จะนำมาทำงานควิลท์ (quilt) ถ้าได้ผ้าคอตตอน 100% จะดีที่สุดครับ รีดเรียบ ไม่ลื่น อยู่ทรง ผ้าที่จะนำมาควิลท์ (quilt) ควรนำไปซักและรีดให้เรียบกันสีตกและรีดเรียบสวยก่อนนะครับ ในส่วนด้ายสำหรับควิลท์ (quilt) จะมีความเหนียวกว่าด้ายปกติ สีด้ายที่ใช้สามารถเลือกสีที่เข้ากับผ้าจะดีที่สุดจะได้กลมกลืนกับเนื้อผ้าถ้าหาสีที่เข้ากับเนื้อผ้าไม่ได้ก็ใช้สีพื้นๆได้ครับ อุปกรณ์พื้นฐานได้แก่ จักรเย็บผ้า กรรไก หมุด สเปร์ยกาว ปากกาลบได้หรือชอล์กเขียนผ้า ไม้บรรทัด ตีนผี walking foot

ควรวางแผนก่อนการ ควิลท์ (quilt)

แนะนำว่าให้ลองประกอบผ้าเป็น 3 ชั้นโดยเผื่อความกว้างและความยาวให้มากกว่าชิ้นงานตามที่ออกแบบไว้เพราะระหว่าง ควิลท์ (quilt) ผ้าจะหดหรือบวมในบางจุดถ้าวัดมาพอดีอาจจะไม่พอกับแบบที่ได้ออกแบบไว้ และในส่วนชิ้นล่างหรือ backing ควรมีขนาดใหญ่กว่าผ้าควิลท์ชิ้นบน (quilt top) สักเล็กน้อย ด้านละ 5 ซม.ก็พอ การควิลท์ (quilt) สามารถทำได้หลากหลายทั้งใช้ลวดลายจากระยะห่างของตีนผี walking foot หรือ วาดลายด้วยปากกาลบได้ ในบทความนี้จะแนะนำเกี่ยวกับพื้นฐานการควิลท์ (quilt) ด้วยปากกาลบได้ก่อนนะครับ

การวาดลายควิลท์ (quilt)

หยิบผ้าชิ้นบนมา เริ่มด้วยการวาดเส้นควิลท์ (quilt) บนด้านขวาของผ้าด้วยปากกาลบได้หรือชอกล์เขียนผ้า ต้องแน่ใจว่าปากกาหรือชอล์กเขียนผ้าที่นำมาใช้ไม่ทำให้ผ้าเสียหาย เริ่มต้นด้วยด้วยเส้นควิลท์ (quilt) 45 องศาก่อน โดยวางไม้บรรทัดบนผ้าแนวทะแยง 45 องศา หรือตามที่ได้ออกแบบไว้ แต่โดยทั่วไปเราจะใช้เส้น quilt ที่เล็กที่สุดคือ 4 mm หรือ 1/4″ และเส้นที่ใหญ่ที่สุดคือ 4 cm หรือ 1 1/2″ เส้น quilt ใหญ่เหมาะสำหรับงานขนาดใหญ่ๆ เช่นกระเป๋าผ้า หรือ เสื้อ

วางไม้บรรทัดบนผ้าแนวทะแยง 45 องศาด้านขวามือ วาดเส้นแรกและเส้นถัดไปตามระยะห่างเท่าๆกันตามที่ต้องการจนหมดด้านแนวแรกต่อมาให้ quilt ด้านตรงข้ามโดยให้ไม้บรรทัดขนานกับเส้นเดิมในทิศทางตรงกันข้ามจนจบ แนะนำให้ใช้ไม้บรรทัดงานเฉพาะสำหรับงาน quilt ไม้บรรทัดแบบนี้ใช้วัดเส้นควิลท์ (quilt) หรือใช้สำหรับตัดผ้าก็ได้
วีธีใช้ไม้บรรทัดงาน ควิลท์ ——–> LINK

การประกบชิ้นงานเตรียมควิลท์ (quilt)

ในการฝึก ควิลท์ (quilt) นี้ใช้ผ้าสองชิ้น คือผ้าชิ้นบนและใยสังเคราะห์ โดยนำผ้าชิ้นบนวางทับใยสังเคราะห์สั่งเกตุด้านผิดของผ้าชิ้นบนต้องติดกับใยสังเคราะห์โดยให้ใยสังเคราะห์ใหญ่กว่าผ้าชิ้นบนประมาณ 1 cm รอบผ้า จัดผ้าให้ตึงแล้วยึดผ้าชิ้นบนและใยสังเคราะห์ด้วยหมุดเพื่อไม่ให้ผ้าขยับจากใยสังเคราะห์ระหว่างเย็บ ควิลท์ (quilt) หรือสามารถใช้สเปย์กาวพ่นลงบนด้านผิดของผ้าชิ้นบนได้โดยนำผ้าชิ้นบนไปวางบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ระวังอย่าพ่นผิดด้านเมื่อกลัดเข็มกลัด พ่นกาว หรือเนาจนหมดแล้ว ก็เริ่มควิลล์ได้เลยครับ

การเย็บ ควิลท์ (quilt) บนผ้าด้วย walking foot

การเย็นบนผ้าที่ประกบกัน 2-3 ชั้นแนะนำให้ใช้ตีนผี walking foot ข้อดีคือช่วยให้ชิ้นงานทั้งสองชั้นขยับไปพร้อมกัน หากเราไม่ใช้ ตีนผี walking foot ไปใช้ตีนผีธรรมดาผ้าจะย่น
วางตีนผี walking foot แล้วเย็บย้ำเพื่อล็อกฝีเข็มก่อนโดยเย็บไปข้างหน้า2-3ฝีเข็มแล้วเย็นถอยหลังอีก 2-3 ฝีเข็มแล้วจึงเย็บเดินหน้าตามปกติ สีด้ายที่ใช้ในการฝึกช่วงแรกควรใช้สีด้ายเข้มเพื่อให้เห็นด้ายชัดเจน
การ ควิลท์ (quilt) ด้วยตีนผี walking foot เบื้องต้น —-> LINK

ความยาวฝีเข็มที่ควรใช้

ความยาวตะเข็บมาตรฐานคือ 2.5 มม. หากเย็บกับผ้าหนาหรือใยสังเคราะห์หนาๆอาจต้องใช้ความยาวตะเข็บให้ยาวขึ้นเพื่อให้มองเห็นฝีเข็มได้ง่ายขึ้น

Comments are closed

Comments are closed.