การใช้งานจักรแซก Singer287 (1)

25Apr

POSTED BY

จักรเย็บผ้า singer รุ่น 287 เป็นจักรเย็บผ้าเก่า จักรโบราณซิกแซกที่ผลิตในญี่ปุ่น อายุมากกว่า 40 ปี เป็นรุ่นที่สวยงาม ใช้งานง่าย ทนทานแข็งแรงมาก ข้อดีของจักรแซกคือเป็นจักรสารพัดประโยชน์คือจะเย็บตรงก็ได้หรือจะเย็บแซกเก็บขอบผ้างาน Quilts ก็ได้หรือเย็บแซกตรงกระดุมก้ได้ใช้งานได้หลากหลาย แต่ข้อเสียก็มีครับเป็นข้อเสียพวกจักรซิกแซกทั่วไปคือเนื่องจากเป็นจักรซิกแซกเสาเข็มจะโยกได้เวลาเย็บงานชิ้นหนาๆให้ตรงมักจะไม่ตรงเป๊ะๆเหมือนพวกจักรเข็มตรงทั่วไปพวกนั้นเสาเข็มแข็งแรงมาก นอกนั้นก็ใช้งานได้ดีเหล็กดีเย็บหนาและบางได้ดี

Singer-287

เข้าไปอ่านบทความ Singer-287 ได้ที่ link—> –Singer-287–

มาดูการใช้งานจักร Singer – 287 กันครับ

เมื่อได้จักรมาใหม่สิ่งแรกที่ควรทำเลยคือหยอดน้ำมันครับ เอนตัวจักรดูที่ไต้ฐานจักรเหล็กตรงไหนเคลื่อนไหวได้ก็หยอดน้ำมันให้ทั่วครับ เอาไขควงเปิดฝาพาสติกด้านบนก็จะเห็นชินส่วนกลไกด้านบนตรงไหนเป็นเหล็กที่เคลื่อนไหวได้ก็หยอดน้ำมันได้เลยครับแล้วก็ปิดฝาดังเดิม สามารถเปิดหน้ากากด้านหน้าออกก็หยอดน้ำมันได้นะครับ พอใช้ไปนานๆก็คอยเช็คว่าน้ำมันที่เคยหยอดไปแห้งหรือยังถ้าแห้งก็หมั่นหยอดนะครับจะได้ใช้จักรได้นานๆ แล้วก็ก่อนจะเย็บแถวๆเข็มหรือที่ผ้าลากผ่านถ้าเลอะน้ำมันก็เอาผ้าหรือทิชชูมาซับน้ำมันได้นะครับจะได้ไม่เลอะผ้าที่จะเย็บครับ

ตำแหน่งสำคัญหลักๆของจักรเย็บผ้า singer-287

ตำแหน่งสำคัญหลักๆของจักรเย็บผ้า singer-287

ส่วนที่ 1 ตัวปรับน้ำหนักตีนผี ใช้สำหรับปรับน้ำหนักตีนผีให้มีแรงกดผ้าครับ
ส่วนที่2 ชุดปรับน้ำหนักการผ่านเส้นด้ายด้านบน ใช้ปรับน้ำหนักด้ายให้แน่นๆปรับแก้ถั่วงอกขณะเย็บผ้า
ส่วนที่3 ที่ใส่เข็มจักรไว้ใส่เข็มเย็บผ้า
ส่วนที่4 ชุดเลื่อนตำแหน่งเข็มให้เสาเข็มชิดซ้าย ตรงกลาง หรือชิดขวา
ส่วนที่5 ชุดปรับระยะซิกแซกมากน้อยหรือปรับให้ฝีเข็มตรง
ส่วนที่6 ชุดปรับความถี่ห่างของด้าย
ส่วนที่7 ชุดปรับความสูงของฟันจักรในการลากผ้า
ส่วนที่8 ชุดกรอด้ายเข้ากระสวยล่าง
ทั้ง 8 ส่วนนี้รู้จักไว้คร่าวๆก็ได้ครับใครเย็บเป็นแล้วก้ลองเย็บหรือปรับๆเล่นๆดูครับ

กรอด้ายเข้ากระสวยด้านล่าง

ก่อนจะเย็บผ้าเราจะกรอด้ายเข้ากระสวยด้านล่างกันก่อนนะครับ จากตำแหน่งที่8 ขยายให้ดูตามรูปด้านล่างในกรอบสีแดงนะครับ ส่วนในกรอบเล็กๆสีเหลืองจริงๆแล้วมันจะต้องมีพาสติกยื่นๆออกมาเอาไว้คอยเบรกไม่ให้ด้านล้นกระสวย แต่ไม่มีก็ไม่เป็นไรครับ คอยสังเกตุและหยุดเมื่อด้ายเต็มกระสวยก็ได้ครับ ชุดกรอด้ายเข้ากระสวยเมื่อไม่ได้ใช้แล้วตำแหน่งจะอยู่ชิดด้านซ้ายแต่เมื่อจะใช้ก็กดดันมันไปใช้ชิดด้านขวาดู ใช้เสร็จก็อย่าลืมดันมันกลับให้ชิดซื้อดังเดิมด้วยนะครับ

รูปที่2 ชุดหมุนกรอด้าย

คราวนี้พักจุดนี้ไว้ก่อนมาดูที่ด้านท้ายของจักร singer-287 ด้านท้ายให้เราคลายตัวหมุนด้านหลังและชุดเสาเข็มออกจากกันความหมายคือเราจะหมุนเพื่อกรอด้ายแต่ไม่ให้เข็มขยับ ตามรูปด้านล่างเอามือซ้ายจับหมายเลข1 แน่นๆแล้วเอามือขวาหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาคือนาฬิกาเดินเข็มไปทางไหนเราก็หมุนย้อนทิศตรงข้ามเท่านี้ก็จะคลายกลไกเสาเข็มออกจากชุดหมุนด้านหลังครับ

