จักรซิกแซก-singer-287

5Jun

POSTED BY

จักรเย็บผ้า singer 287
จักรเย็บผ้า singer รุ่น 287 เป็นจักรเย็บผ้าเก่า จักรโบราณซิกแซกที่ผลิตในญี่ปุ่น อายุมากกว่า 40 ปี สามารถเย็บงานหนาและงานบางได้ดีมาก สามารถหาซื้อได้ง่าย แต่สภาพดีๆหาได้ยากเพราะจักรรุ่นนี้คนนิยมนำมาใช้มากกว่านำมาเก็บ หากใครมีจักรแซกตัวอื่นที่เอาไว้สะสมที่ไม่กล้านำมาใช้แบบสมบุกสมบันสามารถนำจักรรุ่นนี้มาเย็บงานถึกๆแทนได้เลย มีความนิ่มนวลในการเดินผ้าได้ดีเยี่ยม ตามแบบฉบับของญี่ปุ่น เป็นจักรเย็บผ้าซิกแซกของ Singer ที่มีระบบการทำงานแบบกระสวยตั้งรุ่นสุดท้าย (พวกจักรกระสวยตั้งข้อดีคือซ่อมง่ายแถมยังสามารถใช้อะไหล่พวกจักรหัวดำมาใส่ทดแทนได้ทำให้หาอะไหล่ง่าย) ก่อนที่ singer จะเปลี่ยนระบบการทำงานในตัวจักรทั้งหมด มาเป็นระบบกระสวยหงายจนถึงรุ่นปัจจุบัน และเป็นจักรเย็บผ้าซิกแซกรุ่นสุดท้าย ก่อนที่ singer จะย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นไปทำในประเทศบลาซิล สมรรถนะในการทำงานได้ทั้งหนัง ผ้าหนาๆและบาง ผู้ใช้สามารถปรับลดฟันจักรได้เอง จักรรุ่นนี้สามารถปรับลดฟันจักรได้ละเอียด ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ชาวเอเชียที่นิยมใช้ผ้าบาง จักรยุโรบส่วนใหญ่ไม่สามารถลดฟันจักรได้ทำให้เย็บผ้าที่บางไม่ดีเท่าจักรที่ผลิตในเอเชีย ทดสอบโดยการปรับแซกให้กว้างที่สุด 5มิล แล้วเย็บผ้าที่บางมากๆจะพบว่าผ้าจะไม่ย่น และมีระบบการทำงานเป็นแบบกระสวยตั้งเหมือนจักรหัวดำทั่วไปทำให้หาอะไหล่ได้ง่าย

บทความจักรเก่าญี่ปุ่น ——->  Click

ชิ้นส่วนอะไหล่ภายในทำจากเหล็กหากหมั่นหยอดน้ำมันไม่ให้เหล็กสีกันเหล็กแทบจะไม่สึกสามารถใช้ได้ดียันรุ่นลูกรุ่นหลาน จะมีเพียงส่วนกรอบเฟรมที่เป็นพาสติกเพื่อให้มีน้ำหนักเบาและช่วยให้มีความสวยงามเนื้อพาสติกที่นำมาใช้ก็ใช้เนื้อพาสติกแข็งแรงไม่กรอบหรือแตกหักได้ง่าย

เนื่องจากเป็นจักรนิยมในบ้านเรา ทำให้มีอะไหล่จากจักรเก่าๆให้เปลี่ยนเยอะ ปัญหาที่จะพบก็คือหากเย็บหนาไปนานๆน๊อตอาจจะหลวมกลไกจะขยับจากตำแหน่งเดิมได้ (เป็นกับจักรกลไกเหล็กทุกรุ่น) ต้องหมั่นขันน๊อตให้แน่น แต่หากกลไกเลื่อนก็ยังสามารถหาช่างปรับแต่งเครื่อง หรือล้างเครื่องได้

ข้อควรระวัง! อย่าปลดตัวจับเข็ม(อุ้มเข็ม) ออกมาโดยไม่ระวังเด็ดขาดนะครับ เพราะที่ปลายเสาเข็มของจักรเย็บผ้ารุ่นนี้ มีเหล็กครึ่งวงกลม ตัวเล็กมาก เล็กประมาณหัวไม้ขีดไฟ เรียกว่า”ลูกน้ำ” เจ้าลูกน้ำตัวนี้มีน่าที่ล็อคก้นเข็ม หากหายไปจะไม่สามารถล็อคเข็มให้เข้าทีได้

การเย็บรังดุมด้วยจักรเย็บผ้าซิกแซก singer 287 มีดังนี้

1.ปรับตั้งรูปแบบแซกที่ด้านบนหัวจักรมี 5 ระดับเลือกระดับที่ 3 จากซ้ายมือ และปรับระยะห่างซิกแซกด้านข้างจักรให้ถี่หรือประมาณ 0.5 MIN
2.ปักเข็มลงบนชิ้นงานเอาตีนผีลงในลักษณะพร้อมเย็บ
3.เย็บแซกให้ความยาวเลยเม็ดกระดุมประมาณ 0.5 มิล เมื่อหยุดให้เข็มปักชิ้นงานด้านขวามือ
4.กลับด้านผ้าแล้วเย็บซิกแซกมาให้ความยาวเท่ากับซิกแซกอีกด้าน
5.ปรับตั้งรูปแบบแซกเป็นระดับที่ 4 และปรับระยะห่างซิกแซกให้เป็น 0 มิล
6.เย็บปิดหัวและท้าย จากนั้นนำคัตเตอร์มากรีด เป็นอันเสร็จสิ้น

รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่1
รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่2
รีวิวการใช้งานจักรเย็บผ้าซิกแซก Singer-287 ตอนที่3

Download Manual Singer 287

—————————

ก่อนจะซื้อจักรมาใช้งานหรือสะสม แนะนำบทความ ของสะสมจักรโบราณ สมบัติผลัดกันชม ลองเข้าไปอ่านกันนะครับ

—————————

  1. ชนกานต์

    ได้จักรเย็บผ้ามาจากคุณยาย เป็นของชิงเกอร์รุ่น 287 อยากรู้วิธีการใช้างานค่ะเพราะไม่เคยเย็บจักรเลย จักรนี้เป็นของน้าสาว ซึ่งได้จากไปแล้ว ตอนนี้อยากเรียนเย็บผ้า เลยไปขอจักรตัวนี้มาค่ะ แจ่ยังไม่เข้าใจวิธีใช้งานของตัวจักร รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    - April 24, 2020 at 1:06 pm

    • admin

      สวัสดีครับ เดี๋ยวผมทำรีวิวให้ครับ

      - April 25, 2020 at 11:08 am

  2. Mina

    1. เขัมมันจะตำกัยตีนผีตะหลอดทำให้เขัมหัก
    2. กระสวยมันขะหยับหลังเวลาเยับเขัมตำหักอีก
    เปันเราะอไรคะ

    - August 6, 2020 at 10:35 pm

    • admin

      หมายถึงปรับซิกแซกสุดแล้วเข็มตำตีนผีหรือแผ่นรองฟันไหมครับหรือเข็มมันตำด้านล่างครับ รบกวนหาช่างซ่อมดีกว่าครับ เข้าเฟสช่างตี๋สอบถามก็ได้ครับ

      - August 16, 2020 at 12:24 pm