รูปท้ายจักร

คราวนี้ให้หยิบกระสวยกรอด้ายด้านล่างมาเสียบเข้าที่ชุดหมุกรอกระสวยจักร แล้วเดินด้ายเพื่อมาเข้ากระสวยจักร จากนั้นหมุนด้ายเข้าในกระสวยขั้นตอนต่างๆดูรูปประกอบได้ครับ แนะนำว่าถ้าด้ายที่ใช้ไม่บ่อยก็กรอแต่พอดีครับเหลือเยอะก้ไม่ได้ใช้ต้องซื้อตัวกระสวยกรอด้ายมาเพื่อกรอด้ายอีกครับ เคล็ดลับเล้กๆน้อยในการใช้กระสวยกรอด้ายให้คุมคือมันสามารถกรอด้ายทับไปทับมาได้ครับความหมายคือ ครั้งแรกอยากใช้ด้ายล่างสีเหลืองก็กรอด้ายสีเหลืองแค่นิดหน่อย ครั้งที่สองอยากใช้ด้ายล่างสีดำก็กรอด้ายสีดำทับไปนิดหน่อย ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆก็ประหยัดกระสวยกรอได้ได้เยอะแล้วครับ

การปรับความตึงกระสวยล่าง

เรื่องนี้สำคัญมากลองทำความเข้าใจดูนะครับ ไม่งั้นปรับยังไงก้เป็นถั่วงอกอยู่นั่นแหระ จากรูปด้านล่างเมื่อเอาด้ายเข้าถ้วยกระสวยแล้วก็ตั้งความหนืดของด้ายให้มีความหนืดเล็กน้อย คือ ไม่หนืดจนมากไป หรือ หลวมจนเกินไป ตั้งให้หนืดนิดเดียวพอ หนืดแค่ไหนถึงพอ ลองเทสโดยเย็บเพื่อให้เป็นถั่วงอกด้านบนดูว่าหมุนชุดปรับความหนืดด้ายด้านบนแน่นมากแค่ไหนกว่าจะเป็นถั่วงอกด้านบน ถ้าปรับแล้วไม่เป็นถัวงอกด้านบนแสดงว่าด้ายด้านล่างหนืดมากไปหรือถ้าปรับแล้วเป็นถั่วงอกด้านบนง่ายเกินไปด้ายด้านล่างก็หลวมไป การปรับความหนืดด้ายด้านล่างโดยปรับตั้งที่ น็อตตัวเล็กๆที่ติดอยู่ด้านข้าง ของถ้วยกระสวย เราจะปรับเป็นฐานไว้ก่อนมาปรับลดเพิ่มที่หลังได้ อันนี้ขึ้นอยู่กับจักรที่ใช้งานการปรับสามารถยืดหยุดตามแต่ลักษณะงานได้หากว่าแน่นไปก็คลายให้หลวมได้หากหลวมไปก็ปรับให้แน่นได้ ถ้าดูจากรูป AB ด้านล่าง ถ้าด้ายด้านบนแน่นเกินไปด้ายก็จะถูกดึงขึ้นด้านบน ถ้าด้ายด้านล่างแน่นเกิดไปด้ายก็จะถูกดึงไปด้านล่าง จึงควรเย็บไปปรับไปให้ด้ายมัดกันพอดี บางงานไม่ต้องการฝีเข็มสวยๆถ้าด้ายล่างถูกดึงขึ้นด้านบนแต่ไม่ถึงกับเป็นถัวงอกก็ยอมรับได้แล้วนะครับแต่ถ้าจะปรับให้ฝีเข็มสวยๆก็ต้องปรับกันบ่อยๆครับแค่ด้ายใช้คนล่ะยี่ห้อก็ต้องมาปรับกันใหม่แล้ว

ถ้าเราเย็บไปปรับไปก็จะเสียเวลา จึงควรปรับน้ำหนักกระสวยด้านล่างตามรูปกระสวยจักรให้มีน้ำหนักที่ไม่แน่นไปไม่หลวมไปดึงแล้วออกมาโดยง่าย มีความหนืดนิดหน่อย ไม่หลวมจนไม่มีความหนืดเลย หากเราปรับความหนืดด้านล่างให้พอดีต่อไปเราก็จะปรับแต่ชุดปรับด้ายด้านบนไม่ต้องคอยมาปรับความหนืดกระสวยด้านล่างบ่อยๆ เมื่อได้ความหนืดที่เหมาะสมแล้วให้ดึงด้ายออกมายาวๆเพื่อดูว่ายังให้ความหนืดต่อเนื่องไม่สะดุดหรือไม่ ตามรูปดึงด้ายเทสความหนืดกระสวย

รูปกระสวยจักร
รูป AB การมัดกันของด้ายบนและล่าง
รูปดึงด้ายเทสความหนืดกระสวย

เมื่อปรับความหนืดกระสวยด้านล่างแล้วก้นำกระสวยมาใส่ที่ฐานได้ฐานจักรตามรูป

บทความหน้าเราจะมาดูเรื่องการใส่เข็มจักร Singer 287 เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมาเลยทีเดียวโดยเฉพาะจักร Singer-287 การใส่เข็มต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ติดตามตอนหน้านะครับ ขอบคุณที่เสียสละเวลาอ่านครับ ยาวหน่อยเขียนรู้เรื่องไม่รู้เรื่องบ้างอย่าว่ากันนะครับ
: )

RELATED STORIES:

Comments are closed

Comments are closed.